บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ Wet Pack

ห่อเปียก Wet Packs Wet Sets

รูปภาพ
Wet Packs, Wet Sets ของเปียก คือลักษณะการพบหยดน้ำอยู่ในหรือนอก ซอง (Pouch) ห่อชุด(Set) กล่องอุปกรณ์(Rigid container) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยๆ ทั่วไปที่มีสาเหตุมาจากหลายประการ ค้นคว้าเรียบเรียง: สุวิทย์ แว่นเกตุ ลักษณะที่พบเห็นคือ พบภายหลังการฆ่าเชื้อและมักจะสังเกตเห็นได้เมื่อมีการนำของออกมาจากเครื่องนึ่งหรือเมื่อชุดถูกเปิดใน OR ซึ่งถึงตอนนั้นความชื้นจะเกาะอยู่บนโลหะนานจนเกิดการกัดกร่อนได้ และข้อสำคัญที่สุดคือชุดเซ็ตที่พบจะถือว่าไม่ผ่านการฆ่าเชื้อและไม่สามารถใช้งานได้ [ห่อเปียก Wet pack, Wet set] หลายครั้งที่ปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไขด้วยการเพิ่มระยะเวลาในการทำให้เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อทำให้แห้งนานขึ้นในช่วง Dry time แต่ไม่สารถแก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จทั้งหมดเพราะปัจจัยที่มีส่วนร่วมอาจมีมากกว่านั้นมาก เช่น: ชุด set หนัก ชุด set มีวัสดุพลาสติกหรือซิลิโคนอยู่เป็นจำนวนมาก ชุด set มีลักษณะหรือการเตรียมที่เป็นอุปสรรคต่อการทำให้ปราศจากเชื้อ เกี่ยวกับการจัดการโหลด load หรือบรรจุของ (ของหนักอยู่ด้านล่าง) การโหลดแบบผสม mix load จะทำให้ยากขึ้นกว่าเดิม น้ำหนักรวมของอุปกรณ์ที่นำเข้านึ่งฆ่าเชื้อในห้องนึ่ง คุณ

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา Wet Packs

รูปภาพ
3 สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเรื่อง Wet Packs คือ Wet Packs: เป็นสัญญานบอกถึงสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น Wet Packs: เกิดได้จากหลายสาเหตุ Wet Packs: เป็นช่องทางที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรค

เทคนิค การแยกแยะ สาเหตุ ของการเกิด Wet Pack

รูปภาพ
ทำอย่างไรเราถึงจะแยกแยะสาเหตุของการเกิด wet pack ได้อย่างถูกต้อง  การหาสาเหตุ Wet Pack เมื่อเกิดปัญหา Wet Pack อย่าตกใจ Do not panic  + ตรวจดูใน Chamber ดูร่องรอยการเกิดตะกันรอบๆว่ามีหรือเปล่า มีร่องรอยการไหลของน้ำหรือเปล่า ซึ่งไม่ควรมี มีการเกิดคราบวงกลมๆเกิดขึ้นหรือเปล่า บริเวณนั้นอาจจะมีอุณหภูมิผิดปกติก็ได้ + ควรตรวจสอบเครื่อง ของเราให้เป็นปกติ หากพบปัญหาต้องแก้ไข การตรวจอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งหรือตามคำแนะนำบริษัท + หากมีการเกิด wet pack ควรมีการจดบันทึกตำแหน่งของการเกิดไว้ด้วย ว่าเกิดที่ตำแหน่งไหนบ่อยเป็นพิเศษ เช่นเกิดที่ตำแหน่ง 11 นาฬิกาเป็นประจำ ควรทำเป็น log book ไว้ตรวจสอบ + การเกิด wet pack เป็นปรากฎการณ์แบบ Monday Effect หรือเปล่า หรือว่าเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่คนไหน เวรไหนเป็นประจำหรือเปล่าก่อนนำของเข้าไปอบ + ตรวจสอบให้เป็นไปตามคำแนะนำการใช้ ขนาดของ ห่อ ชนิดของอุปกรณ์ ห่อผ้า หรือ อุปกรณ์ที่เป็นโลหะ วัสดุที่ใช้ในการห่อ (เห็นง่ายๆอย่างนี้แต่ผู้ปฎิบัติงานส่วนมากแล้วทำแบบไม่ได้คิด จะเป็นไปแบบอัตโนมัติ) + เมื่ออบเสร็จแล้ว เราเปิดประตูเครื่องทิ้งไว้นานเกิ

