บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ ตัวชี้วัดคุณภาพการทำให้ปราศจากเชื้อ

ปัญหาการเปลี่ยนสีของแถบเคมีบ่งชี้ภายใน (Internal chemical indicator)

รูปภาพ
Indicator result: Chemical Indicator changing result บ่งชี้อะไร ผลการเปลี่ยนแปลงของ Sterilization internal chemical indicators ภายหลังการฆ่าเชื้อด้วย Sterilizer แต่ละชนิด สามารถบอกอะไรเราได้หลายอย่าง ค้นคว้าเรียบเรียง: สุวิทย์ แว่นเกตุ ในการประเมินผลประสิทธิภาพการเข้าไปสัมผัสพื้นผิวอุปกรณ์ที่ต้องการฆ่าเชื้อได้ครบถ้วนตามคุณสมบัติที่กำหนดในแต่ละชนิดของการฆ่าเชื้อ ต้องอาศัยตัวบ่งชี้ภายในห่อที่เรียกว่า Internal  chemical indicator  ซึ่งตัวบ่งชี้เหล่านี้สามารถบอกความหมายของสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วก่อนหน้า โดยขึ้นอยู่กับชนิดและความสามารถของตัวบ่งชี้นั้นๆ ตัวบ่งชี้เหล่านี้ถูกจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มตามความสามารถ (Type of Chemical indicator classification)ในการตรวจสอบตามจำนวนของคุณสมบัติ(หรือที่เรียกว่าค่า“พารามิเตอร์”ที่บ่งชี้ในการฆ่าเชื้อ)ที่สามารถตรวจสอบสอบได้ในการฆ่าเชื้อแต่ละชนิดที่ต่างกันออกไป จากในภาพเป็นผลจากการฆ่าเชื้อด้วยการนึ่งฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำหรือ Autoclave ซึ่งผลที่ออกมาดูการเปลี่ยนแปลงสถานะของตัวบ่งชี้จะพบว่ามีลักษณะของการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สมบูรณ์ มีลักษณะร่องรอยเหมือนการเกิดไอน้ำที่ไม่สม

5 คำถามที่พบบ่อย ในการตรวจสอบคุณภาพ-การทำให้ปราศจากเชื้อ

รูปภาพ
5คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ การตรวจสอบคุณภาพ-การทำให้ปราศจากเชื้อ 1. ควรจะต้องตรวจสอบคุณภาพ-การทำให้ปราศจากเชื้อ อย่างไรบ้าง? 2. ควรจะต้องตรวจสอบด้วยการทำ สปอร์เทสต์ (Biological monitoring)บ่อยแค่ไหน? 3. ถ้ามีการนำอุปกรณ์ Implant มาทำให้ปราศจากเชื้อ ควรจะต้องทำ สปอร์เทสต์ บ่อยแค่ไหน? 4. ควรจะต้องทำอย่างไรถ้าพบผลการทำ สปอร์เทสต์ เป็นบวก(Spore test positive result)? 5. มีอะไรบ้างที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำให้ปราศจากเชื้อ   ควรจะต้องตรวจสอบคุณภาพ-การทำให้ปราศจากเชื้อ อย่างไรบ้าง? การตรวจสอบ กระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ ไม่สามารถทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะต้องอาศัยการตรวจสอบร่วมกัน ทั้งทางด้าน การตรวจสอบทางเชิงกล (Mechanical) ทางเคมี (Chemical) และทางชีวภาพ (Biological) ตามเงื่อนไขที่กำหนดมาเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการทำให้ปราศจากเชื้อ   ทางเชิงกล (Mechanical) เป็นการตรวจเช็ค อุณหภูมิ ระยะเวลา และความดัน จากมาตรวัดแสดงผล เปรียบเทียบกับการพิมพ์รายงานผล จะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน หากมีอันใดอันหนึ่งผิดพลาด แสดงว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้น ทางเคมี (Chemical) แผ่นตรว

ความจริงที่ต้องรู้ SCBI Steam & Formaldehyde

รูปภาพ
“สามารถใช้หลอด Spore test ที่ใช้กับ Steam sterilizer ไปใช้ทดสอบ LTF sterilizer (LTF: Low temperature Formaldehyde sterilizer) แทนได้หรือไม่???” จากการที่ได้รับข้อมูลโดยตรงจากเจ้าหน้าที่ทั้งในระดับหัวหน้างาน  (บางรายก็เป็น IC) และในระดับปฎิบัติงานทั่วไปในหน่วยจ่ายกลาง (CSSD: Central Sterile Services Department ) จากหลายๆโรงพยาบาลว่า ในการทดสอบประสิทธิภาพการทำให้ปราศจากเชื้อของเครื่องอบฆ่าเชื้อระบบฟอร์มาลดีไฮด์ (LTF: Low temperature Formaldehyde sterilizer) สามารถใช้หลอด Spore test ที่ใช้กับ Steam sterilizer ไปใช้ทดสอบ LTF sterilizer ได้ เพราะ Spore ของเชื้อที่นำมาใช้ทดสอบเป็นเชื้อตัวเดียวกันคือ Geobacillus stearothermophilus (ATCC® 7953™) นี่คือรายละเอียดที่นำไปสู่คำตอบ ในการผลิต Spore test เพื่อนำมาใช้ทดสอบประสิทธิภาพการทำให้ปราศจากเชื้อของเครื่องอบฆ่าเชื้อ (Sterilizer) ต้องเป็นไปตามมาตรฐานข้อกำหนดของ ISO 11138-1 (General requirements) ที่มีข้อกำหนดไว้คือ ISO 11138-1:2006 ISO 11138  consists of the following parts, under the general title  Sterilizatio

