บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ น้ำยาทำลายเชื้อ Disinfectant

Hexachlorophene

รูปภาพ
Hexachlorophene เป็นน้ำยาทำลายเชื้อที่ใช้กับผิวหนัง มีส่วนผสมของ Phenol ใช้สำหรับล้างมือ น้ำยานี้มีผลดีในการทำลายเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก แต่การออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า Hexachlorophene ยังคงประสิทธิภาพการทำลายเชื้อ Staphylococci แม้จะผสมในสบู่ หรือสารฟอกล้างที่มีสภาวะเป็นกลาง (neutral detergents) เหมาะที่จะใช้ในการทำลายเชื้อบนมือก่อนการผ่าตัด รวมทั้งใช้ในการทำความสะอาดผิวหนังของผู้ป่วยที่จะได้รับการผ่าตัด Hexachlorophene 

Quaternary Ammonium Compounds

รูปภาพ
Quaternary Ammonium Compounds (QACs.quats)  เป็นน้ำยาทำลายเชื้อระดับต่ำ สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย แกรมบวกได้ผลดี แต่ไม่ค่อยมีผลต่อแบคทีเรียแกรมลบ ควรผสมน้ำยาทำลายเชื้อประเภทนี้กับน้ำกลั่น เพื่อให้ได้ความเข้มข้นที่เหมาะสม ไม่ควรใช้น้ำประปาผสมเพราะในน้ำประปาอาจมีแร่ธาตุบางชนิดที่ทำให้ประสิทธิภาพของน้ำยาลดลง น้ำยาทำลายเชื้อประเภทนี้กัดกร่อนโลหะ จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง Quaternary Ammonium Compounds ใช้ได้ทั้งเป็น disinfectant และ antiseptic แต่ CDC แนะนำว่าไม่ควรใช้น้ำยาชนิดนี้ในการทำลายเชื้อบนผิวหนังและเนื้อเยื่อ เนื่องจากมีรายงานการระบาดของการติดเชื้อในโรงพยาบาลเนื่องจากน้ำยามีการปนเปื้อนเชื้อ gram negative bacteria น้ำยากลุ่มนี้ที่ใช้คือ Benzalkonium chloride หรือ Zephiran   สิ่งที่ควรระวังในการใช้น้ำยานี้เป็น antiseptic คือ ประสิทธิภาพของน้ำยาจะลดลงเมื่อสัมผัสกับสบู่ จึงต้องล้างผิวหนังให้สะอาดก่อนจะใช้น้ำยาเช็ดและควรให้มีความเข้มข้น 1:750 Quaternary Ammonium Compounds

ประสิทธิภาพและชื่อทางการค้าของน้ำยาทำลายเชื้อ

รูปภาพ
ประสิทธิภาพและชื่อทางการค้าของ น้ำยาทำลายเชื้อ ที่ใช้ในโรงพยาบาลในประเทศไทย ชนิดน้ำยา ประสิทธิภาพ ชื่อทางการค้า Alcohol Intermediate Aldehyde Formaldehyde Glutaraldehyde High Intermediate to High Cidex, Aldecyde 28 Chlorhexidine Low Hibitane, Hibiscrub Alcohol + Chlorhexidine Intermediate Hibisol, Desmanol Halogenes Hypochlorite Chloramine Iodine Tincture Iodophors Intermediate to High Intermediate to High - Intermediate - Intermediate Chlorox - Povidine, Betadine Hydrogen peroxide Low to High Phenolics Cresol Chloroxylenol Low to Intermediate Low Lysol Dettol Quaternary ammonium compounds (QACs) Cetrimide Benzalkonium Very Low Very Low Cetavlon Zephiran, Bactyl QACs + Diguanide Cetrimide + Chlorhexidine

