การเลือกใช้สารทำความสะอาด (Detergent)

ตอนที่ 6 #การทำให้ปราศจากเชื้อ

...........................................................................

การเลือกใช้สารทำความสะอาด (Detergent)

การนำสารทำความสะอาดมาใช้ทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ บุคลากรมีหน้าที่ในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ ควรศึกษาข้อมูลของสารทำความสะอาดแต่ละชนิดโดยละเอียด จากข้อมูลผลิตภัณฑ์ของบริษัท และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องมือแพทย์นั้นๆ สารทำความสะอาดที่ใช้ในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ ควรมีคุณสมบัติที่ไม่กัดกร่อนเครื่องมือ ฟองน้อย ไม่ทิ้งคราบ และล้างออกได้ง่าย


ชนิดของสารทำความสะอาดที่ใช่กับเครื่องมือแพทย์

1. สารทำความสะอาดที่ผสมเอนไซม์ (Enzymatic Detergents)

  • สารทำความสะอาดชนิดนี้ใช้ในการล้างเครื่องมือแพทย์ที่อุณหภูมิห้องหรือบริเวณที่มีอากาศเล็กน้อย เพื่อให้การออกฤทธิ์เร็วขึ้นในสภาวะที่เป็นกลาง ควรเลือกสารทำความสะอาดที่ผสมเอนไซม์ตามชนิดของสารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนบนเครื่องมือแพทย์ เช่น เลือด ไขมัน สารคัดหลั่งของร่างกาย
  • เอนไซม์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาด ช่วยให้กระบวนการทำความสะอาดเร็วขึ้น และช่วยลดการแปรงและการขัดถูเครื่องมือแพทย์ ชนิดของเอนไซม์ที่นิยมใช้ในการผสมสารทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ คือ
    • Protease ช่วยในการขจัดสารประเภทโปรตีน ได้แก่ เลือด อุจจาระ
    • Amylase ช่วยในการขจัดสารประเภทแป้ง (Starch) ที่พบในเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ
    • Lipase ช่วยในการขจัดสารประเภทไขมันที่พบใน Adipose Tissue
    • Cellulase ช่วยในการขจัดสารประเภทคาร์โบไฮเดรทที่พบตาม Connective Tissue และ Joint Tissue

สารทำความสะอาดที่ผสมเอนไซม์ชนิดเดียวส่วนใหญ่จะผสมเอนไซม์ Protease สารทำความสะอาดที่ผสมเอนไซม์สองชนิดหรือหลายชนิด มักผสมเอนไซม์ Amylase, Lipase และ/หรือ Cellulase

2. สารทำความสะอาดที่ไม่ผสมเอนไซม์ (Non-Enzymatic Detergents)

สารทำความสะอาดที่ไม่ผสมเอนไซม์ส่วนใหญ่ใช้กับเครื่องล้างอัตโนมัติ (Automatic Washer) อาจอยู่ในภาวะเป็นกลางหรือเป็นด่าง และมักจะมีประสิทธิภาพในการล้างดีขึ้นเมื่อใช้อุณหภูมิในการล้างสูงขึ้น ให้พิจารณาตามคำแนะนำของบริษัท หรือจากสิ่งปนเปื้อนบนเครื่องมือ

การเลือกใช้สารทำความสะอาด

  • การเลือกใช้สารทำความสะอาดทั้งกลุ่มที่ผสมเอนไซม์และชนิดที่ไม่ผสมเอนไซม์ ผู้ปฏิบัติงารควรเลือกให้เหมาะสมกับคราบหรือสิ่งสกปรกที่ปนเปื้อนอยู่บนเครื่องมือแพทย์ เช่น เครื่องมือแพทย์ที่มีคราบสนิมหรือเครื่องมือแพทย์ที่มีคราบตกค้างของสารอนินทรีที่อยู่ในน้ำ สารทำความสะอาดทั้งสองประเภท (Enzymatic Detergents และ Non-Enzymatic Detergents) จะมีส่วนผสมแตกต่างกันออกไป มีทั้งฤทธิ์เป็นกรด กลาง และ ด่าง การนำสารทำความสะอาดมาใช้ทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ บุคลากรที่มีหน้าที่ในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ต้องศึกษาข้อมูลของสารทำความสะอาดแต่ละชนิดโดยละเอียดจากข้อมูลผลิตภัณฑ์ของบริษัท และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องมือแพทย์

...........................................................................
การใช้สารทำความสะอาดที่ผสมเอนไซม์ (Enzymatic Detergents) ในรูปแบบต่างๆ กัน

ใช้ล้างกล้องเอนโดสโคป

ใช้ล้างกับเครื่องล้าง

ใช้แช่ล้างทำความสะอาดด้วยมือ

...........................................................................

ตอนที่ นิยามศัพท์: หลักการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ

ตอนที่ หลักการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ

ตอนที่ การทำให้ปราศจากเชื้อ วิธีการทางกายภาพ (Physical Method) 

ตอนที่ การทำให้ปราศจากเชื้อ วิธีการทางเคมี (Chemical Method)

ตอนที่ การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ (Cleaning of Medical Devices)

ตอนที่ การเลือกใช้สารทำความสะอาด (Detergent)


  • https://www.cssd-gotoknow.org/
  • https://www.angelicteam.com/

[Angelicteam – Design Healthcare Solutions โซลูชันด้านสุขภาพ – นิยามใหม่ของความเป็นเลิศด้านงานปลอดเชื้อ]



                                               

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม ตามหมวดหมู่เนื้อหา >>

แสดงเพิ่มเติม