5 คำถามที่พบบ่อย ในการตรวจสอบคุณภาพ-การทำให้ปราศจากเชื้อ

5คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ การตรวจสอบคุณภาพ-การทำให้ปราศจากเชื้อ


1. ควรจะต้องตรวจสอบคุณภาพ-การทำให้ปราศจากเชื้อ อย่างไรบ้าง?
2. ควรจะต้องตรวจสอบด้วยการทำ สปอร์เทสต์ (Biological monitoring)บ่อยแค่ไหน?
3. ถ้ามีการนำอุปกรณ์ Implant มาทำให้ปราศจากเชื้อ ควรจะต้องทำ สปอร์เทสต์ บ่อยแค่ไหน?
4. ควรจะต้องทำอย่างไรถ้าพบผลการทำ สปอร์เทสต์ เป็นบวก(Spore test positive result)?
5. มีอะไรบ้างที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำให้ปราศจากเชื้อ
 

ควรจะต้องตรวจสอบคุณภาพ-การทำให้ปราศจากเชื้อ อย่างไรบ้าง?

การตรวจสอบ กระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ ไม่สามารถทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะต้องอาศัยการตรวจสอบร่วมกัน ทั้งทางด้าน การตรวจสอบทางเชิงกล (Mechanical) ทางเคมี (Chemical) และทางชีวภาพ (Biological) ตามเงื่อนไขที่กำหนดมาเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการทำให้ปราศจากเชื้อ

 
ทางเชิงกล (Mechanical) เป็นการตรวจเช็ค อุณหภูมิ ระยะเวลา และความดัน จากมาตรวัดแสดงผล เปรียบเทียบกับการพิมพ์รายงานผล จะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน หากมีอันใดอันหนึ่งผิดพลาด แสดงว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้น
ทางเคมี (Chemical) แผ่นตรวจสอบทางเคมี ภายใน (Internal chemical indicator) จะต้องมีการใส่ทุกห่อ-ซอง เพื่อให้มั่นใจว่า เข้าไปสัมผัสภายในได้อย่างทั่วถึงทุกห่อ-ซอง และแผ่นตรวจสอบทางเคมี ภายนอก (External chemical indicator) จะต้องติดทุกห่อ-ซอง ที่ไม่สามารถมองเห็นแผ่นตรวจสอบทางเคมี ภายใน ได้จากภายนอก
ผลการเปลี่ยนแปลงของแผ่นตรวจสอบทางเคมี จะสามารถบอกได้ถึงความสมบูรณ์ และปัญหา ของการทำให้ปราศจากเชื้อ และไม่ควรใช้ห่อ-ซองที่การเปลี่ยนแปลงของแผ่นตรวจสอบทางเคมี ที่ไม่สมบูรณ์
ทางชีวภาพ (Biological) หรือ Biological Indicators (BIs) จะสามารถบอกได้ถึงความสามารถในการต้านทานของเชื้อ และประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อ เช่นสปอร์ Geobacillus or Bacillus species. เพราะว่า สปอร์ที่นำมาใช้ในการทดสอบจะมีจำนวนที่มากกว่า ที่ปนเปื้อนอยู่กับอุปกรณ์ที่นำมาทำการฆ่าเชื้อ ถ้าสปอร์ตายหมด จะสามารถยืนยันได้ว่าเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่กับอุปกรณ์ จะถูกฆ่าตายหมดเช่นกัน

ควรจะต้องตรวจสอบด้วยการทำ สปอร์เทสต์ (Biological monitoring: BI, Spore testing)บ่อยแค่ไหน?

การตรวจสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อที่ถูกต้องจะต้องมีการตรวจสอบด้วย Biological Indicators (BIs) อย่างน้อยอาทิตย์ละ1 ครั้ง ผู้ใช้จะต้องใช้งานให้ถูกต้องตามคำแนะนำทั้งตำแหน่งการวางในตัวเครื่อง และวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง ของหลอดควบคุมและหลอดทดสอบที่ต้องเป็น Lot.ผลิต เดียวกัน และผลของหลอดควบคุมจะต้องเป็นบวก (Positive) เสมอ
นอกจากการตรวจสอบด้วย Biological Indicators (BIs) ตามปรกติแล้ว ควรจะต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมเมื่อ
  1. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง วัสดุหีบห่อ-ซอง หรือ กล่องบรรจุ (Packaging material or Tray)
  2. เมื่อมีการอบรมเปลี่ยนแปลง ผู้ดูแลเครื่องใหม่
  3. เมื่อมีการซ่อมบำรุงรักษาเครื่อง
  4. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่เกียวกับวิธีการ Load

ถ้ามีการนำอุปกรณ์ Implant มาทำให้ปราศจากเชื้อ ควรจะต้องทำ สปอร์เทสต์ บ่อยแค่ไหน?

รอบที่มีการนำอุปกรณ์ Implant มาอบฆ่าเชื้อจะต้องมีการทดสอบด้วย Biological Indicators (BIs) เสมอ และจะต้องรอให้ผลสปอร์เทสต์  ที่อ่านออกมาเป็น ลบ (Negative) จึงจะสามารถนำไปใช้ได้ และผู้ใช้จะต้องใช้งานให้ถูกต้องตามคำแนะนำทั้งตำแหน่งการวางในตัวเครื่อง และวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง ของหลอดควบคุมและหลอดทดสอบที่ต้องเป็น Lot.ผลิต เดียวกัน และผลของหลอดควบคุมจะต้องเป็นบวก (Positive) เสมอ

ควรจะต้องทำอย่างไรถ้าพบผลการทำ สปอร์เทสต์ เป็นบวก(Spore test positive result)?

