บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ มาตรฐานการทำลายเชื้อการทำให้ปราศจากเชื้อ 2021

การจัดเก็บหลอดบรรจุก๊าซเอทิลีนออกไซด์ 100%

รูปภาพ
คำแนะนำ การจัดเก็บหลอดบรรจุก๊าซเอทิลีนออกไซด์ 100% Safety Guidelines Ethylene Oxide (EO) Gas Sterilization การจัดเก็บหลอดบรรจุก๊าซเอทิลีนออกไซด์ 100% เพื่อการใช้งาน เก็บหลอดบรรจุก๊าซเอทิลีนออกไซด์ 100% ไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 100°F (38°C) เก็บหลอดบรรจุก๊าซเอทิลีนออกไซด์ 100% ให้ห่างจากแหล่งกำเนิดประกายไฟทั้งหมด เช่น ไม้ขีดไฟ บุหรี่ที่จุดแล้ว ประกายไฟ การเกิดประจุไฟฟ้าสถิต ห้ามใส่อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่ในเครื่องเพื่อทำการฆ่าเชื้อ ให้เก็บหลอดบรรจุก๊าซเอทิลีนออกไซด์ 100% จำนวนไม่เกิน 12 หลอด ในพื้นที่ฆ่าเชื้อได้ โดยมีการควบคุมอัตราอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 10 ครั้งต่อชั่วโมง ( > 10 Air exchange/ hour ) การจัดเก็บหลอดบรรจุก๊าซเอทิลีนออกไซด์ 100% เพื่อการเก็บรักษา จัดเก็บไว้ในตู้เก็บของเหลวไวไฟ หรือตู้ที่มีการระบายออกสู่ภายนอก (ให้ตรวจสอบข้อกำหนดการเก็บรักษาจากหน่วยงานในท้องถิ่น)   Safety Guidelines Ethylene Oxide (EO) Gas Sterilization Flammable liquid storage cabinets for Class I flammable liquids.   ตู้เก็บรักษาสารเคมี ของเหลวไวไฟ อ้างอิงข้อมูล 1. 3M(TM) Steri-Gas(TM)  EO Gas Cartrid

การบริหารงานจ่ายกลาง (Central Sterile Supply Management)

รูปภาพ
ตอนที่11  # การบริหารงานจ่ายกลาง (Central Sterile Supply Management) มาดูเรื่องการบริหารงานของหน่วยจ่ายกลาง ในโรงพยาบาลหรือในสถานพยาบาล เราควรจัดการเตรียมการหรือบริหารงานบริการอย่างไรบ้าง รวบรวมมาเพื่อเป็นแนวทาง เอาไปเริ่มต้นในการปรับเปลี่ยนได้ การบริหารงานจ่ายกลาง (Central Sterile Supply Management) งานจ่ายกลางเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญมากหน่วยงานหนึ่งของสถานพยาบาล มีหน้าที่รับผิดชอบในกระบวนการรับเครื่องมือที่ปนเปื้อน การทำความสะอาด การบรรจุห่อ และการทำให้ปราศจากเชื้อ และการแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ที่ปราศจากเชื้อเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้กับผู้ป่วยใหม่ได้อย่างปลอดภัย  เรื่องหลักๆในการจัดการก็คือ การกำหนดนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงาน การจัดการอาคาร สถานที่ การจัดการด้านสาธารณูปโภค การจัดหาครุภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ การจัดการด้านบุคลากร การจัดทำตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน เราลองมาดูรายละเอียดกันว่า จะต้องทำอย่างไรบ้าง เรามาเริ่มดูกันที่ข้อแรกก่อนคือ การกำหนดนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงาน การกำหนดนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงาน งานจ่ายกลาง ต้องมีการกำหนดนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการ

คุณภาพน้ำ (Water Quality) สำหรับงานการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ

