นิยามศัพท์ การทำให้ปราศจากเชื้อ
ตอนที่ 1 #หลักการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ
...........................................................................
ในงานทำให้ปราศจากเชื้อหรือ ทำให้ปลอดเชื้อ เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์การแพทย์ มีศัพท์เทคนิคผสมอยู่มาก บางครั้งมีการใช้พูดแบบทับศัพท์
เข้าใจแล้วจะทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น
: สุวิทย์ แว่นเกตุ
...............................................................
นิยามศัพท์
1. Action Level: ระดับอันตรายต่อสุขภาพซึ่งเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ หรือสารเคมี ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวัง ติดตามกำกับดูแล เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
2. Activation: การเติมสารเคมีหรือผสมสารเคมี ซึ่งเรียกว่า activator ลงในน้ำยาทำลายเ ชื้อเพื่อให้น้ำยามีประสิทธิภาพ
3. Antiseptic: สารเคมีที่ใช้ทำลายหรือยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลชีพที่อยู่บนผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อของร่างกาย
4. Adenosine Triphosphate (ATP): สารประกอบของโมเลกุลอดิโนซีนเกาะกับฟอสเฟตซึ่งพบในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
5. Bactericide: สารเคมีที่สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียทุกชนิด ทั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคและไม่ก่อโรค แต่ไม่สามารถทำลายสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย
6. Bacteriostat: สารเคมีซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเพิ่มจำนวนของเชื้อแบคทีเรีย แต่ไม่สามารถทำลายเชื้อหรือสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย
7. Bioburden: เชื้อจุลชีพี่ยังมีชีวิตจำนวนมากที่ปนเปื้อนบนเครื่องมือแพทย์ อาจเรียกว่า bio load หรือ microbial load
8. Biocide: สารเคมีที่ทำลายเชื้อจุลชีพทุกชนิด ทั้งที่เป็นเชื้อก่อโรคและไม่ใช้เชื้อก่อโรครวมทั้งสปอร์ของเชื้อ อาจเรียกว่า สารทำให้ปราศจากเชื้อ
9. Biofilm: การที่เชื้อจุลชีพหลายชนิดเกาะตัวกันติดอยู่บนพื้นผิวเครื่องมือแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นท่อเป็นสาย โดยจะสร้างสิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายฟิล์มบางๆ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ยากที่จะกำจัด
10. Biological Indicator (BI): ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพใช้ในการประเมินประสิทธิภาพกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ มีลักษณะเป็นหลอดพลาสติกภายในบรรจุสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียและอาหารเลี้ยงเชื้อ
11. Bowie-Dick test: การทดสอบประสิทธิภาพในการกำจัดอากาศออกจากช่องอบของเครื่องนึ่งไอน้ำชนิดเครื่องดูดสุญญากาศ (Pre-vacuum steam sterilizer)
12. Chemical Indicator : ตัวบ่งชี้ทางเคมี ใช้ในการประเมินกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ โดยดูจากการเปลี่ยนสีของแถบทดสอบทางเคมีที่ติดอยู่บนห่อหรือที่บรรจุไว้ภายในห่อเครื่องมือแพทย์ เพื่อให้ทราบว่าห่อเครื่องมือแพทย์ได้ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว แต่ไม่สามารถยืนยันว่าเครื่องมือแพทย์ที่อยู่ภายในห่อปราศจากเชื้อ ต้องดูตัวบ่งชี้อื่นๆ ประกอบด้วย
13. Chemical sterilant: น้ำยาทำลายเชื้อที่สามารถทำลายเชื้อจุลชีพ รวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ มักใช้ในการทำให้เครื่องมือแพทย์ที่ไม่สามารถทนความร้อนได้ปราศจากเชื้อ โดยการแช่เครื่องมือแพทย์ในน้ำยาเป็นระยะเวลานานตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต เพื่อให้ถึงสภาวะปราศจากเชื้อ
