บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ CSSD คำถามที่พบบ่อย

ปัญหาการเปลี่ยนสีของแถบเคมีบ่งชี้ภายใน (Internal chemical indicator)

รูปภาพ
Indicator result: Chemical Indicator changing result บ่งชี้อะไร ผลการเปลี่ยนแปลงของ Sterilization internal chemical indicators ภายหลังการฆ่าเชื้อด้วย Sterilizer แต่ละชนิด สามารถบอกอะไรเราได้หลายอย่าง ค้นคว้าเรียบเรียง: สุวิทย์ แว่นเกตุ ในการประเมินผลประสิทธิภาพการเข้าไปสัมผัสพื้นผิวอุปกรณ์ที่ต้องการฆ่าเชื้อได้ครบถ้วนตามคุณสมบัติที่กำหนดในแต่ละชนิดของการฆ่าเชื้อ ต้องอาศัยตัวบ่งชี้ภายในห่อที่เรียกว่า Internal  chemical indicator  ซึ่งตัวบ่งชี้เหล่านี้สามารถบอกความหมายของสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วก่อนหน้า โดยขึ้นอยู่กับชนิดและความสามารถของตัวบ่งชี้นั้นๆ ตัวบ่งชี้เหล่านี้ถูกจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มตามความสามารถ (Type of Chemical indicator classification)ในการตรวจสอบตามจำนวนของคุณสมบัติ(หรือที่เรียกว่าค่า“พารามิเตอร์”ที่บ่งชี้ในการฆ่าเชื้อ)ที่สามารถตรวจสอบสอบได้ในการฆ่าเชื้อแต่ละชนิดที่ต่างกันออกไป จากในภาพเป็นผลจากการฆ่าเชื้อด้วยการนึ่งฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำหรือ Autoclave ซึ่งผลที่ออกมาดูการเปลี่ยนแปลงสถานะของตัวบ่งชี้จะพบว่ามีลักษณะของการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สมบูรณ์ มีลักษณะร่องรอยเหมือนการเกิดไอน้ำที่ไม่สม

Re-sterilized ด้วย ETO เป็นอันตรายมั้ย?

รูปภาพ
ในวงการ CSSD การทำให้ปราศจากเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการนำมาใช้ซ้ำ "Reuse-medical devices" โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ PVC บางประเภทที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อด้วย  G amma radiation  แล้วนำมา Re-sterile ด้วย ETO จะทำให้เกิดความเป็นพิษ "T oxicity  effect" สะสมอยู่ภายในอุปกรณ์มั้ย... จากผลงานการวิจัยของ Rafael Queiroz de Souza, Kazuko Uchikawa Graziano, tamiko ichikawa ikeda, Cláudia Regina Gonçalves4, Áurea Silveira Cruz ภายใต้หัวข้องานวิจัย Cytotoxicity of PVC tubes sterilized in ethylene oxide after gamma radiation exposure ได้ข้อสรุปคือ วัสดุ PVC ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อด้วย รังสีแกมมา หรือ G amma radiation และมีการนำมาทำให้ปราศจากเชื้อซ้ำๆ ด้วย EO ไม่แสดงให้เห็น ความเป็นพิษ ( the PVC material sterilized in EO and consecutively re-sterilized in EO showed no toxicity) "Under the present study conditions, the PVC material sterilized in EO and consecutively re-sterilized in EO showed no toxicity. The extension of the results to clinical practice is depe

พลาสมาฆ่าเชื้อโรคได้มั้ย?

