บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ คุณภาพน้ำ(Water quality)

คุณภาพน้ำและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์

รูปภาพ
คุณภาพน้ำและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ ต่อไปนี้คือตัวอย่างของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ หากคุณภาพน้ำที่ใช้ในกระบวนการ Medical Device Reprocessing ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน พร้อมทั้งสาเหตุและแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ: 1. เครื่องมือผ่าตัดทั่วไป (Surgical Instruments) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น: การเกิดคราบหรือจุดสีขาวบนเครื่องมือ เครื่องมือเกิดการกัดกร่อน (Corrosion) หรือเป็นสนิม สาเหตุ: น้ำที่มีความกระด้างสูงหรือมีแร่ธาตุ (แคลเซียม, แมกนีเซียม) สูงเกินมาตรฐาน คลอไรด์ในน้ำที่สูงทำให้เกิดการกัดกร่อนและสนิม แนวทางการแก้ไข: ปรับปรุงระบบกรองน้ำให้มีประสิทธิภาพ (เช่น ใช้ระบบ Reverse Osmosis) ตรวจสอบและควบคุมความกระด้างและคลอไรด์ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน TIR34 อย่างสม่ำเสมอ ใช้น้ำ Critical water ในขั้นตอนการล้างสุดท้ายก่อนอบฆ่าเชื้อ 2. เครื่องมือที่มีลักษณะเป็นท่อกลวง (Lumened Instruments เช่น กล้องผ่าตัด, Endoscope) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น: เกิด Biofilm หรือการสะสมของแบคทีเรียภายในช่องท่อที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ตกค้างของสารเคมีหรือคราบ...

มาตรฐานความถี่ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำตาม AAMI TIR34

รูปภาพ
มาตรฐานความถี่ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำตาม AAMI TIR34 นอกเหนือจากการกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับกระบวนการ Medical Device Reprocessing แล้ว รายงานทางเทคนิค AAMI TIR34 ยังได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับความถี่ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำสำหรับแต่ละขั้นตอนของกระบวนการ เพื่อให้สามารถรักษาคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้อย่างต่อเนคื่อง โดยสามารถสรุปความถี่ในการตรวจสอบได้ดังนี้: 1. การตรวจสอบคุณภาพน้ำ Utility Water น้ำประเภทนี้ใช้สำหรับขั้นตอนการล้างเบื้องต้น และขั้นตอนการล้างทั่วไปที่ไม่ใช่ขั้นสุดท้ายของการล้างอุปกรณ์ โดยแนะนำให้ตรวจสอบค่าคุณภาพน้ำด้วยความถี่ดังนี้: ค่า pH, ความกระด้าง (Hardness), ค่าคลอรีนอิสระ (Free Chlorine), คลอไรด์ (Chloride), และซิลิกา (Silica) ตรวจสอบทุกไตรมาส (ทุกๆ 3 เดือน) หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบน้ำ, ระบบกรองน้ำ, หรือมีการซ่อมแซมบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบปริมาณแบคทีเรียรวม (Total Viable Bacteria) ตรวจสอบทุกเดือน (Monthly) หรือเมื่อพบเหตุการณ์ที่อาจมีการปนเปื้อนของระบบน้ำ เช่น การซ่อมแซม หรือหลังจากที่ระบบน้ำหยุดการใช้งานชั่วคราว 2. การตรวจสอบคุณภาพน้ำ Critical W...