14. Contact time: ระยะเวลาที่ใช้ในการแช่เครื่องมือแพทย์ในน้ำยาเป็นเวลานานตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต เพื่อประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อ
15. Contamination: การปนเปื้อนเชื้อจุลชีพบนเครื่องมือแพทย์ ทำให้มีโอกาสเกิดการแพร่กระจายเชื้อหรือเกิดการติดเชื้อ
16. Critical items: เครื่องมือแพทย์ที่ต้องสอดใส่เข้าสู่เนื้อเยื่อหรือส่วนของร่างกายที่ปราศจากเชื้อหรือเข้าสู่กระแสโลหิต
17. Decontamination: วิธีการที่ทำให้เครื่องมือแพทย์ปลอดภัยต่อการนำไปใช้ หมายรวมถึง การทำความสะอาด การทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ
18. Decontamination area: พื้นที่หรือบริเวณที่นำเครื่องมือแพทย์ มาทำความสะอาด ทำลายเชื้อ หรือทำให้ปราศจากเชื้อ เพื่อสามารถนำกลับไปใช้กับผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย
19. Detergent: สารที่ใช้ในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์หรือพื้นผิวสิ่งแวดล้อม
20. Disinfectant: สารเคมีที่สามารถทำลายเชื้อจุลชีพก่อโรคหรือเชื้อจุลชีพที่เป็นอันตราย แต่อาจไม่ทำลายสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย
21. Disinfection: การทำลายเชื้อ เป็นวิธีการกำจัดเชื้อจุลชีพเกือบทุกชนิดยกเว้นสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียออกจากเครื่องมือแพทย์ วิธีการทำลายเชื้อทำได้ 3 วิธี คือ การใช้น้ำยาทำลายเชื้อ pasteurization และ ultraviolet germicidal irradiation
22. Expire date: วันหมดอายุ หมายถึง วันที่เครื่องมือหรือวัสดุทางการแพทย์ อาจมีคุณสมบัติที่เปลี่ยนไปเมื่อถึงวันที่ระบุไว้ ไม่ควรนำไปใช้กับผู้ป่วย
23. Exposure time: ระยะเวลาที่กำหนดให้สารที่ใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อสัมผัสเครื่องมือแพทย์ในสภาวะที่กำหนดในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ เช่น ในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อโดยใช้ไอน้ำ exposure time จะหมายถึง ระยะเวลาที่เครื่องมือสัมผัสกับไอน้ำอิ่มตัวตามอุณหภูมิที่กำหนด ในระยะเวลาที่กำหนด
24. First In First Out (FIFO): การจัดเก็บและการนำเครื่องมือแพทย์ออกไปใช้งาน โดยนำเครื่องมือแพทย์ที่เก็บไว้ก่อนออกมาใช้ก่อน
25. Immediate Use Steam Sterilization (IUSS) หรือ Flash Sterilization: กระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อที่ใช้กับเครื่องมือแพทย์ที่ต้องการใช้อย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือผ่าตัด สามารถนำไปใช้ทันทีหลังผ่านกระบวนการ
26. Implantable device: อุปกรณ์และอวัยวะเทียนที่มีการปลูกหรือฝังไว้ภายในร่างกายของผู้ป่วย เป็นเวลานานตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป
27. Incubator: อุปกรณ์ที่ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับการเจริญของเชื้อจุลชีพและรักษาอุณหภูมิให้คงที่ ใช้ในการเพาะเลี้ยงเชื้อจุลชีพ
28. Instruction For Use (IFU): คำแนะนำในการใช้งานอุปกรณ์หรือเครื่องมือแพทย์ของบริษัทผู้ผลิต อธิบายเกี่ยวกับการติดตั้ง วิธีการใช้งาน การดูแลบำรุงรักษา รวมทั้งคำแนะนำในการใช้น้ำยาหรือสารเคมี
29. Kraft paper: กระดาษที่ผลิตจากเยื่อไม้ โดยผ่านกระบวนการที่เป็นด่าง เป็นกระดาษที่มีเนื้อหยาบแต่เหนียว ใช้ในการห่อเครื่องมือแพทย์
30. Limited disinfectant: สารเคมีที่ใช้ในการทำลายเชื้อที่ขค้นทะเบียนว่าใช้สำหรับเชื้อจุลชีพที่เฉพาะเจาะจง (เชื้อแบคทีเรียแกรมบวกหรือลบ)
31. Load Check: อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องล้างอัตโนมัติในแต่ละรอบ
32. Loaner instrument: เครื่องมือแพทย์ที่สถานพบาบาลยืมจากบริษัทผู้ผลิต ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือสำหรับการผ่าตัดพิเศษ เช่น spinal หรือ total joint
