วิธีการ ทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์
ตอนที่ 9 #การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์
#Manual Cleaning, #Mechanical Cleaning, #Ultrasonic Cleaner, #Automatic Washer
...........................................................................
การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์
การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์มี 2 วิธีคือ การทำความสะอาดด้วยมือ (Manual Cleaning) และการทำความสะอาดด้วยเครื่อง (Mechanical Cleaning) แบ่งเป็นเครื่องล้างด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasonic Cleaner) และเครื่องล้างอัตโนมัติ (Automatic Washer)
1. การทำความสะอาดด้วยมือ (Manual Cleaning)
ในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ด้วยมือ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการดังต่อไปนี้
1.1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดโดยการล้างด้วยมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดคือ แปรงชนิดต่างๆ ควรเลือกลักษณะแปรงให้เหมาะสมกับเครื่องมือแพทย์ที่จะทำความสะอาด ขนแปรงควรมีลักษณะอ่อนนุ่มไม่ทำให้เครื่องมือสึกกร่อนหรือเสียหาย เครื่องมือแพทย์ที่มีลักษณะเป็นท่อกลวง ควรใช้แปรงชนิดที่ผลิตไว้สำหรับทำความสะอาดเครื่องมือนั้นๆ และการทำความสะอาดด้วยมือควรขัดถูเครื่องมือแพทย์ใต้น้ำ หลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานในแต่ละวัน ควรตรวจสอบการชำรุดของแปรงและอุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาดในแต่ละวัน และทิ้งหากจำเป็น ควรทำความสะอาด ทำลายเชื้อและทำให้แห้งเก็บในที่สะอาด
1.2. สารทำความสะอาด ปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต
![]() |
<การทำความสะอาดด้วยมือ (Manual Cleaning)> |
วิธีการทำความสะอาด
1. ขัดถูใต้น้ำด้วยความระมัดระวัง ไม่ขัดถูเครื่องมือแพทย์ขณะเปิดน้ำไหลตลอดเวลา เพราะจะทำให้มีการกระเด็น เกิดการแพร่กระจายเชื้อในบริเวณที่ทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์
2. เครื่องมือที่มีลักษณะเป็นท่อ เช่น สายสวน ท่อต่างๆ รวมทั้งกล้องส่องตรวจอวัยวะภายใน การทำความสะอาดจะต้องทำความสะอาดภายในท่อให้หมด เพราะเลือดหรือสารคัดหลั่งอาจติดอยู่ภายในท่อทำให้ทำความสะอาดได้ยาก จึงควรแช่เครื่องมือแพทย์ประเภทนี้ในสารทำความสะอาดที่ผสมเอนไซม์เพื่อช่วยให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดออกได้ง่ายขึ้น อุปกรณ์ที่มีช่องหรือรูทุกชนิด ควรทำความสะอาดด้วยการใช้ Spray Gun หรือกระบอกฉีดน้ำ ฉีดน้ำเข้าไปจนกระทั่งน้ำที่ไหลผ่านช่องหรือรูออกมาใส อาจใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ช่วยขจัดคราบเลือด หรือสารคัดหลั่งที่ติดอยู่ โดยฉีดน้ำยาเข้าไปในท่อ หากมีคราบเลือดติดอยู่ภายในท่อ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จะทำปฏิกิริยากับเลือด เกิดเป็นฟองอากาศให้เห็น ควรทำความสะอาดจนกระทั่งไม่มีฟองเกิดขึ้น แล้วจึงล้างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ออกให้หมด