กระบวนการล้างทำความสะอาด มีผลต่อ Wet Load

รูปภาพ
เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ ที่ผ่านกระบวนการ ล้างทำความสะอาด มาแล้วนั้น ควรทำให้แห้งสนิท ก่อนนำมาห่อ เพราะว่า อะไรที่เปียกเข้าไปในเครื่อง ก็จะออกมาเปียกเช่นกัน (Wet in Wet out) เนื่องจากอุปกรณ์ที่เปียก เครื่องจะไม่สามารถทำให้แห้งได้ ถาม: Wet Pack เกี่ยวข้องกับ การล้างทำความสะอาด หรือไม่ อย่างไร ? ตอบ: คำแนะนำ คือ ต้องตรวจสอบดูว่า... โรงพยาบาล ที่มีการนำน้ำยาอื่นๆ มาใช้ร่วมกับ กระบวนการล้างทำความสะอาด ในขั้นตอนการล้าง เพื่อช่วยหล่อลื่น หรือ เคลือบอุปกรณ์ จะต้องเช็ดออก ให้เหลือน้ำยาเคลือบ อยู่ให้น้อยที่สุด หรือ ให้บางที่สุด ควรเป็นน้ำยา ที่มีแรงตึงผิว น้อยกว่าแรงตึงผิว ของน้ำ เพื่อช่วยให้ ไอน้ำ ถ่ายเทความร้อน ไปสู่อุปกรณ์ ให้ได้ดีที่สุด ไม่เช่นนั้น จะทำให้เกิดการ Condensation กลายเป็น Wet Pack ได้ อุปกรณ์ที่เปียกจะมีผลต่อ Wet Pack Wet in Wet out คำสำคัญ: #autoclave, # Wet pack, # Wet load, #washer disinfector, #การทำให้อุปกรณ์แห้ง, #แรงตึงผิว เรื่องที่เกี่ยวข้อง WET PACK  เขียน เรียบเรียง: Suvit Wankate Wet Pack ตอนที่ 1: Steam sterilization Wet Pack ตอนที่ 2: Ste

อะไรคือสาเหตุของ Wet Pack! จะป้องกัน แก้ไขอย่างไร? เกี่ยวข้องกับ Load หรือไม่?

รูปภาพ
Wet Load ที่เกี่ยวข้องกับ Load อาจมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง หรือหลายๆสาเหตุรวมกันจากต่อไปนี้ -ห่ออุปกรณ์ที่ใส่เข้าไปใน Chamber ไอน้ำไม่สามารถแทรกซึมผ่านเข้าไปได้อย่างทั่วถึง -มีการเกิด Superheat ภายในห่ออุปกรณ์ -แผ่นห่อหรือผ้าห่อที่นาห่ออุปกรณ์ชำรุดฉีกขาด -ส่วนสาเหตุอื่นๆก็มาจาก การจัดวางเรียงซ้อนกัน มีการวางเรียงติดผนัง ติดประตู หรือจัดวางเรียงแน่นเกินไป การจัดเรียงอุปกรณ์ เพื่อป้องกัน Wet Pack สาเหตุของการเกิด Wet Load ที่เกี่ยวข้องกับ Tray อุปกรณ์ Tray อุปกรณ์ที่มี filter อยู่แล้ว ไม่ควรห่อทับด้วยผ้าอีกชั้นหนึ่ง ไม่ควรคละ Mix load ที่มีทั้งห่ออุปกรณ์ที่เป็นผ้าและห่อเครื่องมือ เข้าไปในรอบเดียวกัน ถ้ามีความจำเป็นให้วางห่ออุปกรณ์เครื่องมือไว้ด้านล่างและวางห่อผ้าไว้ด้านบน น้ำหนักของห่ออุปกรณ์ ไม่ควรเกิน 8.5 kg และต้องตรวจเช็คให้เป็นไปตามมาตรฐาน อุณหภูมิห้อง   ของที่นำออกมาจากเครื่องอบฆ่าเชื้อ ควรอยู่ในช่วง (25-30 องศา C) เครื่องใช้งานมากี่ปีแล้ว   ที่สำคัญ  เก่าเกินไปแล้วหรือยัง  ไม่ควรใส่ Tray อุปรณ์เข้าไปข้างใน Tray อีกชุดหนึ่ง เพื่อป้องกันไม