มาตรฐานค่าคุณภาพน้ำสำหรับกระบวนการ Medical Device Reprocessing

รูปภาพ
มาตรฐานค่าคุณภาพน้ำสำหรับกระบวนการ Medical Device Reprocessing  ตามมาตรฐาน AAMI TIR34 (Technical Information Report 34) มีความสำคัญอย่างมากในการรักษาประสิทธิภาพการทำความสะอาดและการทำให้ปราศจากเชื้อเครื่องมือแพทย์ โดยสามารถสรุปเกณฑ์คุณภาพน้ำที่เหมาะสมในการใช้งาน ดังนี้: มาตรฐานน้ำแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักตาม AAMI TIR34: 1. Utility Water (น้ำสำหรับการใช้งานทั่วไป) น้ำประเภทนี้ใช้ในขั้นตอนล้างเบื้องต้น (Pre-cleaning) หรือกระบวนการล้างทั่วไป (General cleaning) โดยมีค่าคุณภาพน้ำที่ต้องควบคุมดังนี้: ค่า pH: 6.0 – 9.0 ความกระด้าง (Hardness): ไม่เกิน 150 mg/L CaCO₃ ปริมาณคลอรีนอิสระ (Free Chlorine): ไม่เกิน 0.5 mg/L คลอไรด์ (Chloride): ไม่เกิน 250 mg/L ซิลิกา (Silica): ไม่เกิน 10 mg/L ปริมาณแบคทีเรียรวม (Total viable bacteria): ไม่เกิน 500 CFU/mL Endotoxin: ไม่ระบุเกณฑ์ แต่ควรควบคุมให้น้อยที่สุด 2. Critical Water (น้ำสำหรับขั้นตอนสำคัญ) น้ำชนิดนี้ใช้ในขั้นตอนสำคัญ เช่น การล้างขั้นสุดท้าย (Final rinse) หรือขั้นตอนก่อนการทำให้ปราศจากเชื้อ โดยมีมาตรฐานคุณภาพที่เข้มงวดมากขึ้น ดังนี้: ค่า pH: 5.0 –...

คุณสมบัติของน้ำ (Water quality) (ตอนที่ 1)ในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้ออุปกรณ์การแพทย์

รูปภาพ
คุณสมบัติของน้ำ เพื่อการนำไปใช้งานในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้ออุปกรณ์การแพทย์ คุณภาพน้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อในหน่วยจ่ายกลางของโรงพยาบาล น้ำที่ใช้ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานเฉพาะเพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิผลของกระบวนการทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออุปกรณ์การแพทย์ ค้นคว้าเรียบเรียง: สุวิทย์ แว่นเกตุ เนื่องจากสารปนเปื้อนในน้ำอาจส่งผลเสียต่อความปลอดภัยของอุปกรณ์การแพทย์และสุขภาพของผู้ป่วย โดยพารามิเตอร์ทั่วไปในการตรวจสอบคุณภาพน้ำสำหรับกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ได้แก่  ความกระด้าง สภาพการนำไฟฟ้า  ระดับ pH  ปริมาณคลอไรด์ การปนเปื้อนของจุลินทรีย์  ระดับเอนโดทอกซิน  [Recomended of water quality for medical device reprocessing] ข้อกำหนดด้านคุณภาพน้ำสำหรับกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์มีอะไรบ้าง ข้อกำหนดเรื่องหมวดหมู่ของน้ำเพื่อความเหมาะสมในการนำไปใช้กับเครื่องมือแต่ละกลุ่มแบ่งกลุ่มออกเป็น A.น้ำใช้ทั่วไป Utility water: อาจเป็นน้ำที่มาจากระบบน้ำประปาหรือน้ำ tap water สามารถนำไปใช้ในกระบวนการล้างทั่วไป (Flushing/Washing/Rin...

คุณสมบัติของน้ำ (Water Quality) (ตอนที่ 2) ความแตกต่างระหว่างค่าน้ำ TDS และ ค่า Hardness

รูปภาพ
ค่า TDS & Hardness water ต่อคำถามที่ว่า การวัดค่า TDS ของน้ำสามารถใช้เป็นค่าบอกความกระด้าง (Hardness) หรือบอกความเป็น น้ำอ่อน Soft water ได้หรือไม่ ค้นคว้าเรียบเรียง: สุวิทย์ แว่นเกตุ ในหน่วยจ่ายกลางปัญหาอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญ และสร้างผลกระทบแบบคาดไม่ถึงก็คือการใช้น้ำที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน เนื่องจากกระบวนการล้างทำความสะอาดและทำให้ปราศจากเชื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต้องใช้น้ำที่มีคุณภาพตามที่กำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพในการล้างทำความสะอาดที่ลดลง คุณภาพของไอน้ำหรือ Steam quality ที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน เหล่านี้สามารถส่งผลกระทบถึงคุณภาพในการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยและอาจรวมถึงการสร้างความชำรุดเสียหายของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ลองมาดูกันว่าเราวัดค่า TDS กันทำไม [ภาพ: คุณสมบัติของน้ำสำหรับการใช้งาน ในการล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ [1]] ค่า TDS คือ การวัดค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดในน้ำ ย่อมาจาก Total dissolved solids หมายถึงปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดซึ่งคือการวัดปริมาณรว...

