บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ การทำลายเชื้อ ทำให้ปราศจากเชื้อ

STU หรือ The Sterilization Unit

รูปภาพ
ขอคุยเรื่อง ขนาดความจุของเครื่องนึ่ง หรือที่เราเรียกกันว่า Autoclave ซึ่งเวลาพูดถึงความจุของห้องนึ่งหรือ Chamber เรามักจะมองกันเพียงขนาดปริมาตรความจุแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่ง พอเอามาใช้งานจริงปรากฏว่า เครื่องที่มีขนาดความจุเท่ากัน แต่ใส่ของได้ไม่เท่ากัน อันที่จริงดูเผินๆ แล้วไม่น่าเป็นไปได้ ที่จะใส่ของได้ไม่เท่ากัน แต่อันที่จริงแล้วมันเป็นไปได้ ทั้งนี้เพราะ ลักษณะการออกแแบบรูปทรงของ Chamber ขั้นมีลักษณะ กว้าง สูง หรือลึกต่างกัน อีกทั้งรูปทรงที่เป็นทรงกระบอกก็มี ที่เป็นรูปทรงเหลี่ยมก็มี มันเลยมีผลต่อการจัดวางเรียงของเมื่อใช้งานจริง ด้วยเหตุุุนี้ ก็เลยจำต้องมีการกำหนดหน่วยเปรียบเทียบที่เป็นมาตรฐาน โดยถ้านำหน่วยนี้ไปใช้เป็นมาตราในการเปรียบเทียบความจุของเครื่องมือที่สามารถจัดเรียงในห้องอบได้ ก็จะทราบได้ทันทีว่า ในขนาดปริมาติความจุจากการคำนวณกับที่จุของได้จริงนั้นแตกต่างกันไป ตามลักษณะการออกแบบของ Chamber หน่วยที่ว่านี้เรียกว่า STU หรือ The Sterilization Unit ตัวย่อที่ใช้เรียกกันคือ STU เพราะฉนั้นเวลาเปรียบเทียบกันก็จะบอกว่า เครื่องนั้นจุได้กี่ STU เครื่องโน้นจุได้กี่ STU ถ้าต้องการเปรีย...

การทำให้ปราศจากเชื้อ เครื่องมือทางฑันตกรรม

รูปภาพ
มาตรฐานการทำให้ปราศจากเชื้อ เครื่องมือทางฑันตกรรม เครื่องมือที่ใช้ในคลินิกทันตกรรม ในการนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานในการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อในคลินิกทันตกรรม ผู้เกี่ยวข้องสามารถศึกษาแนวทางการปฎิบัติ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยได้ใน Disinfection and Sterilization in Dentistry, Disinfection and Sterilization of Dental Instruments and Materials, Cleaning Disinfection and Sterilization of dental instruments, American Dental Sterilization ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว สามารถดาวน์โหลด ไฟล์ข้อมูลได้จากลิงค์ Disinfection and Sterilization in Dentistry Disinfection and Sterilization of Dental Instruments and Materials Cleaning Disinfection and Sterilization of dental instruments American Dental Sterilization สุวิทย์ แว่นเกตุ ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่นำมาเผยแพร่ทั้งหมด  เพื่อประโยชน์ของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ

ที่มาของการทำให้ปราศจากเชื้อ

รูปภาพ
จากการอักเสบเป็นหนองแล้วก็ตาย สู่การรอดชีวิต จากคุณูปการ ของ อิกนาซ ฟิลิปป์ เซมเมลไวสส์, หลุยส์ปาสเตอร์, และ โจเซฟ ลิสเตอร์ ยุคสมัยก่อนปีพ.ศ.2405 การผ่าตัดเกือบทุกรายจะต้องมีการติดเชื้อ ที่รู้กันในสมัยนั้นว่า ”การอักเสบเป็นหนองแล้วก็ตาย” อิกนาซ ฟิลิปป์ เซมเมลไวสส์ (Ignaz Philipp Semmelweiss, ค.ศ. 1818-1865) แพทย์ชาวฮังการี เป็นผู้นําการทำให้ปราศจากเชื้อมาใช้เป็นครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ. 2390 ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีใครรู้จักว่าจุลินทรีย์เป็นสาเหตุของการทำให้เกิดโรค เซมเมลไวสส์ แนะนําให้ล้างมือและเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนเสื้อผ้าทั้งของแพทย์และของผู้ป่วยให้สะอาดและให้แช่มือในน้ำยาคลอรีน ก่อนทำผ่าตัด การค้นพบของเขา ได้ช่วยชีวิตของหญิงที่คลอดบุตรในโรงพยาบาลกลางของกรุงเวียนนาไว้มากมาย ต่อมาอีกประมาณ 20 ปี (ราว พ.ศ. 2409) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ หลุยส์ปาสเตอร์ (Louis Pasteur,ค.ศ. 1822-1895) ค้นพบว่าเชื้อจุลินทรีย์เป็นตัวทําให้เกิดหนองและการอักเสบ และแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อโจเซฟ ลิสเตอร์ (Joseph Lister,First Baron,ค.ศ. 1827-1912) ได้นํากรดคาร์บอลิค หรือที่รู้จักกันในนามของ ฟีนอล (...