รูปภาพ
ตอนที่10  #คุณภาพน้ำ (Water Quality) สำหรับงานการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ คุณภาพน้ำ (Water Quality)                คุณภาพของน้ำ มีความสำคัญในทุกขั้นตอนของกระบวนการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ หากน้ำที่ใช้ในงานจ่ายกลางไม่มีคุณภาพจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเครื่องมือแพทย์ อาจทำให้เกิดการชำรุดเสียหาย จากการกัดกร่อนหรือมีคราบฝังแน่น ทำให้ประสิทธิภาพของกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อลดลง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยจากอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้เครื่องมือแพทย์หรือจากการติดเชื้อ น้ำที่นำมาใช้จำเป็นต้องมีการตรวจสอบและปรับปรุงเป็นระยะๆ ทั้งนี้ควรมีการกำหนดเป็นมาตรฐานตามบริบทของสถานพยาบาลนั้นๆ เช่น ตรวจทุกเดือน ทุกสามเดือน ทุกหกเดือน เป็นต้น การประเมินคุณภาพน้ำ                การตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ใช้ในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ งานจ่ายกลางควรมีการตรวจอย่างสม่ำเสมอตามบริบทของแต่ละสถานพยาบาล หากตรวจพบความผิดปกติของคุณภาพน้ำ จะต้องทำการแก้ไขหรือปรับปรุงให้ได้ตามมาตรฐาน น้ำที่ใช้ในการล้างเครื่องมือแพทย์ และน้ำที่ใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อควรเลือกใช้ให้เหมาะสม ตามตาราง 5.1 ตาราง 5.1 แสดงการเลือกชนิดของ

การทำให้เครื่องมือแพทย์แห้ง และ การตรวจสอบความสะอาดเครื่องมือแพทย์

รูปภาพ
ตอนที่ 9 #การทำให้เครื่องมือแพทย์แห้ง และ   การตรวจสอบความสะอาดเครื่องมือแพทย์ .......................................................................... การทำให้เครื่องมือแพทย์แห้ง  การทำให้เครื่องมือแพทย์ที่ผ่านการทำความสะอาดแล้วแห้ง ช่วยป้องกันการเจริญของแบคทีเรีย และมีผลต่อประสิทธิภาพการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ เช่น การเจือจางของน้ำยาทำลายเชื้อ การเกิดสารพิษจากปฏิกิริยาของแก๊สเอทธิลีนออกไซด์ และการเกิด Wet Pack ในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ เป็นต้น <การทำให้เครื่องมือแพทย์แห้ง > วิธีการทำให้เครื่องมือแพทย์แห้งทำได้โดย 1.ใช้เครื่องอบแห้งด้วยความร้อน (Drying Cabinet) โดยใช้อุณหภูมิที่เหมาะสมกับเครื่องมือแพทย์ เช่น เครื่องมือประเภทสายยางใช้อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส เครื่องมือสแตนเลสต้องทำให้แห้งทันที โดยใช้อุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันการเกิดคราบบนเครื่องมือ เป็นต้น โดยศึกษาข้อมูลจากคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต 2.กรณีใช้เครื่องล้างอัตโนมัติจะมีโปรแกรมทำให้เครื่องมือแพทย์แห้งในขั้นตอนสุดท้าย 3.กรณีที่เครื่องมือแพทย์ไม่สามารถทนความร้อนได้ ให้ใช้ผ้าสะอาดชนิดที

วิธีการ ทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์

รูปภาพ
 ตอนที่ 9 #การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ #Manual Cleaning, #Mechanical Cleaning, #Ultrasonic Cleaner, #Automatic Washer ........................................................................... การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์  การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์มี 2 วิธีคือ  การทำความสะอาดด้วยมือ (Manual Cleaning) และการทำความสะอาดด้วยเครื่อง (Mechanical Cleaning) แบ่งเป็นเครื่องล้างด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasonic Cleaner) และเครื่องล้างอัตโนมัติ (Automatic Washer) 1. การทำความสะอาดด้วยมือ (Manual Cleaning)  ในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ด้วยมือ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการดังต่อไปนี้ 1.1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดโดยการล้างด้วยมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดคือ แปรงชนิดต่างๆ ควรเลือกลักษณะแปรงให้เหมาะสมกับเครื่องมือแพทย์ที่จะทำความสะอาด ขนแปรงควรมีลักษณะอ่อนนุ่มไม่ทำให้เครื่องมือสึกกร่อนหรือเสียหาย เครื่องมือแพทย์ที่มีลักษณะเป็นท่อกลวง ควรใช้แปรงชนิดที่ผลิตไว้สำหรับทำความสะอาดเครื่องมือนั้นๆ และการทำความสะอาดด้วยมือควรขัดถูเครื่องมือแพทย์ใต้น้ำ หลังเสร็จสิ้นการปฏิบั

การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์

รูปภาพ
ตอนที่ 8 # การเตรียมก่อนทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ ........................................................................... ขั้นตอนการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ หลังจากรับเครื่องมือแพทย์จากหน่วยงานมายังงานจ่ายกลาง บุคลากรควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ให้ครบถ้วน ได้แก่ หมวก แว่นตา ผ้าปิดปากและจมูก เสื้อคลุมแขนยาว ถุงมือยางอย่างหนาไม่ต่ำกว่าข้อศอก รองเท้าหุ้มสั้น และจัดการกับเครื่องมือตามขั้นตอนต่อไปนี้ <อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE)> Pre-Cleaning: การเตรียมก่อนทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ 1.การแยกประเภท/จัดเรียง (Sorting) แยกเครื่องมือแพทย์ให้เป็นหมวดหมู่ ก่อนทำความสะอาด เช่น เครื่องมือประเภทแก้ว เครื่องมือประเภทที่มีความแหลมคม เครื่องมือกลุ่ม Power Instrument หรือเครื่องมือประเภทท่อกลวง สายต่างๆ เป็นต้น เพื่อป้องกันบุคลากรบาดเจ็บ ทั้งป้องกันการเกิดความเสียหายต่อเครื่องมือแพทย์ แยกเครื่องมือแพทย์ที่เปราะบางออกจากเครื่องมือแพทย์อื่นๆ เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้วต้องเช็ดหรือเป่าให้แห้ง เครื่องมือที่เป็นพลาสติกอาจเสียหรือเสื่อมสภาพได้ง่ายจากการสัมผัสกับสารทำความสะอาดที่มีความ

มาตรฐานการเคลื่อนย้ายเครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อน

รูปภาพ
ตอนที่ 7 # การรวบรวมและการเคลื่อนย้ายเครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อน ........................................................................... การรวบรวมและการเคลื่อนย้ายเครื่องมือแพทย์ปนเปื้อน  (Collection and Transportation of Contaminated Medical Devices) การรวบรวมและการเคลื่อนย้ายเครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งและสิ่งสกปรกต่างๆ ต้องทำด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อในสิ่งแวดล้อมของสถานพยาบาล การรับเครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อน บุคลากรควรปฏิบัติดังนี้ 1.เครื่องมือแพทย์ที่ใช้กับผู้ป่วยแล้ว ทำการแยกอุปกรณ์ที่ต้องทิ้ง (ใบมีด เข็มฉีดยาและอื่นๆ ) ลงในภาชนะรองรับที่กำหนดไว้ ณ หน่วยงานที่ใช้เครื่องมือแพทย์ < ทำการแยกอุปกรณ์ที่ต้องทิ้ง > 2.ต้องขจัดสิ่งสกปรกชิ้นใหญ่จากเครื่องมือแพทย์ ณ จุดที่ใช้งาน (Point of Use) ในกรณีที่ไม่สามารถส่งงานจ่ายกลางได้ทันทีหลังจากการใช้งานแล้ว  3.เครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อนควรเก็บไว้ไม่ให้แห้งเกรอะกรัง โดยสามารถใช้ผ้าชื้นปกคลุม หรือใช้ผลิตภัณฑ์แบบโฟมหรือสเปรย์ฉีดพ่น เพื่อทำให้เครื่องมือชุ่มชื้นไม่แห้ง < โฟมหรือสเปรย์ฉีดพ่น เพื่อทำใ

การเลือกใช้สารทำความสะอาด (Detergent)

รูปภาพ
ตอนที่ 6 #การทำให้ปราศจากเชื้อ ........................................................................... การเลือกใช้สารทำความสะอาด (Detergent) การนำสารทำความสะอาดมาใช้ทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ บุคลากรมีหน้าที่ในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ ควรศึกษาข้อมูลของสารทำความสะอาดแต่ละชนิดโดยละเอียด จากข้อมูลผลิตภัณฑ์ของบริษัท และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องมือแพทย์นั้นๆ สารทำความสะอาดที่ใช้ในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ ควรมีคุณสมบัติที่ไม่กัดกร่อนเครื่องมือ ฟองน้อย ไม่ทิ้งคราบ และล้างออกได้ง่าย ชนิดของสารทำความสะอาดที่ใช่กับเครื่องมือแพทย์ 1. สารทำความสะอาดที่ผสมเอนไซม์ (Enzymatic Detergents) สารทำความสะอาดชนิดนี้ใช้ในการล้างเครื่องมือแพทย์ที่อุณหภูมิห้องหรือบริเวณที่มีอากาศเล็กน้อย เพื่อให้การออกฤทธิ์เร็วขึ้นในสภาวะที่เป็นกลาง ควรเลือกสารทำความสะอาดที่ผสมเอนไซม์ตามชนิดของสารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนบนเครื่องมือแพทย์ เช่น เลือด ไขมัน สารคัดหลั่งของร่างกาย เอนไซม์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาด ช่วยให้กระบวนการทำความสะอาดเร็วขึ้น และช่วยลดการแปรงและการขัดถูเครื่องมือแพทย์ ชนิดของเอ

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม (READ MORE) >>

แสดงเพิ่มเติม