บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ เครื่องฆ่าเชื้อ Sterilizers

การจัดเก็บหลอดบรรจุก๊าซเอทิลีนออกไซด์ 100%

รูปภาพ
คำแนะนำ การจัดเก็บหลอดบรรจุก๊าซเอทิลีนออกไซด์ 100% Safety Guidelines Ethylene Oxide (EO) Gas Sterilization การจัดเก็บหลอดบรรจุก๊าซเอทิลีนออกไซด์ 100% เพื่อการใช้งาน เก็บหลอดบรรจุก๊าซเอทิลีนออกไซด์ 100% ไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 100°F (38°C) เก็บหลอดบรรจุก๊าซเอทิลีนออกไซด์ 100% ให้ห่างจากแหล่งกำเนิดประกายไฟทั้งหมด เช่น ไม้ขีดไฟ บุหรี่ที่จุดแล้ว ประกายไฟ การเกิดประจุไฟฟ้าสถิต ห้ามใส่อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่ในเครื่องเพื่อทำการฆ่าเชื้อ ให้เก็บหลอดบรรจุก๊าซเอทิลีนออกไซด์ 100% จำนวนไม่เกิน 12 หลอด ในพื้นที่ฆ่าเชื้อได้ โดยมีการควบคุมอัตราอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 10 ครั้งต่อชั่วโมง ( > 10 Air exchange/ hour ) การจัดเก็บหลอดบรรจุก๊าซเอทิลีนออกไซด์ 100% เพื่อการเก็บรักษา จัดเก็บไว้ในตู้เก็บของเหลวไวไฟ หรือตู้ที่มีการระบายออกสู่ภายนอก (ให้ตรวจสอบข้อกำหนดการเก็บรักษาจากหน่วยงานในท้องถิ่น)   Safety Guidelines Ethylene Oxide (EO) Gas Sterilization Flammable liquid storage cabinets for Class I flammable liquids.   ตู้เก็บรักษาสารเคมี ของเหลวไวไฟ อ้างอิงข้อมูล 1. 3M(TM) Steri-Gas(TM)  EO Gas Cartrid

เทคโนโลยีการอบฆ่าเชื้อระบบอุณหภูมิต่ำ

รูปภาพ
ดาวน์โหลด เทคโนโลยีการอบฆ่าเชื้อระบบอุณหภูมิต่ำ

การทำให้ปราศจากเชื้อ ด้วยระบบไฮโดรเจนเพอร์อ๊อกไซด์พลาสม่า 1

รูปภาพ
การอบฆ่าเชื้อด้วยระบบไฮโดรเจนเพอร์อ๊อกไซด์พลาสม่า เป็นเครื่อง อบฆ่าเชื้อ เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ไม่สามารถทนความร้อนสูง สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ทุกชนิด รวมทั้งสปอร์  ทำงานด้วยระบบไฮโดรเจนเพอร์อ๊อกไซด์พลาสม่า ชนิดความเข้มข้น 58-59% ที่อุณหภูมิต่ำ ประมาณ 42-50 OC โดยใช้เวลาในการอบฆ่าเชื้อประมาณ 24-72 นาที หรือตามมาตรฐานผู้ผลิต การอบฆ่าเชื้อด้วยระบบไฮโดรเจนเพอร์อ๊อกไซด์พลาสม่า ข้อที่ควรคำนึงถึงเมื่อต้องใช้การอบฆ่าเชื้อด้วยระบบไฮโดรเจนเพอร์อ๊อกไซด์พลาสม่า คือ ข้อจำกัด ในการนำอุปกรณ์มาอบฆ่าเชื้อ ไม่ควรนำวัสดุที่สามารถดูดซับของเหลวได้ เช่น แป้ง, กระดาษ, ผ้า,ผ้าก็อส,สำลี, ไม้, โฟม,ฟองน้ำ, ของเหลว, น้ำ,น้ำมัน เป็นต้น ซึ่งวัสดุเหล่านี้จะดูดซับ Hydrogen peroxide นอกจากนั้นแล้ว ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่เป็นลักษณะท่อกลวง จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมอุปกรณ์ ถ้าอุปกรณ์นั้นๆ มีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางที่เล็กเกินกำหนด หรือมีความยาวเกินกำหนด ไม่ควรนำเข้าอบฆ่าเชื้อ เพราะจะทำให้ไฮโดรเจนเพอร์อ๊อกไซด์ ไม่สามารถเข้าไปสัมผัสได้อย่าทั่วถึง ในบางกรณีจะต้องใช้อุปกรณ์ เพิ่มปริมาณ ไฮโดรเจนเพอร์อ๊อกไซด์ ที่