รูปภาพ
4 เรื่อง ที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยระบบไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ พลาสมา ภาพ: Glow discharge plasma การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยระบบไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ พลาสมา 4 เรื่อง ที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยระบบไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ พลาสมา การเกิดพลาสมามีไว้สำหรับฆ่าเชื้อ ระบบนี้ไม่มีอันตราย สปอร์ยังต้องรอผลมากกว่า 1 ชั่วโมง ดังนั้นรอบการทำงานที่เร็วไม่ได้ช่วยอะไร พลาสมาเกิดภายในChamber ดีกว่า ภายนอกchamber จัดเป็นระบบการฆ่าเชื้อที่ใช้สารเคมีเป็นตัวทำลายเชื้อ โดยสามารถทำให้เชื้อถูกทำลายได้ในระดับการทำงานที่อุณหภูมิ ระหว่าง  45-55  o C  สารเคมีที่ว่าคือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ในสภาพเป็นของเหลวที่มีความเข้มข้น  58%  ภายหลังการปรับสภาพแวดล้อมภายในห้องอบ ( chamber ) จนเหมาะสมเพียงพอในการฆ่าเชื้อ เครื่องก็จะทำการ

5 คำถามที่พบบ่อย ในการตรวจสอบคุณภาพ-การทำให้ปราศจากเชื้อ

รูปภาพ
5คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ การตรวจสอบคุณภาพ-การทำให้ปราศจากเชื้อ 1. ควรจะต้องตรวจสอบคุณภาพ-การทำให้ปราศจากเชื้อ อย่างไรบ้าง? 2. ควรจะต้องตรวจสอบด้วยการทำ สปอร์เทสต์ (Biological monitoring)บ่อยแค่ไหน? 3. ถ้ามีการนำอุปกรณ์ Implant มาทำให้ปราศจากเชื้อ ควรจะต้องทำ สปอร์เทสต์ บ่อยแค่ไหน? 4. ควรจะต้องทำอย่างไรถ้าพบผลการทำ สปอร์เทสต์ เป็นบวก(Spore test positive result)? 5. มีอะไรบ้างที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำให้ปราศจากเชื้อ   ควรจะต้องตรวจสอบคุณภาพ-การทำให้ปราศจากเชื้อ อย่างไรบ้าง? การตรวจสอบ กระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ ไม่สามารถทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะต้องอาศัยการตรวจสอบร่วมกัน ทั้งทางด้าน การตรวจสอบทางเชิงกล (Mechanical) ทางเคมี (Chemical) และทางชีวภาพ (Biological) ตามเงื่อนไขที่กำหนดมาเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการทำให้ปราศจากเชื้อ   ทางเชิงกล (Mechanical) เป็นการตรวจเช็ค อุณหภูมิ ระยะเวลา และความดัน จากมาตรวัดแสดงผล เปรียบเทียบกับการพิมพ์รายงานผล จะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน หากมีอันใดอันหนึ่งผิดพลาด แสดงว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้น ทางเคมี (Chemical) แผ่นตรว

การทำให้ปราศจากเชื้อ สายรัด เอสมาร์ช (Esmarch bandage) ?

รูปภาพ
สายรัด เอสมาร์ช (Esmarch bandage) เรียบเรียง: สุวิทย์ แว่นเกตุ มีการนำมาใช้ครั้งแรก เมื่อปี 1869 ในกองทัพของเยอรมันนี โดย นพ.Friedrich von Esmarch ซึ่งเป็นศัลยแพทย์ ในกองทัพ นำมาใช้ในการห้ามเลือด ในกรณีฉุกเฉิน มีลักษณะเป็นม้วน ขนาดความกว้าง ประมาณ 3 นิ้ว หรือประมาณ 7.5 เซ็นติเมตร สายรัด เอสมาร์ช (Esmarch bandage) Friedrich von Esmarch ภาพจาก  https://en.wikipedia.org เป็นสายยางรัด ที่ทำจากพลาสติกชนิด Latex free ทำจาก TPE (Thermoplastic elastomers) มีการนำมาใช้ในทางการแพทย์ ช่วยในการปฐมพยาบาล และเพื่อการรัดห้ามเลือดในการผ่าตัดทาง Orthopedic ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้จาก FDA ของสหรัฐอเมริกา ในลักษณะเป็น Single Use ( Disposable Tourniquet ) สายรัด เอสมาร์ช (Esmarch bandage) แต่ในประเทศไทย มีการนำกลับมาใช้ซ้ำ การทำให้ปราศจากเชื้อ Esmarch bandages for sterilization สามารถทำได้สองวิธี คือ การให้ปราศจากเชื้อ ด้วยไอน้ำ Autoclave method การให้ปราศจากเชื้อ แก็สเอ็ทธิลีนอ๊อกไซด์ Ethylene oxide method สำหรับวิธีการทำให้ปราศจากเชื้อ สายรัด เอสมาร์ช (Esmarch b