Phenolic Compounds

รูปภาพ
Phenolic compounds ได้มาจากกรดคาร์บอลิค (Carbolic Acid) น้ำยาทำลายเชื้อชนิดนี้สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกได้อย่างกว้างขวาง และน้ำยาบางตัวสามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียแกรมลบได้ด้วย แต่ไม่สามารถทำลายเชื้อไวรัสหรือสปอร์ของแบคทีเรียได้ Phenolic Compounds มีฤทธิ์ตกค้างนานจึงใช้ได้ดีกับการทำลายเชื้อที่พื้นผนังและอุปกรณ์ที่ไม่ได้สัมผัสกับเชื้อไวรัสตับอักเสบหรือเชื้อไวรัสตัวอื่นๆ ก่อนที่จะแช่เครื่องมือลงในน้ำยาทำลายเชื้อชนิดนี้จะต้องล้างสารขัดล้าง (detergent) ออกให้หมดก่อน มิฉะนั้นน้ำยานี้จะเสื่อมสภาพ Phenolic Compounds มีพิษ ไม่ควรใช้ในหน่วยโภชนาการ ห้องทารกแรกเกิด ห้องผ่าตัด นอกจากนี้ยังไม่ควรใช้กับอุปกรณ์ดมยาสลบ เครื่องช่วยหายใจ และอุปกรณ์ที่ใช้กับทารก เพราะน้ำยาอาจถูกดูดซึม ทำให้ผิวหนังและเยื่อบุเกิดการระคายเคือง บุคคลากรที่ปฏิบัติงาน ควรสวมถุงมืออย่างหนาเมื่อใช้น้ำยาทำลายเชื้อชนิดนี้ Phenolic Compounds ที่มีใช้ในโรงพยาบาลคือ Lysol ซึ่งใช้ในการกำจัดเชื้อจุลชีพในสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล รวมทั้งในห้องปฏิบัติการและใช้สำหรับทำลายเชื้อในอุปกรณ์เครื่องมือประเภท Noncritical items ไม่ควรใช้

Iodophors

รูปภาพ
Iodophors เป็นส่วนผสมระหว่าง iodine และ solubilizing agent ใช้เป็น antiseptic และ disinfectant ที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบันคือ Povidone-iodine หรือ Betadine ซึ่งเป็นส่วนผสมของ Polyvinylpyrolidone และ iodine Iodophors มีส่วนผสมของไอโอดีน แต่ไม่รุนแรงต่อผิวหนังเท่ากับทิงเจอร์ไอโอดีน Iodophors เมื่อผสมกับสารฟอก ล้างจะใช้เป็นน้ำยาสำหรับล้างมือ ซึ่งไม่สามารถทำลายเชื้อบนผิวหนังทั่วไปได้ ในการผสมไอโอดีนเพื่อใช้เป็นน้ำยาทำลายเชื้อระดับกลางหรือระดับสูง ความเข้มข้นของปริมาณไอโอดีนอิสระจะต้องเป็นอย่างน้อย 450 ส่วนใน 1 ล้านส่วน Iodophors ที่ใช้ทำลายเชื้อบนผิวหนัง ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้ในการทำลายเชื้อบริเวณพื้นผิวต่างๆ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เนื่องจากความเข้มข้นแตกต่างกัน Iodophors ที่ใช้เป็น antiseptic จะมีปริมาณ free iodine น้อยกว่าที่ใช้เป็น disinfectant Iodophors

Hydrogen peroxide

รูปภาพ
Hydrogen peroxide เป็นน้ำยาทำลายเชื้อระดับสูงสามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อราได้ เมื่อนำ Hydrogen Peroxide ผสมกับ peracetic acid สามารถทำลายสปอร์ของเชื้อได้ 3% ถึง 6% Hydrogen Peroxide ใช้ทำลายเขื้อใน hydrophilic soft contact lens และอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ การแช่อุปกรณ์ใน 6% hydrogen peroxide นาน 30 นาทีเป็นการทำลายเชื้อแบบ high-level หลังจากแช่อุปกรณ์ในน้ำยานี้แล้ว ควรล้างอุปกรณ์ด้วยวิธีการเดียวกับการล้างอุปกรณ์ที่แช่ใน glutaraldehyde Hydrogen peroxide

Glutaraldehyde

รูปภาพ
Glutaraldehyde หรือ glutaral เป็นน้ำยาทำลายเชื้อระดับสูง ที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อ Pseudomonas เชื้อรา เชื้อไวรัส รวมทั้งเชื้อเอชไอวี และเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และสามารถ ทำลายสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียเมื่อแช่อุปกรณ์ในน้ำยานี้นาน 6-10 ชั่วโมง จึงจัดเป็น chemical sterilant Glutaraldehyde ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน จึงใช้ได้กับโลหะ พลาสติกและยาง ใช้ในการทำลายเชื้อกล้องส่องตรวจอวัยวะภายใน เลนส์ อุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ และอุปกรณ์ดมยาสลบ glutaraldehyde ในรูปสารละลายที่มีความเข้มข้น 2% มีฤทธิ์เป็นกรด เมื่อใช้จะต้องทำให้มีฤทธิ์เป็นด่างโดยเติม activator ซึ่งมีลักษณะเป็นผงหรือเป็นของเหลวลงไป เพื่อให้มี pH อยู่ระหว่าง 7.5-8.5 จึงจะสามารถทำลายสปอร์ได้ และเมื่อผสม activator แล้วจะมีอายุการใช้งาน ระหว่าง 14-28 วัน ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของบริษัทผู้ผลิต เมื่อสารละลายของน้ำยาขุ่นไม่ควรใช้ต่อไป การแช่อุปกรณ์เครื่องมือในสารละลาย glutaraldehyde ที่มีฤทธิ์เป็นด่างที่อุณภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัสได้ภายใน 10 นาที ในการทำลายเชื้อบนอุปกรณ์เครื่องช่วยหา