คุณภาพน้ำ (Water quality) กับกระบวนการล้างทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์

รูปภาพ
คุณภาพน้ำ (Water quality) ตอนที่ 9 สรุป ลักษณะต่างๆ ที่พบจากปัญหาคุณภาพน้ำ ระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ให้พิจารณาแนวทางเพื่อการแก้ไขต่อไปนี้: ตรวจสอบอุปกรณ์ที่สังเกตได้ และใช้ตาราง เป็นแนวทางในการหาสาเหตุ ตรวจสอบขั้นตอนทั้งหมดระหว่างกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ดำเนินขั้นตอนที่เหมาะสมทั้งหมดในกระบวนการขจัดสิ่งปนเปื้อนและการฆ่าเชื้อ/ทำให้ปราศจากเชื้อ ค้นหาเบาะแสความเสียหายของอุปกรณ์ ตัวอย่างมีดังต่อไปนี้: ปล่อยให้คราบสกปรกบนอุปกรณ์แห้งกรังระหว่างการขนส่ง การใช้น้ำเกลือหรือคลอรีนเพื่อทำความสะอาดก่อนหน้าหรือการขนส่งอุปกรณ์ (ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายและเกิดสนิม) การใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้องในการขนส่ง ทำความสะอาด หรือบำรุงรักษา การเกิดสนิม คราบเขม่า การเปลี่ยนสี และข้อบกพร่องอื่นๆ ในห้องเครื่องล้าง-ฆ่าเชื้อหรือเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อ ความเสียหายที่เห็นก่อนทำความสะอาด หลังการปนเปื้อน หรือหลังบรรจุภัณฑ์/การฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ ความเสียหายเฉพาะกับบางอุปกรณ์หรือทุกอุปกรณ์ ความถี่ของปัญหาที่สังเกตได้ (ตลอดเวลา หรือตามคุณภาพน้ำทั่วไป เป็นระยะๆ)คือ ...

คุณภาพน้ำ (Water quality) กับกระบวนการล้างทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์

รูปภาพ
คุณภาพน้ำ (Water quality) ตอนที่ 2 ลักษณะต่างๆ ที่พบจากปัญหาคุณภาพน้ำ ระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing น้ำคุณภาพต่ำสามารถนำไปสู่ปัญหาได้หลายอย่างระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing ดังตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ต่อไปนี้ ลักษณะที่พบ  (ภาพ2 ผิวของเครื่องมือมีความเสียหายรวมถึง ถูกกัดกร่อน หลุม สนิม รอยแตก) ผิวของเครื่องมือมีความเสียหายรวมถึง ถูกกัดกร่อน หลุม สนิม รอยแตก สาเหตุของปัญหา คุณสมบัติของวัสดุ เกิดความเสียหายจากการใช้งาน คราบสกปรกถูกปล่อยให้แห้งกรังก่อนจะถูกนำมาล้างทำความสะอาดสัมผัสกับสารเคมี (น้ำเกลือ คลอรีน ไอโอดีน และแม้กระทั่งเคมีทำความสะอาดบางชนิด เช่น เคมีที่เป็นกรดต่ำหรือเป็นด่างสูง) น้ำที่มีส่วนผสมของ คลอรีน (โดยเฉพาะเมื่อถูกทำให้ร้อน) หรือค่า pH ของน้ำ คำแนะนำในการแก้ปัญหา ซ่อมแซม หรือทิ้ง ทบทวนวิธีจัดการให้เหมาะสมระหว่างการใช้งาน และในการทำความสะอาด ตรวจสอบคุณภาพน้ำ (โดยเฉพาะค่า pH คลอรีน และซิลิเกต)  ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยในการแก้ปัญหา อ้างอิง: AAMI TIR34:2014 https://www.cssd-gotoknow.org/ https://www.angelicteam.com/ [Angelicteam – De...

