บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ การล้างทำความสะอาด

วิธีการ ทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์

รูปภาพ
 ตอนที่ 9 #การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ #Manual Cleaning, #Mechanical Cleaning, #Ultrasonic Cleaner, #Automatic Washer ........................................................................... การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์  การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์มี 2 วิธีคือ  การทำความสะอาดด้วยมือ (Manual Cleaning) และการทำความสะอาดด้วยเครื่อง (Mechanical Cleaning) แบ่งเป็นเครื่องล้างด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasonic Cleaner) และเครื่องล้างอัตโนมัติ (Automatic Washer) 1. การทำความสะอาดด้วยมือ (Manual Cleaning)  ในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ด้วยมือ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการดังต่อไปนี้ 1.1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดโดยการล้างด้วยมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดคือ แปรงชนิดต่างๆ ควรเลือกลักษณะแปรงให้เหมาะสมกับเครื่องมือแพทย์ที่จะทำความสะอาด ขนแปรงควรมีลักษณะอ่อนนุ่มไม่ทำให้เครื่องมือสึกกร่อนหรือเสียหาย เครื่องมือแพทย์ที่มีลักษณะเป็นท่อกลวง ควรใช้แปรงชนิดที่ผลิตไว้สำหรับทำความสะอาดเครื่องมือนั้นๆ และการทำความสะอาดด้วยมือควรขัดถูเครื่องมือแพทย์ใต้น้ำ หลังเสร็จสิ้นการปฏิบั

การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์

รูปภาพ
ตอนที่ 8 # การเตรียมก่อนทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ ........................................................................... ขั้นตอนการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ หลังจากรับเครื่องมือแพทย์จากหน่วยงานมายังงานจ่ายกลาง บุคลากรควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ให้ครบถ้วน ได้แก่ หมวก แว่นตา ผ้าปิดปากและจมูก เสื้อคลุมแขนยาว ถุงมือยางอย่างหนาไม่ต่ำกว่าข้อศอก รองเท้าหุ้มสั้น และจัดการกับเครื่องมือตามขั้นตอนต่อไปนี้ <อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE)> Pre-Cleaning: การเตรียมก่อนทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ 1.การแยกประเภท/จัดเรียง (Sorting) แยกเครื่องมือแพทย์ให้เป็นหมวดหมู่ ก่อนทำความสะอาด เช่น เครื่องมือประเภทแก้ว เครื่องมือประเภทที่มีความแหลมคม เครื่องมือกลุ่ม Power Instrument หรือเครื่องมือประเภทท่อกลวง สายต่างๆ เป็นต้น เพื่อป้องกันบุคลากรบาดเจ็บ ทั้งป้องกันการเกิดความเสียหายต่อเครื่องมือแพทย์ แยกเครื่องมือแพทย์ที่เปราะบางออกจากเครื่องมือแพทย์อื่นๆ เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้วต้องเช็ดหรือเป่าให้แห้ง เครื่องมือที่เป็นพลาสติกอาจเสียหรือเสื่อมสภาพได้ง่ายจากการสัมผัสกับสารทำความสะอาดที่มีความ

การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์

รูปภาพ
ตอนที่ 5 #การทำให้ปราศจากเชื้อ ........................................................................... การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ (Cleaning of Medical Devices) การทำความสะอาด หมายถึง การขจัดอินทรียสาร สิ่งสกปรก ฝุ่นละอองและสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ออกจากเครื่องมือแพทย์ การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญในกระบวนการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อเครื่องมือแพทย์ที่จะต้องนำกลับมาใช้ซ้ำ การทำความสะอาดควรปฏิบัติในบริเวณที่จัดไว้สำหรับทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์โดยเฉพาะ และผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment, PPE) อย่างถูกต้อง ภาพ: การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ ........................................ ปัจจัยที่มีผลต่อการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลต่อการทำความสะอาดดังนี้ 1.ชนิดของสิ่งที่ปนเปื้อนอยู่บนเครื่องมือแพทย์ (Soil type) เช่น เลือด สารคัดหลั่ง หากแห้งติดบนเครื่องมือแพทย์จะล้างออกได้ยาก 2.ลักษณะเครื่องมือแพทย์ (Medical Device Design) เครื่องมือแพทย์ที่มีซอ

8 วิธีการ ในการตรวจสอบคุณภาพ การล้างทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ ก่อนนำไปทำให้ปราศจากเชื้อ