3. เครื่องมือแพทย์ชนิดใช้ไฟฟ้า (Powered Instruments) ได้แก่ เลื่อยไฟฟ้า สว่านไฟฟ้า ไม่ควรนำเครื่องมือแพทย์เหล่านี้แช่ในน้ำเกลือ สารทำความสะอาดที่มีภาวะความเป็นกรด ด่าง หรือในน้ำยาทำลายเชื้อ และไม่นำไปล้างในเครื่องอุลตร้าโซนิค ควรศึกษาวิธีการที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ได้แนะนำไว้ หากเครื่องมือมีสายไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบควรตรวจดูสภาพของสายไฟฟ้าด้วยว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ (Powered Instruments) ได้แก่ เลื่อยไฟฟ้า สว่านไฟฟ้า ไม่ควรนำเครื่องมือแพทย์เหล่านี้แช่ในน้ำเกลือ สารทำความสะอาดที่มีภาวะความเป็นกรด ด่าง หรือในน้ำยาทำลายเชื้อ และไม่นำไปล้างในเครื่องอุลตร้าโซนิค ควรศึกษาวิธีการที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ได้แนะนำไว้ หากเครื่องมือมีสายไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบ ควรตรวจดูสภาพของสายไฟฟ้าด้วยว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่
2.การทำความสะอาดด้วยเครื่องล้างด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasonic Cleaner)
เป็นการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์โดยใช้คลื่นเสียงที่มีความถี่สูง คลื่นเสียงจะทำให้เกิดฟองอากาศเล็กๆ และเมื่อฟองอากาศเหล่านี้แตกออก จะไปกระแทกกับสิ่งสกปรกที่ติดอยู่บนเครื่องมือแพทย์ ช่วยให้สิ่งสกปรกเล็กๆ หลุดออกได้ เหมาะสำหรับการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ที่มีขนาดเล็ก เป็นท่อ เป็นสาย เครื่องมือเปราะบาง รวมทั้งเครื่องมือที่มีความซับซ้อนที่ทำความสะอาดได้ยาก ผู้ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการดังต่อไปนี้
![]() |
<การทำความสะอาดด้วยเครื่องล้างด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasonic Cleaner)> |
1. เตรียมความพร้อมของเครื่อง
1.1. ก่อนใช้เครื่องอัลตร้าโซนิกต้องกำจัดฟองอากาศ (Degassing) ที่อยู่ในน้ำออก โดยปฏิบัติตามคู่มือของบริษัทผู้ผลิต
1.2. ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งอาจจะใช้แบบสำเร็จรูป หรือ Aluminum Foil Test
1.3. สารทำความสะอาดที่ใช้กับเครื่องควรเป็นชนิดฟองน้อย และเข้ากันได้กับเครื่องมือแพทย์ (Compatible) ใช้ความเข้มข้นและอุณหภูมิตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต
2. วิธีทำความสะอาด
2.1. นำเครื่องมือแพทย์ที่ผ่านกระบวนการขจัดคราบเบื้องต้นแล้ว (Pre-rinse and Soaking) กางเครื่องมือออก และจัดเรียงลงในตะแกรงเฉพาะสำหรับใช้กับเครื่องล้างด้วยคลื่นความถี่สูง หรือตะแกรงที่ผู้ผลิตแนะนำว่าสามารถใช้ได้ โดยไม่ซ้อนทับกันมาก เนื่องจากคลื่นความถี่จะไม่สามารถเข้าได้ทั่วถึง
2.2. ปิดฝาเครื่องตลอดเวลาขณะใช้งาน เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายและการระคายเคืองหูจากคลื่นเสียง
2.3. เมื่อสิ้นสุดกระบวนการล้างด้วยเครื่องแล้ว ต้องล้างเครื่องมือแพทย์ด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง หรือตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต (IFU)
2.4. เปลี่ยนน้ำในเครื่องตามความถี่การใช้งาน (ปฏิบัติตาม IFU)
2.5. เครื่องมือผ่าตัดที่มีขนาดเล็ก เปราะบาง ชำรุดง่าย ควรทำความสะอาดด้วยมือ และตรวจสอบดูว่าไม่มีคราบสิ่งสกปรกติดอยู่ อาจทำความสะอาดโดยใช้เครื่องอุลตร้าโซนิค หากบริษัทผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ชนิดนั้นแนะนำว่าสามารถใช้ได้
2.6. ห้ามนำเครื่องมือแพทย์ที่ทำด้วย ยาง เลนส์ หรือ Polyvinyl Chloride (PVC) เข้าเครื่อง เนื่องจากวัสดุจะดูดซับคลื่นเสียง หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต
3.การทำความสะอาดด้วยเครื่องล้างอัตโนมัติ (Automatic Washer)
เครื่องล้างอัตโนมัติ สามารถล้างเครื่องมือแพทย์ได้หลากหลาย และต้องมีส่วนประกอบในการล้างแต่ละชนิดแตกต่างกันไป เช่น ชุดสำหรับล้างเครื่องมือแพทย์ประเภทสายยาง ชุดสำหรับล้างเครื่องมือแพทย์ประเภทเครื่องแก้ว สามารถเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับประเภทของเครื่องมือนั้นๆ ขั้นตอนในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ประกอบด้วย การทำความสะอาดและการผ่านเครื่องมือแพทย์ในน้ำที่มีอุณหภูมิค่อนข้างสูง ประโยชน์ที่สำคัญของเครื่องล้างอัตโนมัติคือ ขณะทำการล้างผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องสัมผัสกับเครื่องมือแพทย์ด้วยมือ เหมาะกับการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ที่ไม่มีข้อห้าม (ตาม IFU) ยกเว้น เลนส์ กระจก (Mirror)
![]() |
<การทำความสะอาดด้วยเครื่องล้างอัตโนมัติ (Automatic Washer) > |
สิ่งที่ช่วยให้การล้างด้วยเครื่องล้างอัตโนมัติมีประสิทธิภาพคือ ความแรงของน้ำที่ฉีดจากเครื่องล้างอัตโนมัติ ผู้ปฏิบัติงานควรตรวจไม่ให้มีการอุดตันของแขนฉีดน้ำและศึกษาข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิต
ผู้ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการดังต่อไปนี้
1. การเตรียมความพร้อมของเครื่อง
1.1 ตรวจสอบแขนฉีดน้ำ (Spray Arm) และสายส่งสารทำความสะอาด ไม่ให้มีการอุดตัน
1.2 เลือกโปรแกรมการล้างให้เหมาะสมกับเครื่องมือแพทย์ โดยศึกษากระบวนการทำความสะอาดของบริษัทผู้ผลิต
1.3 ตรวจสอบความพร้อมและประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องล้างอัตโนมัติ ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ทุกวันก่อนเริ่มทำการใช้งาน
2. สารทำความสะอาดที่ใช้ต้องเข้าได้กับเครื่องมือแพทย์และเครื่องล้าง โดยศึกษาจากคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตเครื่องล้าง สารคำความสะอาด และเครื่องมือแพทย์
3. วิธีทำความสะอาด
3.1นำเครื่องมือแพทย์ที่ผ่านกระบวนการขจัดคราบเบื้องต้นแล้ว (Pre-Rinse and Soaking) เครื่องมือแพทย์ประเภทที่มีข้อต่อ และจัดเรียงในตะแกรงหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเหมาะสมกับลักษณะเครื่องมือแพทย์ เพื่อให้น้ำและสารทำความสะอาดสามารถสัมผัสกับเครื่องมือแพทย์ได้ทั่วถึง
3.2ทำความสะอาดเครื่องตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต (IFU)
...........................................................................
ตอนที่ 1 นิยามศัพท์: หลักการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ
ตอนที่ 2 หลักการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ
ตอนที่ 3 การทำให้ปราศจากเชื้อ วิธีการทางกายภาพ (Physical Method)
ตอนที่ 4 การทำให้ปราศจากเชื้อ วิธีการทางเคมี (Chemical Method)
ตอนที่ 5 การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ (Cleaning of Medical Devices)
ตอนที่ 6 การเลือกใช้สารทำความสะอาด (Detergent)
ตอนที่ 8 การเตรียมก่อนทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์
...........................................................................
- https://www.cssd-gotoknow.org/
- https://www.angelicteam.com/