การเกิด Wet Pack แบบ พรั่งพรู

รูปภาพ
Wet Load ในแบบที่เรียกว่า Rain in the chamber ปัญหาการเกิดของ ฝนในช่องอบ Rain in the chamber นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร?เกิดจากตัวเครื่องอบฆ่าเชื้อ Autoclave หรือเกิดจากผู้ปฎิบัติงาน? บางครั้งเราอาจจะพบปัญหาของการเกิด Wet Load ในแบบ “ฝนในช่องอบ หรือ Rain in the chamber“ และก็เป็นหนึ่งในหลายๆรูปแบบของการเกิด Wet Load ที่อาจเกิดขึ้นได้ สำหรับสาเหตุของการเกิดสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลักๆต่อไปนี้   การเกิด Wet Pack แบบ Rain in the chamber สาเหตุของการเกิด ฝนในช่องอบ หรือ Rain in the chamber -ความแตกต่างกันของอุณหภูมิระหว่าง Jacket และ Chamber (Jacket คือส่วนของเนื้อโลหะผนังช่องอบ ส่วน Chamber คือ ช่องอบภายใน) อุณหภูมิที่แตกต่างกันทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำเป็นหยดน้ำ Steam condensation เกิดขึ้นกลายเป็นหยดน้ำ -การออกแบบโครงช่องอบ Chamber ที่ไม่สามารถรักษาให้อุณหภูมิคงที่ได้ ไม่สามารถทำให้อุณหภูมิร้อนขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอ  -ส่วนของประดูตู้เครื่องอบฆ่าเชื้อ มีอุณหภูมิที่แตกต่างจากภายใน Chamber และบริเวณตัวผนังของChamber  -มีการจัดวางเรียงห่ออุปกรณ์ ติดกับผนังของ Cham

การแก้ปัญหา Wet Pack ที่เกิดจาก แรงดันในท่อส่งไอน้ำ

รูปภาพ
Steam sterilizer ตัวเครื่องอบฆ่าเชื้อ ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ของการเกิด Wet Pack และปัญหา อย่างหนึ่งก็คือ Superheated steam ถ้าบริษัทผู้ผลิตจำหน่ายให้ความสำคัญและดูแลแก้ไขปัญหา Steam sterilizer มาเป็นอย่างดี รวมถึงการมีบริการหลังการขายที่ดี มีการตรวจสอบตัวเครื่องอบฆ่าเชื้อทุกครั้งที่มีปัญหา ติดตามบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ปัญหา Wet Pack ที่เกิดจากเครื่องก็จะสามารถแก้ไขได้ ระยะห่างระหว่างตัวเครื่องอบฆ่าเชื้อ กับแหล่งกำเนิดไอน้ำมีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดปัญหา Superheated steam ซึ่งตัวทำหน้าที่ควบคุมแรงดันไอน้ำ Reduction Valve มีระยะห่างจากตัวเครื่องมากเกินไป ระยะ  Reduction Valve ระยะที่เหมาะสมของวาวล์ควบคุมแรงดันไอน้ำ Reduction Valve ระยะควรอยู่ที่ไม่เกิน +/- 10 เมตร และความดันในท่อส่งก็ไม่ควรเกิน +/- 3 บาร์ เพราะถ้าแรงดันมีความแตกต่างกว่านั้นเช่นถ้าเป็น +/- 5 บาร์ อาจทำให้เกิดปัญหาการควบแน่นของไอน้ำเป็นหยดน้ำ Steam  Condensation ค้างอยู่ภายใน ถ้าเราสามารถปรับแก้หรือวางระบบให้ระยะทางระหว่างตัวเครื่องอบฆ่าเชื้อ กับแหล่งกำเนิดไอน้ำเหมาะสม โดยทำให้แรงดันมีความคงที่ ทำให้แรงดันไอน้ำ

