มาตรฐานการเคลื่อนย้ายเครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อน
ตอนที่ 7 #การรวบรวมและการเคลื่อนย้ายเครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อน
...........................................................................
การรวบรวมและการเคลื่อนย้ายเครื่องมือแพทย์ปนเปื้อน
(Collection and Transportation of Contaminated Medical Devices)
การรวบรวมและการเคลื่อนย้ายเครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งและสิ่งสกปรกต่างๆ ต้องทำด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อในสิ่งแวดล้อมของสถานพยาบาล
การรับเครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อน บุคลากรควรปฏิบัติดังนี้
1.เครื่องมือแพทย์ที่ใช้กับผู้ป่วยแล้ว ทำการแยกอุปกรณ์ที่ต้องทิ้ง (ใบมีด เข็มฉีดยาและอื่นๆ ) ลงในภาชนะรองรับที่กำหนดไว้ ณ หน่วยงานที่ใช้เครื่องมือแพทย์
![]() |
<ทำการแยกอุปกรณ์ที่ต้องทิ้ง> |
2.ต้องขจัดสิ่งสกปรกชิ้นใหญ่จากเครื่องมือแพทย์ ณ จุดที่ใช้งาน (Point of Use) ในกรณีที่ไม่สามารถส่งงานจ่ายกลางได้ทันทีหลังจากการใช้งานแล้ว
3.เครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อนควรเก็บไว้ไม่ให้แห้งเกรอะกรัง โดยสามารถใช้ผ้าชื้นปกคลุม หรือใช้ผลิตภัณฑ์แบบโฟมหรือสเปรย์ฉีดพ่น เพื่อทำให้เครื่องมือชุ่มชื้นไม่แห้ง
![]() |
<โฟมหรือสเปรย์ฉีดพ่น เพื่อทำให้เครื่องมือชุ่มชื้นไม่แห้ง> |
4.ผู้รับเครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อน ควรใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่เหมาะสม ได้แก่ ถุงมือ ผ้าปิดปากและจมูก และเตรียม Alcohol Hand Rub ไปด้วย
5.รวบรวมเครื่องมือแพทย์ที่ใช้แล้วใส่ลงในภาชนะหรือกล่องที่มีฝาปิดมิดชิด /รถขนส่งที่ใช้เฉพาะสำหรับขนย้ายเครื่องมือแพทย์ที่มีการปนเปื้อน ป้องกันไม่ให้เครื่องมือแพทย์ตกหรือหล่นจากรถได้
![]() |
<ภาชนะหรือกล่องที่มีฝาปิดมิดชิด> |
6.การขนส่งเครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อน ควรหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีคนพลุกพล่าน
...........................................................................
ตอนที่ 1 นิยามศัพท์: หลักการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ
ตอนที่ 2 หลักการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ
ตอนที่ 3 การทำให้ปราศจากเชื้อ วิธีการทางกายภาพ (Physical Method)
ตอนที่ 4 การทำให้ปราศจากเชื้อ วิธีการทางเคมี (Chemical Method)
ตอนที่ 5 การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ (Cleaning of Medical Devices)
ตอนที่ 6 การเลือกใช้สารทำความสะอาด (Detergent)