คุณภาพน้ำ (Water quality) กับกระบวนการล้างทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์

รูปภาพ
คุณภาพน้ำ (Water quality) ตอนที่ 8 ลักษณะต่างๆ ที่พบจากปัญหาคุณภาพน้ำ ระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing น้ำคุณภาพต่ำสามารถนำไปสู่ปัญหาได้หลายอย่างระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing ดังตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ต่อไปนี้ ลักษณะที่พบ (ภาพ คราบหินปูนสีขาวจับตัวเป็นก้อนในท่อส่งน้ำและวาล์วของเครื่องล้างอัตโนมัติ กีดขวางทางน้ำเข้า ตะกอนเหล่านี้จึงก่อตัวขึ้นและอาจสะสมตกค้างในอุปกรณ์ทางการแพทย์และสามารถหลุดออกระหว่างการใช้งานและตกค้างในผู้ป่วยได้) คราบหินปูนสีขาวจับตัวเป็นก้อนในท่อส่งน้ำและวาล์ว สาเหตุของปัญหา วาล์วและท่อน้ำอุดตันจากการสะสมของแร่ธาตุในน้ำ แร่ธาตุในน้ำที่เกาะอยู่บนผิวของสายน้ำ ปริมาณน้ำที่มีแร่ธาตุสูง ทำให้เกิดการสะสมของแร่ธาตุ คำแนะนำในการแก้ปัญหา ปฏิบัติตาม IFU ของผู้ผลิตอุปกรณ์ หากต้องการคุณภาพน้ำที่เจาะจง ให้ทำการวิเคราะห์น้ำเพื่อให้แน่ใจว่ามีคุณภาพน้ำที่ถูกต้อง อ้างอิง: AAMI TIR34:2014 https://www.cssd-gotoknow.org/ https://www.angelicteam.com/ [Angelicteam – Design Healthcare Solutions โซลูชันด้านสุขภาพ – นิยามใหม่ของความเป็นเลิศด้านงานปลอดเชื้อ]   ...

คุณภาพน้ำ (Water quality) กับกระบวนการล้างทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์

รูปภาพ
คุณภาพน้ำ (Water quality) ตอนที่ 7 ลักษณะต่างๆ ที่พบจากปัญหาคุณภาพน้ำ ระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing น้ำคุณภาพต่ำสามารถนำไปสู่ปัญหาได้หลายอย่างระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing ดังตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ต่อไปนี้ ลักษณะที่พบ (ภาพ เกิดคราบ ไบโอฟิล์ม ตกค้าง) เกิดคราบ ไบโอฟิล์ม ตกค้างในเครื่องล้างอัตโนมัติ สาเหตุของปัญหา คราบสไลม์เมื่อเวลาผ่านไป มักปรากฏเป็นสีต่างๆ (ตัวอย่างแสดงเป็นสีแดง) การบำรุงรักษาเครื่องมือ/อุปกรณ์ไม่ได้ผล ไบโอฟิล์ม การเจริญเติบโตของแบคทีเรียเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากที่จะกำจัดและไม่ให้เกิด การสัมผัสที่ไม่เพียงพอ (ระหว่างการทำความสะอาด/ ฆ่าเชื้อโรค) และการระบายน้ำไม่ดี (น้ำขัง) คำแนะนำในการแก้ปัญหา ตรวจสอบการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ โดยเฉพาะเมื่อใช้งานหรือต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ตรวจสอบการบำบัดน้ำที่ใช้สำหรับการล้างอุปกรณ์ขั้นสุดท้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการฆ่าเชื้อ อ้างอิง: AAMI TIR34:2014 https://www.cssd-gotoknow.org/ https://www.angelicteam.com/ [Angelicteam – Design Healthcare Solutions โซลูชันด้านสุขภาพ – นิยามใหม่ขอ...

คุณภาพน้ำ (Water quality) กับกระบวนการล้างทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์