รูปภาพ
การควบคุมคุณภาพในการล้างทำความสะอาด (Quality control for cleaning) การตรวจสอบคุณภาพ การล้างทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์  1.การตรวจสอบด้วยตาเปล่า (Visual inspection) พื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการตรวจสอบความสะอาดและสภาพความสมบูรณ์ของเครื่องมือคือ การตรวจสอบด้วยตาเปล่า เครื่องมือจะต้องปราศจากคราบสกปรกตกค้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามบริเวณข้อต่อ ตามร่องฟันปลา เดือย และจุดหมุนของเครื่องมือ รวมถึงการตรวจสอบคราบสนิม ร่องรอยการเกิดสนิม รอยร้าว รอยขีดข่วน ที่อาจทำให้การกำจัดคราบสกปรกตกค้างเป็นไปได้ยาก ถ้าเป็นไปได้ ควรใช้ใช้แว่นขยายในการตรวจสอบ เพราะจะช่วยให้มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น 2.การตรวจสอบด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลต (Ultra violet light)      ในการตรวจสอบต้องใช้ร่วมกับชุดตรวจ ที่มีผงและสารละลายที่เป็นตัวช่วยในการมองเห็น ป้ายหรือโรยไปบนเครื่องมือ ถ้าเครื่องมือมีคราบสกปรก จะเกิดการเรืองแสงให้เห็น เป็นชุดตรวจสอบที่สามารใช้ช่วย ในการศึกษาเรียนรู้เรื่องการล้างได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริเวณที่เป็นจุดยากต่อการทำความสะอาดอย่างทั่วถึง ที่อาจจะหลงลืม เช่น ตามบริเวณข้อต่อ ตามร่องฟันปลา เดือย

15 แนวทางการล้างทำความสะอาดอุปกรณ์การแพทย์

รูปภาพ
15 แนวทางปฏิบัติ การทำความสะอาด เครื่องมือ อุปกรณ์ ทางการแพทย์ 1.ควรล้างทำความสะอาด และทำลายเชื้ออุปกรณ์ทันทีหลังการใช้งาน 2.อุปกรณ์ที่ซื้อมาใหม่ ต้องล้างทำความสะอาด ก่อนนำไปทำให้ปราศจากเชื้อก่อนเสมอ 3.ให้ปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานอย่างระมัดระวัง 4.ในการทำความสะอาดต้องปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้ปริมาณของน้ำยา ระยะเวลาการสัมผัส และอุณหภูมิ ที่กำหนดไว้สำหรับการล้างทำความสะอาด และการฆ่าเชื้ออย่างเคร่งครัด 5.ต้องเปิดอ้าอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นข้อพับ บานพับ ออกเสมอ 6.ควรถอดแยกอุปกรณ์ ชิ้นส่วนของอุปกรณ์ออกเสมอ เมื่อต้องล้างทำความสะอาด 7.ควรใช้อุปกรณ์ในการล้างให้เหมาะสมกับเครื่องมือ 8.หลีกเลี่ยงการวางเรียงอุปกรณ์ ที่หนาแน่นเกินไป ในการล้างทำความสะอาดด้วยเครื่องล้างทั่วไป หรือการล้างด้วยเครื่องอุลตร้าโซนิค เพื่อไม่ให้เกิดการทับซ้อน ที่จะทำให้การล้างไม่ทั่วถึงอย่างสมบูรณ์ 9.ไม่ควรใช้ แปรงโลหะ ฝอยขัดที่เป็นโลหะ ในการนำมาขัดล้างเครื่องมือ 10.ล้างน้ำให้ทั่วถึงภายหลังการล้างทำความสะอาด ถ้าเป็นไปได้ ควรใช้น้ำที่ปราศจากการเจือปนของแร่ธาตุ 12.ภายหลังการล้างทำความสะอาดต้องทำให้อุปกรณ์แห้งสนิท 13.