33. Minimum Effective Concentration (MEC): ความเข้มข้นต่ำสุดของน้ำยาทำลายเชื้อที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อ อาจใช้คำว่า minimum recommended concentration (MRC)
34. Noncritical items: เครื่องมือแพทย์ที่สัมผัสกับผิวหนังที่ปกติ ผิวหันงที่ไม่มีบาดแผลหรือไม่มีรอยถลอก และไม่ได้สัมผัสกับเยื่อบุของร่างกาย
35. Pasteurization: วิธีการทำลายเชื้อก่อโรคโดยใช้น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิระหว่าง 70-75OC เป็นเวลา 30 นาที วิธีนี้ไม่สามารถทำลายสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียได้
36. Parts Per Million (ppm): หน่วยที่ใช้วัดค่าความเข้มข้นของแก๊สที่ปนเปื้อนในอากาศ หรือปริมาตรของสารเคมีในของเหลว โดยปริมาตรแก๊สปนเปื้อน 1 ส่วนต่อปริมาตรอากาศ 1 ล้านหน่วย มีค่าเท่ากับ 1 ppm (parts per million) หรือคิดเป็นไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร (µg/mL) หรือ มิลลิกรัมต่อลิตร (mg/L)
37. Personal Protective Equipment (PPE): อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล ซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องสวมเพื่อป้องกันตนเองจากการสัมผัสเลือด สารคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือสัมผัสสารเคมี
38. Physical indicator: ตัวบ่งชี้ทางกายภาพ ใช้ประเมินประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องทำให้ปราศจากเชื้อ โดยดูจากมาตรวัดต่างๆ หรือเอกสารที่พิมพ์นำออกมาจากเครื่อง
39. Point of use: สถานที่ที่ใช้งานเครื่องมือแพทย์
40. Preventive Maintenance system (PM): ระบบในการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หมายถึง การบำรุงรักษาเพื่อป้องกันการเสียหายของเครื่องมือแพทย์ โดยมีการกำหนดเป็นแผนการบำรุงรักษาไว้ (planned maintenance) ได้แก่ การบำรุงรักษาประจำวัน (daily) การบำรุงรักษาตามกำหนด (schedule) การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (predictive)
41. Prions: เชื้อก่อโรคที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาททั้งในคนและในสัตว์ prions แตกต่างจากเชื้อก่อโรคชนิดอื่นๆ เนื่องจากประกอบด้วยโปรตีนชนิดที่พบได้ในเซลล์ปกติ แต่อยู่ใน conformational isoform ที่ผิดปกติไป ซึ่งเรียกว่า prion protein (PrP) prion มีความทนทานต่อกระบวนการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ จึงต้องมีการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีการที่จำเพาะ
42. Process Challenge Device (PCD): ห่อทดสอบหรือกล่องที่บรรจุตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ หรือตัวบ่งชี้ทางเคมีภายในชนิด integrating indicators ออกแบบมาเพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิภาพกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ
43. Recall: การเรียกเครื่องมือแพทย์กลับคืนมายังหน่วยงานที่ทำให้เครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ
44. Reprocessing: การจัดการเครื่องมือแพทย์เพื่อนำไปใช้ใหม่โดยผ่านกระบวนการทำลายเชื้อหรือการทำให้ปราศจากเชื้อ ซึ่งประกอบด้วยการทำความสะอาด การตรวจสอบ การห่อ การทำให้ปราศจากเชื้อ และการจัดเก็บ
45. Re-sterilization: การทำให้ปราศจากเชื้อซ้ำเพื่อขจัดเชื้อจุลชีพรวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียบนเครื่องมือแพทย์
46. Reuse: การนำเครื่องมือแพทย์ไปใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำกับผู้ป่วย โดยเครื่องมือแพทย์ที่นำมาใช้ซ้ำต้องผ่านกระบวนการทำความสะอาด การทำลายเชื้อ หรือการทำให้ปราศจากเชื้อที่เหมาะสม