Bowie Dick Test: การทดสอบประสิทธิภาพ เครื่องนึ่งไอน้ำ

รูปภาพ
สาเหตุอย่างหนึ่งในหลายๆอย่างของเครื่อง Steam sterilizer ระบบ pre-vacuum ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพของ การทำให้ปราศจากเชื้อ ก็คือการรั่วของอากาศ Air leak จากภายนอก chamber เข้ามาข้างใน chamber และเครื่องไม่สามารถกำจัดอากาศ Air removal ออกไปได้หมด จากประสิทธิภาพการทำ vacuum หรือการดูดอากาศออกจากเครื่อง เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพของเครื่องในขณะนั้นว่าพร้อมใช้งาน Ready to use หรือไม่ จึงต้องใช้วิธีการทดสอบ ที่เรียกว่าการทำ Bowie Dick Test ถ้าผลการทดสอบผ่าน Pass ก็สามารถใช้เครื่องต่อไปได้ แต่ถ้าผลการทดสอบไม่ผ่าน Fail ต้องหยุดใช้เครื่อง จนกว่าจะแก้ไขซ่อมบำรุงเรียบร้อย แล้วทำการทดสอบใหม่ ความเป็นมา: ความสงสัยถึงประสิทธิภาพของเครื่อง Steam sterilizer ระบบ pre-vacuum และมีการศึกษากันอย่างจริงจังครั้งแรกเกิดขึ้นในปี คศ.1963 1 ที่ ประเทศอังกฤษ  โดย Dr. J. Bowie and Mr. J. Dick และมีการลงตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารทางการแพทย์ The 'Lancet' journal ในปีเดียวกัน (Lancet, 1963 Mar 16;1586-7.The Bowie and Dick autoclave tape test, Bowie JH, Kelsey Jc, Thomson Gr.) The ori

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biological Indicator)

รูปภาพ
ความเป็นมาและวิวัฒนาการของ ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biological Indicator) สุวิทย์  แว่นเกตุ ตั้งแต่มีการนำวิธีการตรวจสอบประสิทธิภาพของการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการใช้วิธีการทางชีวภาพมาใช้ (เท่าที่มีบันทึกไว้ประมาณปี ค.ศ. 1888) เราจะเห็นว่า ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพนั้นมีความหลากหลาย มีการพัฒนาออกมาในแต่ละรุ่น แต่ละรูปแบบอย่างต่อเนื่อง และได้รับการยอมรับ มีการนำไปใช้เป็นมาตรฐานโดยทั่วไป แต่จะมีผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Biological Indicator อย่างที่เรียกว่ารู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่ามันทำงานอย่างไร มันบอกข้อมูลอะไรให้เราได้ทราบบ้าง หรือไม่ว่าจะเป็นลักษณะของมันที่ถูกออกแบบมามีผลอย่างไรบ้างกับประสิทธิภาพการทำงานของมันเอง ความสำคัญของการทำให้ปราศจากเชื้อมีมาไม่ต่ำกว่า 120 ปีแล้ว (ในอดีตมีการนำการฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำมาใช้กับอุปกรณ์ทำแผล หรือที่เราเรียกว่า Surgical Dressing ถ้าเทียบเป็นค.ศ. ก็ประมาณปี ค.ศ. 1885: ผู้แปล) SCBIs Biological Indicators หลอดทดสอบ ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ การปรากฏขึ้นมาของ Biological Indicator มีขึ้นหลังจากมีการนำไอน้ำมาใช้ในการฆ่าเชื้ออุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์

ตัวชี้วัดทางเคมี (Chemical Indicators)

รูปภาพ
ความเป็นมาและวิวัฒนาการของ  ตัวชี้วัดทางเคมี  (Chemical Indicators) แปลและเรียบเรียงโดย สุวิทย์  แว่นเกตุ ถ้าจะเปรียบเทียบให้ง่ายเข้า อยากให้นึกถึงอาหารที่เรารับประทานกันทุกวันนั้นจะอร่อยและปลอดภัยต่อการบริโภคขึ้นอยู่กับปัจจัย ทั้งสถานที่เตรียม อุปกรณ์ที่ใช้ สูตรที่ใช้ในการปรุงอาหาร เชฟหรือพ่อครัว วัตถุดิบในการประกอบอาหาร การจัดเก็บและการจัดเสริฟโดยบริกร รวมทั้งมาตรฐานในการดูแลในการประกอบอาหารต่างๆ ลองคิดภาพดูสิครับ ต่อให้เชฟหรือพ่อครัวปรุงกันอย่างสุดฝีมือ ใส่วัตถุดิบชั้นเยี่ยม แต่ถ้าบริกรที่ยกอาหารมาเสริฟนั้นจุ่มนิ้วมือที่มีเล็บยาวๆ ดำๆ ลงไปในอาหารอย่างชัดเจน ท่านจะกล้าทานอาหารจานนั้นหรือไม่ คำตอบคงไม่กล้าทานหรือไม่แม้แต่จะชิม เช่นเดียวกันกับการทำให้ปราศจากเชื้อ ที่ต้องมีปัจจัยนำเข้าที่ดี เช่น มีแผนผังในการจัดแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน ครุภัณฑ์ที่ใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ บุคคลากรต้องมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานที่เพียงพอ มีการจัดทำนโยบายและวิธีปฏิบัติที่ได้มาตรฐานและถูกต้องตามหลักวิชาการที่เหมาะสม เป็นปัจจุบัน รวมทั้งต้องมีการควบคุมคุณภาพของกระบวนก

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม (READ MORE) >>

แสดงเพิ่มเติม