บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ น้ำในกระบวนการฆ่าเชื้อ

คุณภาพน้ำ (Water Quality) สำหรับงานการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ

รูปภาพ
ตอนที่10  #คุณภาพน้ำ (Water Quality) สำหรับงานการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ คุณภาพน้ำ (Water Quality)                คุณภาพของน้ำ มีความสำคัญในทุกขั้นตอนของกระบวนการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ หากน้ำที่ใช้ในงานจ่ายกลางไม่มีคุณภาพจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเครื่องมือแพทย์ อาจทำให้เกิดการชำรุดเสียหาย จากการกัดกร่อนหรือมีคราบฝังแน่น ทำให้ประสิทธิภาพของกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อลดลง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยจากอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้เครื่องมือแพทย์หรือจากการติดเชื้อ น้ำที่นำมาใช้จำเป็นต้องมีการตรวจสอบและปรับปรุงเป็นระยะๆ ทั้งนี้ควรมีการกำหนดเป็นมาตรฐานตามบริบทของสถานพยาบาลนั้นๆ เช่น ตรวจทุกเดือน ทุกสามเดือน ทุกหกเดือน เป็นต้น การประเมินคุณภาพน้ำ                การตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ใช้ในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ งานจ่ายกลางควรมีการตรวจอย่างสม่ำเสมอตามบริบทของแต่ละสถานพยาบาล หากตรวจพบความผิดปกติของคุณภาพน้ำ จะต้องทำการแก้ไขหรือปรับปรุงให้ได้ตามมาตรฐาน น้ำที่ใช้ในการล้างเครื่องมือแพทย์ และน้ำที่ใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อควรเลือกใช้ให้เหมาะสม ตามตาราง 5.1 ตาราง 5.1 แสดงการเลือกชนิดของ

คุณภาพของไอน้ำ (Steam Quality)

รูปภาพ
การใช้น้ำที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดปัญหามากมาย  1.ตระกรัน เกลือแคลเซียมและแมกนีเซียม ที่ละลายในน้ำจะกลายเป็นตะกรันเกาะพื้นผิวถ่ายเทความร้อน ทำให้การถ่ายเทความร้อนลดลงและท่อมีความร้อนสูงสะสม 2.การกัดกร่อน หม้อไอน้ำ ท่ออุปกรณ์ต่างๆ จะถูกกัดกร่อนได้ ถ้าน้ำเป็นกรด หรือมีก๊าซละลายในน้ำ 3.แครี่โอเวอร์ น้ำจำนวนมากติดไปกับไอน้ำก่อให้เกิดปัญหาต่อเครื่องจักรความเป็นด่างที่สูงมาก ไขมันและน้ำมันในน้ำสารแขวนลอยเป็นสาเหตุการเกิดโฟมมิ่ง 4.การเปราะของโลหะ โลหะเกิดจากการแตกร้าว เนื่องจากความเปราะตามตะเข็บและปลายท่อ การใช้น้ำที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดปัญหามากมาย  การถ่ายเทความร้อนประสิทธิภาพต่ำลง การเพิ่มอุณหภูมิของโลหะที่เป็นพื้นผิวถ่ายเทความร้อน ทำให้โลหะอ่อนตัวถึงขั้นอันตราย การมีหยดน้ำติดไปมากๆ กับไอน้ำทำให้ผลิตภัณฑ์เสียหาย เป็นต้น

น้ำสำหรับใช้ในกระบวนการทำลายเชื้อ

รูปภาพ
(Water Purification for Final Rinse Water Disinfection Processor) สุวิทย์ แว่นเกตุ เรียบเรียง น้ำสำหรับกระบวนการทำลายเชื้อ การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยที่เข้ามารับการตรวจรักษา การเกิดขึ้นของโรคชนิดใหม่ๆ จากการปรับพัฒนาสายพันธุ์ของตัวเองให้ทนต่อสภาพแวดล้อม ทนต่อยา ทนต่อสารเคมี และการวินิจฉัยของแพทย์ที่มีการนำอุปกรณ์ที่ทันสมัยเข้ามาช่วย ตลอดจนการนำอุปกรณ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งนำกลับมาใช้ซ้ำใหม่ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เราต้องหันมามองและใส่ใจเกี่ยวกับความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องมีการนำกลับมาใช้ซ้ำ ก่อนอื่น เราควรหันมาให้ความสนใจกับขบวนการลดการปนเปื้อน (Decontamination) เสียก่อน ปัญหาที่น่าสนใจในขบวนการ Decontamination ก็คือ เราจะป้องกันอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดการกลับมาปนเปื้อน Re-contamination ได้อีกจากกระบวนการล้างท้ายสุด (Final Rinse Water) ก่อนการนำไปใช้งาน และจะมีการตรวจสอบให้มั่นใจได้อย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาข้างต้น เนื้อหาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ได้ทำการรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลผลงานวิจัยต่างๆ ที่ได้

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม (READ MORE) >>

แสดงเพิ่มเติม