Sterilizers ฆ่าเชื้อได้อย่างไร ?

รูปภาพ
อะไร…ที่สามารถทำให้เชื้อโรคตาย.? แล้ว เครื่องแต่ละระบบ…ต่างกันอย่างไร.? และ มันเป็นอันตรายต่อมนุษย์…แค่ไหน.? Sterilizers:เครื่องอบฆ่าเชื้อ Sterilizer หนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ ที่ทำให้มนุษย์อยู่รอดปลอดภัย จากการติดเชื้อ ที่ถูกนำมาใช้ในโรงพยาบาล หรือ ภาไทยที่เรารู้จักและคุ้นเคย ก็คือ เครื่องอบฆ่าเชื้อ เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อ หรือ หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ คุณสมบัติอย่างหนึ่งของ Sterilizer ที่เรานำมาใช้ประโยชน์ ก็คือ ความสามารถในการฆ่าสปอร์ของเชื้อโรค ที่มีความทนทานมากที่สุด นี่คือประโยชน์ของ Sterilizer โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน รุ่นไหนก็ตาม ความกังขาในความสามารถในการฆ่าเชื้อที่ตามมาก็คือ…มันฆ่าสปอร์ของเชื้อโรคให้ตายได้แค่ไหน และ อย่างไร? อะไรล่ะ…ที่สามารถทำให้เชื้อโรคตาย.? การที่จะสามารถฆ่าสปอร์เชื้อโรคที่มีความทนทานสูงสุดให้หมดลงได้ จะต้องใช้ค่ากำหนด ทั้ง อุณหภูมิ ความดัน ความชื้นสัมพัทธ์ ความเข้มข้นของแก๊ส และ เวลา ตามมาตรฐานสากลที่ยอมรับกัน เราเรียก ค่าที่กำหนดเหล่านี้ ว่า Sterilization Critical factors คือ         1.   อุณหภูมิ (Temperature) 2. ค่าความอิ่มตัวของไอน้ำ (Saturate

ทำไม BI ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ในการทำให้ปราศจากเชื้อ

รูปภาพ
ผลของการทำสปอร์เทสต์ บอกเพียงว่า เครื่องมีประสิทธิภาพ เพียงพอที่จะฆ่าเชื้อให้ตายได้  ตามเงื่อนไข  Sterilization Critical Parameter  ที่กำหนด   แล้วจะ...“เกิดอะไรขึ้น ถ้า ไอน้ำ หรือ แก๊ส ไม่สามารถเข้าไปสัมผัส ภายใน ซอง ห่อ หรือ กล่องเครื่องมือได้…?” คำถามนี้น่าสนใจ! ทำไมน่ะหรือ ก็เพราะว่า… “เราไม่ได้ใส่ หลอด BI เข้าไปใน ทุกห่อ ทุกซอง น่ะสิ” ต้นเหตุของความผิดพลาด เกิดจาก การขาดความรู้ ขาดการตระหนัก  ตั้งแต่เริ่มมีการนำ BI: Biological Indicators หรือ หลอดทดสอบทางชีวภาพ มาใช้ในการทดสอบการทำให้ปราศจากเชื้อ เราก็คิดว่าผลของการทำสปอร์เทสต์ คือคำตอบสุดท้ายที่เรา ใช้เป็นหลักประกันว่า อุปกรณ์ที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อรอบนั้นๆ สมบูรณ์… “แท้จริงแล้วเป็นเช่นนั้นหรือไม่ ?...” เราเคยตั้งคำถามแบบนี้กับตัวเองบ้างมั้ย การนำ BI: Biological Indicators หรือ หลอดทดสอบทางชีวภาพ ไปใช้ด้วยความมั่นใจอย่างสูง นำไปสู่การปฎิบัติที่ผิด นี่คือมุมมืดของ ความมั่นใจในผลของการทำสปอร์เทสต์ เราให้ความสนใจ ใส่ใจในกระบวนการต่างๆ ก่อนอบฆ่าเชื้อน้อยลง เราฝากความหวังไว้กับ ผลของการทำสปอร์เทสต์ Be careful! :Loadi