การทำให้ปราศจากเชื้อ Sterilization

รูปภาพ
การทำให้ปราศจากเชื้อเป็นกระบวนการในการทำลายหรือขจัดเชื้อจุลชีพทุกชนิด รวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียจากเครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องมือที่จะต้องผ่านเข้าสู่ส่วนของร่างกายที่ปราศจากเชื้อ ได้แก่ กระแสโลหิต หรือเนื้อเยื่อ เช่น เครื่องมือผ่าตัด เข็มฉีดยา รวมทั้งสารน้ำที่ใช้ฉีดเข้าเส้น อุปกรณ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคซึ่งต้องสัมผัสกับเยื่อบุของร่างกายในระบบทางเดินปัสสาวะหรือช่องท้องจะต้องได้รับการทำให้ปราศจากเชื้อ นอกจากนี้อาหารเลี้ยงเชื้อ อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในห้องปฏิบัติการซึ่งใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อรวมทั้งการวิจัยจะต้องผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อภายหลังใช้แล้ว ก่อนนำไปทิ้งหรือล้างทำความสะอาด วิธีการทำให้ปราศจากเชื้อ การทำให้ปราศจากเชื้อจะมีประสิทธิภาพต่อเมื่อทุกพื้นผิวของอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่ต้องการทำให้ปราศจากเชื้อสัมผัสกับสารที่ทำให้ปราศจากเชื้อ (Sterilizing agent) การเลือกวิธีการทำให้ปราศจากเชื้อขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของอุปกรณ์ที่ต้องการทำให้ปราศจากเชื้อและระยะเวลาที่ใช้ในการทำลายสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย วิธีการทำให้ปราศจากเชื้อ แบ่งออกได้เป็น 2 วิธีใหญ่...

การทำลายเชื้อ Disinfection-2

รูปภาพ
แนวทางการปฏิบัติในการทำลายเชื้อ ควรสวมเครื่องป้องกัน ได้แก่ ถุงมือ แว่นตา เพื่อป้องกันมิให้มือสัมผัสกับสารเคมี และป้องกันการกระเด็นของน้ำยาเข้าตา น้ำยาที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อสูงมักจะมีพิษต่อร่างกาย ทำความสะอาดอุปกรณ์อย่างทั่วถึง เช็ดอุปกรณ์ให้แห้งก่อนนำไปแช่ในน้ำยาทำลายเชื้อเพื่อมิให้ความเข้มข้นของน้ำยาเปลี่ยนไป แช่อุปกรณ์ในน้ำยาทำลายเชื้อ โดยให้น้ำยาทำลายเชื้อสัมผัสทุกส่วนของอุปกรณ์ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นคีม เป็นท่อ มีรูกลวง จะต้องพยายามให้น้ำยาแทรกซึมเข้าไปให้ทั่ว แช่อุปกรณ์ในน้ำยาทำลายเชื้อโดยใช้เวลานานตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด การทำลายเชื้อควรทำให้บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรใช้น้ำยาทำลายเชื้อที่เตรียมใหม่ ไม่ใช้น้ำยาทำลายเชื้อที่เตรียมไว้นาน เพราะการเก็บไว้นานอาจทำให้ประสิทธิภาพของน้ำยาลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเก็บในที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น เก็บไว้ในที่ที่มีอากาศร้อน มีแสงแดดส่อง หรือมีความชื้น อุปกรณ์ที่แช่น้ำยาทำลายเชื้อแล้ว จะต้องล้างน้ำยาออกให้หมด และทำให้แห้งโดยระมัดระวังมิให้อุปกรณ์เกิดการปนเปื้อนเชื้อซ้ำอีก ขั้นตอนการทำลายเชื้อ ล้...

การทำลายเชื้อ Disinfection-1

รูปภาพ
การทำลายเชื้อ Disinfection การทำลายเชื้อ หมายถึง การกำจัดเชื้อจุลชีพที่ปนเปื้อนบนอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ หรือบนพื้นผิวต่างๆ การทำลายเชื้อทำได้โดยการใช้สารเคมี หรือใช้วิธีการทางกายภาพ เช่น การใช้ความร้อน สารเคมีที่ใช้ทำลายเชื้อบนเครื่องมือหรือบนพื้นผิวต่างๆ เรียกว่า น้ำยาทำลายเชื้อ (Disinfectants) สารเคมี ที่ใช้ทำลายเชื้อที่ผิวหนังและส่วนต่างๆ ของร่างกาย เรียกว่า น้ำยาระงับเชื้อ (Antiseptics) ระดับการทำลายเชื้อ แบ่งตามประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อได้เป็น 3 ระดับคือ -การทำลายเชื้อระดับสูง (High-level disinfection) -การทำลายเชื้อระดับกลาง (Intermediate-level disinfection) -การทำลายเชื้อระดับต่ำ (Low-level disinfection) การทำลายเชื้อระดับสูง (High-level disinfection) อุปกรณ์ในกลุ่ม critical items บางชนิดทนความร้อนไม่ได้ เช่น อุปกรณ์ที่ทำด้วยพลาสติก หรือเคลือบด้วยพลาสติกจะต้องทำให้ปราศจากเชื้อโดยใช้วิธีซึ่งไม่ใช้ความร้อนสูง ได้แก่ การอบแก๊ส ethylene oxide หรือการใช้น้ำยาทำลายเชื้อที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อสูง กล้องส่องตรวจอวัยวะภายใน เช่น laparoscopes หรือ Art...

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม (READ MORE) >>

แสดงเพิ่มเติม