รูปภาพ
คุณภาพน้ำ (Water quality) ตอนที่ 5 ลักษณะต่างๆ ที่พบจากปัญหาคุณภาพน้ำ ระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing น้ำคุณภาพต่ำสามารถนำไปสู่ปัญหาได้หลายอย่างระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing ดังตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ต่อไปนี้ ลักษณะที่พบ (ภาพ การเกิดสีดำหรือสีม่วง) การเกิดสีดำหรือสีม่วง บนเครื่องมือแพทย์ สาเหตุของปัญหา สังเกตได้ทั่วไปหลังจากการฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ เกิดจากค่า pH สูงหรือต่ำที่ตกค้างอยู่ในอุปกรณ์หลังการทำความสะอาด อาจมาจากคุณภาพของน้ำที่มีการชะล้างไม่เพียงพอ (หรือการทำให้เป็นกลาง) ด้วยสารเคมีทำความสะอาดที่เป็นกรดต่ำหรือเป็นด่างสูง คำแนะนำในการแก้ปัญหา ตรวจสอบกระบวนการทำความสะอาดอุปกรณ์ (รวมถึงกระบวนการของเครื่องล้างอัตโนมัติ) ตรวจสอบค่า pH ของน้ำล้างขั้นสุดท้าย ตรวจสอบคุณภาพน้ำ  ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยในการแก้ปัญหา อ้างอิง: AAMI TIR34:2014 https://www.cssd-gotoknow.org/ https://www.angelicteam.com/ [Angelicteam – Design Healthcare Solutions โซลูชันด้านสุขภาพ – นิยามใหม่ของความเป็นเลิศด้านงานปลอดเชื้อ]               ...

คุณภาพน้ำ (Water quality) กับกระบวนการล้างทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์

รูปภาพ
คุณภาพน้ำ (Water quality) ตอนที่ 3 ลักษณะต่างๆ ที่พบจากปัญหาคุณภาพน้ำ ระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing น้ำคุณภาพต่ำสามารถนำไปสู่ปัญหาได้หลายอย่างระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing ดังตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ต่อไปนี้ ลักษณะที่พบ (ภาพ สีหายไป) ลักษณะของ สีบนกล่องที่หายไป สาเหตุของปัญหา เกิดการฟอกสีเมื่อเวลาผ่านไปโดยเฉพาะกับอลูมิเนียมชุบสี น้ำคลอรีน (โดยเฉพาะเมื่อถูกความร้อน) หรือน้ำ pH สูง/ต่ำ การใช้เคมีทำความสะอาดบางชนิด (เช่น เคมีที่เป็นกรดต่ำหรือเป็นด่างสูง) หรือสารฟอกขาว (สารละลายคลอรีน) ในบางกรณีเกิดจากการใช้น้ำ RO คำแนะนำในการแก้ปัญหา ทบทวนวิธีจัดการให้เหมาะสมระหว่างการใช้งาน และในการทำความสะอาด ตรวจสอบคุณภาพน้ำ (โดยเฉพาะค่า pH คลอรีน และซิลิเกต)  ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยในการแก้ปัญหา อ้างอิง: AAMI TIR34:2014 https://www.cssd-gotoknow.org/ https://www.angelicteam.com/ [Angelicteam – Design Healthcare Solutions โซลูชันด้านสุขภาพ – นิยามใหม่ของความเป็นเลิศด้านงานปลอดเชื้อ]                       ...

คุณภาพน้ำ (Water quality) กับกระบวนการล้างทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์

รูปภาพ
คุณภาพน้ำ (Water quality) ตอนที่ 6 ลักษณะต่างๆ ที่พบจากปัญหาคุณภาพน้ำ ระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing น้ำคุณภาพต่ำสามารถนำไปสู่ปัญหาได้หลายอย่างระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing ดังตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ต่อไปนี้ ลักษณะที่พบ (ภาพ มีจุดหรือคราบสีขาวเป็นชอล์ก (อาจเกิดร่วมกับสีอื่นเช่นสีเขียวหรือสีแดง)) มีจุดหรือคราบสีขาวเป็นชอล์ก (อาจเกิดร่วมกับสีอื่นเช่นสีเขียวหรือสีแดง) สาเหตุของปัญหา ความกระด้างของน้ำ สังเกตได้หลังจากการอบแห้งหรือการฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ สะสมบนพื้นผิวเมื่อเวลาผ่านไป ผสมกับสารปนเปื้อนเคมีอื่นๆ (เช่น ทองแดงและเหล็ก) เพื่อให้ได้สีที่ต่างกัน •เคมีภัณฑ์ในการทำความสะอาดบางชนิดสามารถลดผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างมากในระหว่างกระบวนการทำความสะอาด สารเคมีตกค้างอื่นๆ (เช่น ตกค้างจากการล้างเคมีทำความสะอาดไม่เพียงพอ สารปนเปื้อนในน้ำอื่นๆ เช่น ซิลิกอนออกไซด์) คำแนะนำในการแก้ปัญหา ตรวจสอบคุณภาพน้ำ  ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยในการแก้ปัญหา พิจารณาการใช้สารเคมีทำความสะอาดที่สามารถทนต่อระดับความกระด้างสูง และการใช้น้ำยาปรับสภาพน้ำเพื่อลดระดับความกระด้าง อ้างอิง: AA...