Steam สาเหตุเบื้องต้น ของปัญหา Wet Pack

รูปภาพ
ไอน้ำ (Steam) ที่ป้อนเข้าสู่  Steam sterilizer เป็นต้นตอของปัญหา Wet Pack โดยตรงอย่างหนึ่ง ที่สามารถป้องกันได้ หากเรามีความเข้าใจ  การป้องกันและแก้ปัญหาการเกิด Wet Pack ก็จะไม่ใช่เรื่องยากจนเกินความสามารถ ลองมาดูกันว่าเป็นอย่างที่เราคิดกันหรือเปล่า... Steam steriizer and Steam generator ส่วนประกอบของเครื่อง Steam sterilizer บริเวณที่ไอน้ำสูญเสียพลังงานความร้อนที่พบบ่อยก็คือระยะทางระหว่างแหล่งกำเนิดไอน้ำ (steam generator) กับห้องอบ (chamber) ที่มีท่อ (pipe lines) เป็นตัวนำส่ง ตัวอย่าง -ท่อส่งไอน้ำไม่สามารถรักษาอุณหภูมิได้คงที่ ทำให้เกิดการควบแน่น (condensation) ภายในท่อ -แหล่งกำเนิดไอน้ำ (steam generator) ควรอยู่ใก้กับห้องอบ (chamber) -แหล่งกำเนิดไอน้ำ (steam generator) มีขนาดไม่เหมาะสมพอที่จะนำไปใช้ได้อย่างพอเพียง ทำให้ความดันลดลงในช่วงที่มีความต้องการใช้สูง เมื่อความดันลดลง ทำให้ไอน้ำเกิดการควบแน่น (condensation) -มีสารเคมีอะไรผสมอยู่ในขณะที่ทำให้เกิดไอน้ำหรือไม่ -บริเวณที่มีน้ำอยู่จะทำให้เกิดการควบแน่น (condensation) ได้เพิ่มขึ้น เรื่องท

Superheated steam, Steam Condensation, Non-Condensable Gases เกี่ยวข้องกับ Wet Pack และเกิดขึ้นได้ อย่างไร?

รูปภาพ
สิ่งต่อไปนี้คือ ปัจจัยการทำงานของเครื่อง ที่ทำให้เกิดปัญหา ในการทำให้ปราศจากเชื้อ Steam Diagram อธิบายการเกิด Superheated steam การเกิดไอน้ำความร้อนสูง Superheated steam Superheated steam คือการเกิดไอน้ำความร้อนสูง น้ำเมื่อทำให้ร้อน ที่  100 o C   น้ำจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอน้ำ เรียกว่า steam ถ้าเราทำให้อุณหภูมิของไอน้ำ “steam” สูงขึ้นอีก จะเกิดเป็น Superheated steam ถ้าลดอุณหภูมิของ Superheated steam ลง ก็จะกลับมาเป็น steam อีกครั้ง การควบแน่นของไอน้ำ Steam Condensation Steam Condensation คือการเกิดการควบแน่นของไอน้ำกลายเป็นหยดน้ำ เกิดจากการถ่ายเทความร้อนที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากภายหลังการถ่ายเทความร้อนของไอน้ำไปยังวัตถุแล้ววัตถุนั้นมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิของไอน้ำ ทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำเกิดขึ้นบนวัตถุนั้น การเกิด Non-Condensable Gases แก๊สที่ไม่ควบแน่น (Non-Condensable Gases) เกิดจากแก๊สที่เจือปนอยู่ในน้ำที่ป้อนเข้าไปในระบบหรือการเสื่อมสภาพของสารเคมีในน้ำที่ป้อนเข้าไปในระบบ และแก๊สไม่สามารถควบแน่นเป็นไอน้ำอิ่มตัวได้ Steam Sterilizers เรื่องที่เกี่ยว