การทำให้ปราศจากเชื้อด้วย Flash Sterilization

รูปภาพ
Flash Sterilization หรือ Immediate-use sterilization คำแนะนำการใช้ และข้อห้ามใช้ ไม่สามารถนำไปใช้กับ Implants ไม่สามารถนำไปใช้กับ อุปกรณ์ที่ผ่านการปนเปื้อนเชื้อโรค CJD อุปกรณ์ที่ไม่ผ่านการรับรองให้ใช้กับ Flash sterilization   อุปกรณ์ที่ผลิตมาเพื่อให้ใช้ครั้งเดียว Single-Use ดาวน์โหลดคู่มือการใช้ Flash sterilization。。  Flash Sterilization หรือ Immediate-use sterilization

การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อนแห้ง Sterilization by dry heat

รูปภาพ
การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อนแห้ง เป็นวิธีการที่ใช้ในการทำให้อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่ไม่สามารถทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการอบไอน้ำ หรือด้วยการอบแก๊ส Ethylene Oxide ได้ปราศจากเชื้อ โดยการทำลายเชื้อจุลชีพทุกชนิด ทุกรูปแบบรวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย ความร้อนแห้งไม่ทำให้อุปกรณ์บางประเภท เช่น เครื่องแก้ว และเครื่องมือมีคมเสื่อมสภาพ ความร้อนแห้งสามารถแทรกซึมผ่านสารบางชนิดซึ่งไอน้ำและแก๊สไม่สามารถแทรกซึมผ่านได้ วิธีการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อนแห้ง ได้แก่ การอบความร้อน (Hot air) การใช้รังสีอินฟราเรด (infrared radiation) การใช้ไมโครเวฟ (microwave radiation) และการเผา (incineration) การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการอบความร้อน (Hot air) การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีนี้ความร้อนจะค่อยๆ แทรกซึมสู่อุปกรณ์อย่างช้าๆ ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานาน การอบความร้อนเหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่มีลักษณะแหลม มีคม เข็มและกระบอกฉีดยา วุ้นและแป้ง ความร้อนแห้งไม่ทำให้อุปกรณ์เป็นสนิม ไม่มีผลเสียต่ออุปกรณ์ที่มีคม การอบความร้อนเป็นวิธีการทำให้ปราศจากเชื้อที่ใช้อุณหภูมิสูงและใช้ระยะเวลายาวนาน เครื่องอบความร้อนที่ใช้ในโรง

หม้อนึ่งไอน้ำภายใต้ความดันPortable Steam Sterilizer

รูปภาพ
หม้อนึ่งไอน้ำภายใต้ความดัน เป็นเครื่องนึ่งไอน้ำชนิดแทนที่อากาศขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้ มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ Steam Sterilizer System -หม้อนึ่ง  ประกอบด้วยตัวหม้อนึ่งด้านนอกและฝาครอบซึ่งทำด้วยเหล็กกล้าอย่างดี ทนต่อความดันและความร้อนได้เป็นอย่างดี รอบๆ ตัวหม้อด้านบนจะมีล๊อค ระหว่างตัวหม้อและฝาครอบ 6 ตัว เพื่อทำให้ฝาหม้อปิดสนิทและรักษาความดันภายในหม้อไว้ในขณะนึ่งด้วยไอน้ำ -หม้อนึ่งชั้นใน เป็นถังรูปทรงกระบอกทำจากอลูมินั่ม มีขนาดเล็กกว่าตัวหม้อด้านนอก ใช้สำหรับใส่อุปกรณ์เพื่อทำให้ปราศจากเชื้อ โดยขณะใช้จะวางหม้อไว้ในหม้อนึ่ง ด้านในจะมีท่อสำหรับใส่ท่อระบายอากาศจากก้นหม้อ -ตะแกรง  ทำจากสแตนเลส ใช้สำหรับจัดเรียงอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อทำให้เกิดช่องว่างบริเวณก้นหม้อทำให้ไอน้ำกระจายและไหลเวียนได้ทั่วถึง -ท่อระบาย / ดูดอากาศ เป็นท่อเชื่อมต่อจากฝาครอบของหม้อนึ่งไปยังก้นหม้อ โดยใส่ผ่านท่อด้านข้างของหม้อนึ่งชั้นในเพื่อระบายอากาศจากก้นหม้อขึ้นไปและออกทางฝาครอบ -มาตรวัดความดันและอุณหภูมิ อยู่บนฝาครอบด้านบนของหม้อนึ่ง -ปุ่มควบคุมความดัน ตรงปลายเปิดของท่อระบายอากาศที่ฝาครอบด้านบนของห

การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการอบแก๊ส Ethylene Oxide (Eto)

รูปภาพ
แก๊ส EO ใช้ในการทำให้อุปกรณ์ ปราศจากเชื้อ  หรือเครื่องมือที่ทนความร้อนและความชื้นไม่ได้, EO เป็นสารเคมีที่สามารถทำลายเชื้อจุลชีพ และสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย คุณสมบัติของแก๊ส EO แก๊ส EO มีพิษ ไม่มีสี ที่ความเข้มข้นต่ำจะไม่มีกลิ่น แต่ที่ความเข้มข้นสูงกว่า 700 ppm. จะมีกลิ่นคล้ายอีเธอร์  หากมีความเข้มข้นสูงกว่า 3% อาจเกิดการระเบิดได้ EO สามารถทำลายเชื้อจุลชีพทุกชนิดรวมทั้งสปอร์ของเชื้อ Bacillus subtilis ซึ่งมีความคงทนมากกว่าเชื้ออื่นๆ ในการประเมินประสิทธิภาพการทำให้ปราศจากเชื้อด้วย EO จึงใช้เชื้อ B.subtilis เป็นตัวบ่งชี้ แก๊ส EO ไม่กัดกร่อนและไม่ทำให้พลาสติกหรือยางเสื่อมคุณภาพ แก๊สนี้สามารถแทรกซึมเข้าสู่ห่ออุปกรณ์และแพร่กระจายไปสัมผัสอุปกรณ์ได้รวดเร็ว EtO Sterilizer EtO Sterilizer EtO Sterilizer ระบบเครื่องอบแก๊ส EO เครื่องอบแก๊ส EO แบ่งออกตามลักษณะของแก๊ส EO ที่ใช้ได้เป็น 2 ระบบคือ

การทำให้ปราศจากเชื้อโดยวิธีนึ่งด้วยไอน้ำ Steam Sterilization

รูปภาพ
การทำให้ปราศจากเชื้อโดยวิธีนึ่งด้วยไอน้ำ มีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องคำนึงถึง 4 ประการคือ      -อุณหภูมิ (Temperature)      -ความดัน (Pressure)      -เวลา (Time)      -ความชื้น (Moisture) อุณหภูมิ (Temperature) อุณหภูมิที่ใช้ในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อโดยวิธีนึ่งด้วยไอน้ำคือ 121 และ 132 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิจะต้องรักษาไว้ให้คงที่ในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อจนกว่าจะครบระยะเวลาต่ำสุดที่กำหนดในการทำให้ปราศจากเชื้อไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดใดสามารถมีชีวิตอยู่ได้เมื่อสัมผัสกับไอน้ำอิ่มตัว ที่มีอุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียสเป็นเวลานานอย่างน้อย 15 นาที ความดัน (Pressure) ที่ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว น้ำจะเดือดที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียสและที่ความดัน 32 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว น้ำจะเดือดที่อุณหภูมิ 134 องศาเซลเซียส ไอน้ำที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส และ 134 องศาเซลเซียสจะสามารถทำลายสปอร์ได้ภายในเวลา 15 นาที และ 3 นาทีตามลำดับ ความดันจะช่วยให้อุณหภูมิที่น้ำเดือดสูงขึ้น แต่ความดันไม่มีผลโดยตรงต่อเชื้อจุลชีพหรือต่อการแทรกซึมของไอน้ำเข้าสู่ห่ออุปกรณ์ เวลา (Time) ระยะเวลาที่อุปกรณ์จะต้อ

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม (READ MORE) >>

แสดงเพิ่มเติม