คุณภาพน้ำ (Water quality) กับกระบวนการล้างทำความสะอาดเครื่องมือแพทย

รูปภาพ
คุณภาพน้ำ (Water quality) ตอนที่ 4 ลักษณะต่างๆ ที่พบจากปัญหาคุณภาพน้ำ ระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing น้ำคุณภาพต่ำสามารถนำไปสู่ปัญหาได้หลายอย่างระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing ดังตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ต่อไปนี้ ลักษณะที่พบ (ภาพ การเปลี่ยนเป็นสี น้ำตาลทอง, การเปลี่ยนเป็นสี ส้ม น้ำตาล, การเกิดสีหลายสี ('รุ้ง')) การเปลี่ยนเป็นสี น้ำตาลทอง การเปลี่ยนเป็นสี ส้ม น้ำตาล การเกิดสีหลายสี ('รุ้ง') สาเหตุของปัญหา ความร้อนที่มากเกินไปกับพื้นผิวเหล็กกล้าไร้สนิม รวมกับคราบน้ำต่างๆ: เกิดคราบของโครเมียมออกไซด์สังเกตเห็นเป็นคราบ "สีรุ้ง" เมื่อเวลาผ่านไป (และอาจรวมถึงสีน้ำตาลอมน้ำเงินต่างๆ จากทองแดงและเหล็กที่มีอยู่) ชั้นของฟอสเฟตที่เกิดบนพื้นผิว (จากคุณภาพน้ำที่ไม่ดีและแม้แต่สารเคมีทำความสะอาดที่มีฟอสเฟตบางตัวที่ไม่ได้ล้างอย่างถูกต้อง) มักเห็นเป็นสีน้ำตาลอมส้ม การตกค้างของไอโอดีน (ใช้ผิดวิธีในการทำความสะอาด ณ จุดใช้งาน) คำแนะนำในการแก้ปัญหา ทบทวนวิธีจัดการให้เหมาะสมระหว่างการใช้งาน และในการทำความสะอาด ตรวจสอบคุณภาพน้ำ  ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยในก...

คุณภาพน้ำ (Water quality) กับกระบวนการล้างทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์

รูปภาพ
คุณภาพน้ำ (Water quality) ตอนที่ 1 ลักษณะต่างๆ ที่พบจากปัญหาคุณภาพน้ำ ระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing น้ำคุณภาพต่ำสามารถนำไปสู่ปัญหาได้หลายอย่างระหว่างกระบวนการ Medical devices reprocessing ดังตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ต่อไปนี้ ลักษณะที่พบ (ภาพ1 คราบบนเครื่องมือ) คราบบนเครื่องมือ สาเหตุของปัญหา คราบสกปรกถูกปล่อยให้แห้งกรังก่อนจะถูกนำมาล้างทำความสะอาด การล้างไม่มีประสิทธิภาพ จากปัญหาคุณภาพน้ำและสารล้าง ล้างทำความสะอาดได้ยาก (เช่น ไม่แยกชิ้นส่วน การจัดวางในเครื่องล้างไม่เหมาะสม)  คำแนะนำในการแก้ปัญหา ทบทวนวิธีจัดการให้เหมาะสมระหว่างการใช้งาน และในการทำความสะอาด ตรวจสอบความถูกต้องของสารล้างว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมกับคุณภาพของน้ำ ตรวจสอบคุณภาพน้ำ (ความกระด้าง)  ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยในการแก้ปัญหา อ้างอิง: AAMI TIR34:2014 https://www.cssd-gotoknow.org/ https://www.angelicteam.com/ [Angelicteam – Design Healthcare Solutions โซลูชันด้านสุขภาพ – นิยามใหม่ของความเป็นเลิศด้านงานปลอดเชื้อ]                         ...

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม ตามหมวดหมู่เนื้อหา >>

แสดงเพิ่มเติม