47. Reusable device: เครื่องมือแพทย์ที่ผลิตมาเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้หลายครั้ง แต่ต้องผ่านกระบวนการทำลายเชื้อหรือการทำให้ปราศจากเชื้อตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต
48. Safety Data Sheet (SDS) : เอกสารข้อมูลความปลอดภัยที่สำคัญของสารเคมี ประกอบด้วยค่าตัวแปรต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ค่าความเป็นพิษ ค่ามาตรฐานด้านอาชีวอนามัย เป็นต้น
49. Shelf Life: ระยะเวลาที่สารเคมรที่เตรียมไว้ใช้งานหรือที่ยังไม่ได้เตรียมยังคงมีประสิทธิภาพ รวมทั้งระยะเวลาที่เครื่องมือแพทย์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้วยังคงสภาวะปราศจากเชื้อ
50. Semi-critical items: เครื่องมือแพทย์ที่ต้องสัมผัสกับเยื่อบุของร่างกาย (mucous membrane) หรือผิวหนังที่มีบาดแผล มีรอยถลอก
51. Single use device: เครื่องมือแพทย์ที่ผลิตมาเพื่อใช้ครั้งเดียว ไม่สามารถนำไปทำลายเชื้อหรือทำให้ปราศจากเชื้อซ้ำได้
52. Spaulding classification: การจำแนกประเภทของเครื่องมือแพทย์ตามระดับการสัมผัสสิ่งปนเปื้อนและความเสี่ยงในการใช้งาน บางออกได้เป็น 3 ระดับคือ ระดับวิกฤติ (critical) ระดับกึ่งวิกฤต (semi-critical) และระดับไม่วิกฤต (non-critical)
53. Sterile หรือ Sterility: สภาวะการปราศจากเชื้อจุลชีพที่มีชีวิตทั้งหมด รวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย
54. Sterility Assurance Level (SAL): ความน่าจะเป็นของการตรวจพบเชื้อจุลชีพที่มีชีวิตบนเครื่องมือหรือวัสดุการแพทย์ หลังจากการทำให้ปราศจากเชื้อ มักจะแสดงในรูปของ 10-6 SAL ที่มีค่า 10-6 หมายถึงมีโอกาสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ใน 1 ล้านที่จะพบเชื้อจุลชีพ 1 ตัวบนเครื่องมือแพทย์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อเรียบร้อยแล้ว โดยทั่วไปแล้วค่า SAL ที่มีค่าเท่ากับ 10-6 เป็นค่าที่ยอมรับได้ว่าเหมาะสมสำหรับวัตถุที่จะใช้กับ compromised tissue (เช่น เนื้อเยื่อที่สูญเสียคุณสมบัติของการปกป้องโดยธรรมชาติ)
55. Sterilization: การทำให้ปราศจากเชื้อเป็นการกำจัดหรือทำลายเชื้อจุลชีพทุกชนิด รวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย โดยวิธีการทางกายภาพ ได้แก่ การอบไอน้ำภายใต้ความดัน (autoclave) การอบไอร้อน การอบแก๊ส หรือการใช้น้ำยาทำลายเชื้อระดับสูง
56. Surfactant: สารที่สามารถลดแรงตึงผิวของน้ำหรือแรงตึงผิวระหว่างผิวหน้าของน้ำกับของเหลวอื่นๆ
57. Time-Weighted Average (TWA): ความเข้มข้นเฉลี่ยของสารเคมีที่ยอมให้ผู้ปฏิบัติงานสัมผัสได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น ปริมาณสูงสุดที่ยอมให้สัมผัสแก๊สเอทิลีนออกไซด์ได้ภายในเวลา 8 ชั่วโมงได้ต้องไม่เกิน 1 ppm
58. Validation: การสอบความใช้ได้ หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินการทางเอกสารเพื่อให้ได้ผลการบันทึกและการแปลผลที่ได้กำหนดว่ากระบวนการจะให้ผลการผลิตที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ เป็นไปตามข้อกำหนดที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
59. Verification: หมายถึง การทวนสอบประสิทธิภาพในขั้นตอนที่สำคัญในการทำให้ปราศจากเชื้อ เช่น การทวนสอบประสิทธิภาพความสะอาด หรือการทวนสอบคำแนะนำในการใช้งานจากบริษัทผู้ผลิต
...........................................................................
ตอนที่ 1 นิยามศัพท์: หลักการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ
ตอนที่ 2 หลักการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ
ตอนที่ 3 การทำให้ปราศจากเชื้อ วิธีการทางกายภาพ (Physical Method)
ตอนที่ 4 การทำให้ปราศจากเชื้อ วิธีการทางเคมี (Chemical Method)
ตอนที่ 5 การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ (Cleaning of Medical Devices)
ตอนที่ 6 การเลือกใช้สารทำความสะอาด (Detergent)