◉ คู่มือ Sterilization & Disinfection
มาตรฐานการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ
- ในงานทำให้ปราศจากเชื้อหรือ ทำให้ปลอดเชื้อ เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์การแพทย์ มีศัพท์เทคนิคผสมอยู่มาก บางครั้งมีการใช้พูดแบบทับศัพท์ เข้าใจแล้วจะทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น
- การทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการป้องกันการติดเชื้อใน เครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการตรวจรักษา ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ดังนั้นเครื่องมือที่นำมาใช้ซ้ำต้องได้รับการทำลายเชื้อหรือทำให้ปราศจากเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ ตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
- การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยไอน้ำ (Steam Sterilization)
- เครื่องนึ่งไอน้ำแบบแทนที่อากาศ (Gravity Displacement Steam)
- เครื่องนึ่งไอน้ำแบบสุญญากาศ (Pre-vacuum Steam Sterilizer)
- การทำปราศจากเชื้อเร่งด่วน (Immediate Use Steam Sterilization (IUSS)/Flash Sterilization)
- การใช้เครื่องนึ่งไอน้ำชนิดตั้งโต๊ะ (Table Top Sterilizer)
- การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อนแห้ง (Dry Heat)
- Gravity Convection
- Mechanical Convection
ตอนที่ 4 การทำให้ปราศจากเชื้อ วิธีการทางเคมี (Chemical Method)
- เอทธิลีนออกไซด์ (Ethylene Oxide: EO)
- ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์แก๊สพลาสม่า (Hydrogen Peroxide Gas Plasma)
- ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde)
ตอนที่ 5 การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ (Cleaning of Medical Devices)
- ปัจจัยที่มีผลต่อการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์
ตอนที่ 6 การเลือกใช้สารทำความสะอาด (Detergent)
- การนำสารทำความสะอาดมาใช้ทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ บุคลากรมีหน้าที่ในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ ควรศึกษาข้อมูลของสารทำความสะอาดแต่ละชนิดโดยละเอียด จากข้อมูลผลิตภัณฑ์ของบริษัท และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องมือแพทย์นั้นๆ สารทำความสะอาดที่ใช้ในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ ควรมีคุณสมบัติที่ไม่กัดกร่อนเครื่องมือ ฟองน้อย ไม่ทิ้งคราบ และล้างออกได้ง่าย
ตอนที่ 7 การรวบรวมและการเคลื่อนย้ายเครื่องมือแพทย์ปนเปื้อน
- (Collection and Transportation of Contaminated Medical Devices) การรวบรวมและการเคลื่อนย้ายเครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งและสิ่งสกปรกต่างๆ ต้องทำด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อในสิ่งแวดล้อมของสถานพยาบาล
ตอนที่ 8 การเตรียมก่อนทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์
- ขั้นตอนการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ หลังจากรับเครื่องมือแพทย์จากหน่วยงานมายังงานจ่ายกลาง บุคลากรควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ให้ครบถ้วน ได้แก่ หมวก แว่นตา ผ้าปิดปากและจมูก เสื้อคลุมแขนยาว ถุงมือยางอย่างหนาไม่ต่ำกว่าข้อศอก รองเท้าหุ้มสั้น และจัดการกับเครื่องมือตามขั้นตอน