3 สิ่งที่ต้องรู้ ในการทำให้อุปกรณ์การแพทย์ ปราศจากเชื้อโรค

รูปภาพ
เชื้อโรคเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย แล้วเชื้อโรคอยู่ที่ไหนบ้าง? ผู้ปฎิบัติงานอยู่ในหน่วยจ่ายกลาง จะมีวิธีการกำจัดเชื้อโรคอย่างไร? จึงจะทำให้อุปกรณ์การแพทย์ที่ปนเปื้อน ปราศจากเชื้อโรค อย่างแท้จริง! การทำให้ปราศจากเชื้อ อุปกรณ์การแพทย์ 3 สิ่งที่ต้องรู้ ในการทำให้อุปกรณ์การแพทย์ ปราศจากเชื้อโรค มีดังนี้. 1. การเกิดปนเปื้อนเชื้อโรค บนอุปกรณ์การแพทย์ โรงพยาบาลได้ชื่อว่าเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค หรือ เป็นรัง ที่อยู่อาศัยเจริญเติบโตของเชื้อโรค การปนเปื้อนของเชื้อโรคบนอุปกรณ์การแพทย์ อาจมาจากสิ่งแวดล้อม หรือ ตัวผู้ป่วยเอง ที่มีเชื้อโรคอยู่ โดยตัวเจ้าหน้าที่เอง ที่เป็นผู้แพร่เชื้อ ไปยังอุปกรณ์การแพทย์ ที่จะนำไปใช้กับผู้ป่วย ที่อาจจะมาจากการหยิบจับ เชื้อเหล่านี้มาจาก      +ตัวผู้ป่วยเอง      +สิ่งแวดล้อม อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือเครื่องใช้ ในโรงพยาบาล      +เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเอง เป็นผู้แพร่กระจายเชื้อออกไป 2. ผู้ปฎิบัติงาน จะมีวิธีการในการ กำจัดเชื้อโรคอย่างไร? ต้องรู้จักเชื้อโรคก่อนว่า เชื้อโรคแต่ละชนิด มีความทนทานต่อสารเคมี หรือ วิธีการที่นำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโ

วิธีการล้างทำความสะอาด Cleaning

รูปภาพ
ขั้นตอนและวิธีการล้างทำความสะอาด วิธีการล้างทำความสะอาด ด้วยเครื่อง ขั้นแรก : การล้างด้วยน้ำ(เย็น*) ช่วยในการขจัดคราบโปรตีนได้ดีกว่า  Cold water is preferred for cleaning as it will remove most of the protein materials (blood, sputum, etc.) that would be coagulated by heat or disinfectants and would subsequently be difficult to remove.  ขั้นสอง : การใชเอ็นซัยม์ (Enzymatic detergent)  ช่วยให้ขจัดคราบและทำความสะอาดได้ง่ายกว่า ป้องกันการเกิด Biofilms* เกิดขึ้นบริเวรข้อต่อ, บานพับ *Biofilms:A source of infection  Enzymatic detergents Break down organic debris (Biofilms)– fats and proteins Soil suspending properties การเจริญเติบโตของ Biofilms Enzyme break-down proteins Biofilms* are microbial masses that attach to surfaces that are immersed in liquids.  After they have formed, sterilizing/disinfecting agents must penetrate the agent-resisting biofilms before killing microorganisms within the biofilms. ขั้นสาม : การใช้แปรงขัดถู ช่วยให้มีประสิทธิภาพแ

PPE Personal Protective Equipment

รูปภาพ
Personal Protective Equipment อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล PPE 1 PPE2 PPE3

การทำความสะอาด Cleaning

รูปภาพ
การทำความสะอาด Cleaning การล้างทำความสะอาดเครื่องมือทางการแพทย์ การทำความสะอาด (Cleaning) หมายถึง การขจัดอินทรียสาร สิ่งสกปรก ฝุ่นละอองและสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ออกจากอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์และสิ่งแวดล้อม การล้างเป็นขั้นตอนแรกในกระบวนการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อในอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่จะต้องนำกลับมาใช้กับผู้ป่วยอีก การล้างอุปกรณ์ควรทำในบริเวณที่จัดไว้สำหรับล้างอุปกรณ์โดยเฉพาะ และผู้ปฏิบัติจะต้องสวมเครื่องป้องกัน ได้แก่ ถุงมือยางอย่างหนา แว่นตา ผ้าปิดปากและจมูก ผ้ากันเปื้อนพลาสติก รวมทั้งรองเท้าบู๊ท อุปกรณ์ทุกชิ้นที่จะนำไปล้างทำความสะอาด ควรได้รับการตรวจสอบความสึกหรอหรือชำรุด ขณะล้างควรแยกชิ้นของอุปกรณ์ต่างๆ ออกจากกัน เพื่อให้ผิวของอุปกรณ์สัมผัสน้ำที่ผสมสารขัดล้างอย่างทั่วถึง สำหรับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กและมีรอยแยก ควรล้างด้วยเครื่องอุลตร้าโซนิค การล้างทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์อาจทำได้โดยการล้างด้วยมือ (manual washing) หรือล้างด้วยเครื่องล้าง (automatic washers) หลังจากเสร็จสิ้นการล้างทำความสะอาดด้วยสบู่หรือสารขัดล้างแล้ว ควรล้างอุปกรณ์ด้วยน้ำ

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม (READ MORE) >>

แสดงเพิ่มเติม