Formaldehyde

รูปภาพ
Formaldehyde Formaldehyde ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอยู่ในรูปสารละลาย (water-based) เรียกว่า Formalin ซึ่งมีปริมาณ formaldehyde ร้อยละ 37 โดยน้ำหนัก มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย Tuberculosis เชื้อรา เชื้อไวรัส และสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย formaldehyde จัดเป็นสารก่อมะเร็ง การใช้จึงต้องระมัดระวัง ในโรงพยาบาลใช้ในการเตรียมวัคซีน เช่นวัคซีนป้องกันโรคโปลีโอ โรดไข้หวัดใหญ่ ใช้แช่ชิ้นเนื้อ และใช้ในการทำลายเชื้อในเครื่องไตเทียม โดยใช้ความเข้มข้น 4% ในเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

น้ำยาทำลายเชื้อที่ใช้ในโรงพยาบาล_2

รูปภาพ
Chlorine และ Chlorine Compounds สารละลายคลอรีนมีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อจุลชีพสูง แต่ก็มีฤทธิ์กัดกร่อนและไม่ค่อยคงตัว อีกทั้งยังเสื่อมประสิทธิภาพเมื่อสัมผัสกับโปรตีนและอินทรียสารต่างๆ แม้ความเข้มข้นของคลอรีนอิสระ (Free chlorine) จะต่ำ แต่ก็มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อ M.tuberculosis (ที่ความเข้มข้น 50 ppm.) และ vegetative bacteria (ที่ความเข้มข้น <1 ppm.) ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที สารประกอบคลอรีนทุกชนิดสามารถรวมตัวกับออกซิเจนได้ Hypochlorite เป็นสารประกอบคลอรีนที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางในสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข sodium hypochlorite เป็นน้ำยาทำลายเชื้อที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อหลายชนิด (Broad spectrum) แต่การใช้ถูกจำกัดด้วยฤทธิ์ในการกัดกร่อนโลหะ สารละลาย hypochlorite ที่มีปริมาณคลอรีน 25 ppm. สามารถทำลายเชื้อ Mycoplasma mycoides จำนวน 106 ตัวใน 1 มิลลิเมตรได้ในเวลา 15 วินาที แต่ต้องไม่มีอินทรียสารปนเปื้อนอยู่ คลอรีน 200 ppm. สามารถทำลายเชื้อไวรัส 25 ชนิดได้ในเวลา 10 นาที คลอรีนอิสระ 100 ppm. สามารถทำลายเชื้อ Staphylococcus aureus, Salmonella choleraesuis และ Pseudomonas

น้ำยาทำลายเชื้อที่ใช้ในโรงพยาบาล_1

รูปภาพ
Alcohol แอลกอฮอล์ที่ใช้ในโรงพยาบาลมี 2 ชนิดคือ Ethyl alcohol (ethanol) และ Isopropyl alcohol แอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิดเป็นของเหลว ไม่มีสี มีจุดเดือดที่อุณหภูมิ 78.5 และ 82.5 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ระเหยได้ที่อุณหภูมิห้องและไม่มีฤทธิ์ตกค้าง แอลกอฮอล์สามารถผสมกับน้ำได้ และสามารถติดไฟได้ แอลกอฮอล์มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค เชื้อรา และเชื้อไวรัส แต่ไม่สามารถทำลายสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียได้ แอลกอฮอล์จัดเป็นน้ำยาทำลายเชื้อระดับกลาง (Intermediate-level disinfectant) ประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อของแอลกอฮอล์จะลดลงมาก หากความเข้มข้นต่ำกว่า 50% แอลกอฮอล์มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อสูงสุดที่ความเข้มข้นระหว่าง 60-90% โดยปริมาตร ความเข้มข้นที่เหมาะสมของ ethyl alcohol ซึ่งสามารถทำลายเชื้อได้ดีและไม่ก่อให้เกิดความสิ้นเปลือง คือ ความเข้มข้น 70% ซึ่งได้จากการผสมแอลกอฮอล์และน้ำในอัตราส่วน 7:3 โดยปริมาตร สำหรับ isopropyl alcohol ความเข้มข้นที่เหมาะสมคือ 90% ในการทำลายเชื้อไวรัสตับอักเสบบี CDC แนะนำให้แช่อุปกรณ์หรือเครื่องมือลงใน 70% ethyl alcohol นาน 15 นาที สำหรับเชื้อเอชไอวี ใช้เวลา 1 น

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม (READ MORE) >>

แสดงเพิ่มเติม