ทำอย่างไร 4 ปี ไม่เคยทำ สปอร์เทสต์ สามารถผ่าน HA !

รูปภาพ
นี่คือข้อเท็จจริง ที่ได้ไปทราบมาจากผู้ปฏิบัติงานใน CSSD แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดระดับโรงพยาบาลศูนย์ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาล HA มาแล้ว หากเราอยู่ในวงการ CSSD เราคงทราบกับโดยทั่วไปถึงมาตรฐานในการทำให้ปราศจากเชื้อที่เกี่ยวกับการใช้ตัวตรวจสอบหรือตัวชี้วัด (Sterilization monitoring control system) หรือที่เรามักจะเรียกกันจนติดปากว่า “อินดิเคเตอร์” “ อินดิเคเตอร์ ” ที่เราใช้กันตามมาตรฐานก็มี  อันแรก Mechanical indicators ที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงความพร้อมและความสมบูรณ์ในประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง เช่น การทดสอบด้วย Bowie Dick, การดูรายงานผลการทำงานของเครื่องที่แสดงออกมาทางจอภาพหรือทางกระดาษพิมพ์ (Print-out report) และความพร้อมทำงานของเครื่อง (Ready to  use) แสดงให้ทราบ ที่เราสามารถดูจากจอภาพของเครื่อง อันที่สอง Packing indicators or Chemical indicators ที่ใช้สำหรับตรวจสอบขั้นตอนการทำงานของเครื่องว่าสมบูรณ์หรือไม่ ซึ่งก็จะมี External indicators ที่สามารถบอกได้ว่าผ่านหรือไม่ผ่านกระบวนการ ด้วยการสังเกตุดูได้อย่างชัดเจนจากภายนอกโดยไม่ต้องเปิดเข้าไปดูภายใน

ความแตกต่างของจำนวนสปอร์ที่ใช้ในการทดสอบ

รูปภาพ
Q: ความแตกต่างของจำนวนสปอร์ที่ใช้ในการทดสอบ การทำให้ปราศจากเชื้อ A: สำหรับจำนวนสปอร์ที่มาตรฐานกำหนดเป็นตามนี้เลยครับ   BI requirement population The manufacturer must state the viable population on the BI; this number is then considered the listed population. According to the various ISO standards (11138 series) and USP monographs the populations for the various BIs must be as follows: ISO (11138 series) population requirements: EO (Ethylene oxide): ≥ 1.0 x 10 6 (11138-2 9.3) Moist heat: ≥ 1.0 x 10 5 (11138-3 9.3) Dry heat: ≥ 1.0 x 10 6 (11138-4 9.3) Low temp steam & formaldehyde: ≥ 1.0 x 10 5 (11138-5 9.3) USP monographs population requirements: Paper Carrier BIs used for EO, Steam, or Dry Heat: > 1.0 x 10 4 and < 1.0 x 10 9 Liquid Spore Suspension used for Moist heat, Dry heat, & Gaseous modes of sterilization: > 1.0 x 10 3 and < 1.0 x 10 9 Non-paper carriers used for Moist heat, Dry heat, & Gaseous modes of ste

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม (READ MORE) >>

แสดงเพิ่มเติม