Steam sterilizers, Autoclave และ ไอน้ำอิ่มตัว (Saturated steam) กับ Wet Pack

รูปภาพ
ในการทำให้น้ำ water กลายเป็นไอน้ำ steam  เราต้องทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นๆ จนถึง 100 o C ถือว่าเป็นจุดสูงสุดน้ำจะเดือดและกลายเป็นไอ อุณหภูมิที่ให้เข้าไปหลังจากนี้จะไม่ทำให้น้ำมีอุณภูมิสูงขึ้นได้อีกแต่จะใช้ไปในการรักษาสภาพให้น้ำกลายเป็นไอน้ำเท่านั้น แต่อุณภูมิของไอน้ำเราสามารถจะทำให้สูงขึ้นจนเกิดเป็นไอน้ำอิ่มตัวได้ด้วยการเพิ่มความดันเข้าไปให้ได้อุณหภูมิเท่าที่ต้องการ เราเรียกไอน้ำที่สภาวะที่การอิ่มตัวนี้ว่า Saturated steam ที่สภาวะไอน้ำอิ่มตัว ไอน้ำจะไม่สามารถกลายเป็นไอได้อีกต่อไป ไม่ว่าจะให้พลังงานความร้อนเข้าไปอีกเท่าไร แต่ความร้อนจะถูกสะสมไว้ในตัวมันเอง  ระดับความร้อนที่เราจะสามารถนำไปฆ่าเชื้อได้เช่น อุณหภูมิ 132 o C ความดัน 27 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ระยะเวลาที่ใช้ ( Exposure time) 3-10 นาที โดยการอาศัยไอน้ำอิ่มตัว (Saturated steam) เป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อน (heat transfer) ที่เกิดขึ้นไปยังวัตถุ (objects) ที่ถูกสัมผัสจนกระทั่งมีอุณหภูมิสูงเท่ากัน การถ่ายเทความร้อนจนมีอุณหภูมิเท่ากัน แต่ถ้าวัตถุที่สัมผัสไม่สามารถทำให้มีอุณหภูมิสูงเท่ากันได้ ไอน้ำบริเวณนั้นก็จะเกิดการร

Wet Pack คืออะไร? ..เกิดขึ้นได้อย่างไร?.. และจะแก้อย่างไร?

รูปภาพ
Wet Pack ก็คือ Non-Sterile  หากไม่มีความเข้าใจสาระสำคัญของ We Pack ที่เกิดขึ้น เราจะเห็นการปฎิบัติที่สูญเปล่าตามมาอีกหลายอย่างแล้วแต่ใครจะเข้าใจและคิดได้ตามมาตรฐานของตัวเอง อาจมีการแย้งว่า ก็น้ำมันปราศจากเชื้อนี่นา มันก็ไม่น่าจะเป็นอะไร บ่อยครั้งที่พบว่า ห่ออุปกรณ์ที่เปียกชื้นด้วยหยดน้ำ (Wet Pack) ถูกวางค้างอยู่ในหม้อนึ่ง (Autoclave) ด้วยการเปิดประตูออกค้างไว้ หรือไม่ก็เอาออกมาทำอะไรซักอย่างเพื่อให้แห้ง ไม่ว่าจะเป็นการพยายามเอาพัดลมมาเป่า เอาเครื่องเป่าร้อนมาเป่าให้แห้ง รวมถึงใช้ความพยายามเช็ดด้วยผ้าสะอาด อยากจะให้ลองจินตนาการนึกภาพตามดู…ทันทีที่เครื่องนึ่ง (Autoclave) สิ้นสุดกระบวนการฆ่าเชื้อ เราก็เปิดประตูออก ห่ออุปกรณ์ อุปกรณ์ที่อยู่ในสถาวะที่เต็มไปด้วยไฟฟ้าสถิต (electrostatic charged) ก็พร้อมจะเปิดรับการจู่โจมพุ่งเข้ามาของฝุ่นละออง (dust particle) และจุลินทรีย์ขนาดเล็กในอากาศขณะนั้น…คำถามที่อยากถามก็คือ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าอุปกรณ์เหล่านั้นเปียกชื้น (Wet Pack) มันยังสามารถคงสภาวะปลอดเชื้ออยู่ได้หรือไม่? นี่คือความไม่ปลอดภัย คือความเสี่ยง (Risk) และความเข้าใจผิดว่าอุปกรณ์เหล่า

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม (READ MORE) >>

แสดงเพิ่มเติม