ถ้า ผลการตรวจสอบทางเชิงกล (e.g.,  time, temperature, pressure) ผลการตรวจสอบทางเคมี ทั้งภายในและภายนอก (External & Internal chemical indicator) ผลออกมาเป็นปรกติ สามารถบ่งบอกได้ว่าการทำงานของเครื่องปรกติ ถ้าในรอบนั้นผลของสปอร์เทสต์ออกมาเป็นบวก (Positive) ไม่ได้หมายความว่าเครื่องมีความผิดปรกติ และไม่จำเป็นต้องมีการเรียกอุปกรณ์กลับ ถ้ารอบนั้นไม่ได้มีการอบฆ่าเชื้อ อุปกรณ์ Implant
อย่างไรก็ตามผู้ใช้ควรหยุดใช้ และให้ทำการเดินเครื่องใหม่พร้อมทำการทดสอบสปอร์เทสต์อีกครั้ง หลังจากที่มีการพบ ผลบวก (Positive) ก่อนหน้านั้น และต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าเครื่องไม่มีความผิดปรกติก่อนกลับมาใช้งานอีกครั้ง
ในกรณีที่เครื่องผิดปรกติและผลยังคงเป็นบวกอยู่จะต้องหยุดใช้เครื่อง จนกว่าจะมีการแก้ไขให้เรียบร้อย และมีการทดสอบสปอร์เทสต์ สามครั้งติดต่อกัน ด้วยการเดินเครื่องตู้เปล่า

ในกรณีพบเครื่องผิดปรกติ ถ้ารอบการอบใดที่ผ่านมามีความสงสัย ให้เรียกของกลับและนำมาเข้าสู่กระบวนการการทำให้ปราศจากเชื้ออีกครั้ง นำมาห่อบรรจุ และนำไปอบฆ่าเชื้อใหม่

รอบใหม่ควรมีการทำทดสอบด้วย Biological Indicators (BIs) และควรมีการบันทึกรายงานไว้

มีอะไรบ้างที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำให้ปราศจากเชื้อ

องค์ประกอบที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำให้ปราศจากเชื้อ


สาเหตุ
เกิดปัญหา
การล้าง

ล้างเครื่องมือไม่สะอาด
คราบสกปรกอาจส่งผลต่อ ประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อ
การแพ็ค

แพ็คเครื่องมือไม่เหมาะสม
ไม่สามารถผ่านเข้าไปฆ่าเชื้อภายในได้
แพ็คชำรุดเสียหาย เช่น ละลาย
ใช้วัสดุในการแพ็คผิดชนิดของเครื่อง Sterilizer
เป็นอุปสรรค และไม่สามารถผ่านเข้าไปฆ่าเชื้อภายในได้
ปริมาณแพ็คที่มากเกินในแต่ละรอบ

ไม่สามารถผ่านเข้าไปถึงในสุดได้
ไม่สามารถไปได้ทั่วถึงทุกห่อ-ซอง
Load ไม่ถูกต้อง
Load มากเกิน
ไม่เว้นช่องว่างระยะห่างระหว่าแพ็ค
การใช้งานเครื่องไม่ถูกต้อง

การตั้งเวลา อุณหภูมิไม่เหมาะสม
เวลาและอุณหภูมิ ไม่พอต่อการฆ่าเชื้อ



โดย. สุวิทย์ แว่นเกตุ e-mail : swelink1@hotmail.com
เรียบเรียงจาก. CDC: Frequently Asked Questions - Sterilization — Monitoring  http://www.cdc.gov/oralhealth/infectioncontrol/faq/sterilization_monitoring.htm
Selected References and Additional Resources
  1. 1.American Dental Association. Biological indicators for verifying sterilization. J Am Dent Assoc 1988; 117:653–654.
  2.  2.American Dental Association. Guidelines for infection control in the dental office and the commercial dental laboratory. J Am Dent Assoc 1996;127:672–680.
  3.  3.Andres MT, Tejerina JM, Fierro JF. Reliability of biologic indicators in a mail-return sterilization-monitoring service: A review of 3 years, Quintessence Intern 1995;25:865–870.
  4.  4.ANSI/AAMI ST-79 2006/AI:2008 Comprehensive Guide to Steam Sterilization and Sterility Assurance in Health Care Facilities (2008 ed., pages 43–79 and 116).
  5.  5.Association of Operating Room Nurses. AORN standards and recommended practices for perioperative nursing. 1987;Section III:14.1-III:14.11.
  6.  6.Association of Operating Room Nurses. Recommended practices for sterilization in perioperative practice settings. In: Fogg D, Parker N, Shevlin D, eds. Standards, Recommended Practices, and Guidelines, Denver: AORN, 2002;333–342.
  7.  7.Baird RM. Sterility Assurance: Concepts, Methods and Problems. In Russell AD, Hugo WB, Ayliffe GAF, eds. Principles and Practice of Disinfection, Preservation, and Sterilization. Oxford, England: Blackwell Scientific Publications, 3rd edition. Oxford, England: Blackwell Scientific Publications, 1999;787–800.
  8.  8.CDC. Guidelines for Infection Control in Dental Health-Care Settings, 2003. MMWR, December 19, 2003:52(RR-17).
  9.  9.CDC Recommended infection control practices for dentistry, 1993. MMWR 1993;42(No. RR-8):1–12.
  10.  10.Favero MS. Developing indicators for monitoring sterilization. In: Rutala W, ed. Disinfection, Sterilization, and Antisepsis in Healthcare. Washington, DC: Association for Professionals in Infection Control and Epidemiology, Inc.,1998:119–132.
  11.  11.Garner JS, Favero MS. Guideline for handwashing and hospital environmental control. Atlanta: U.S. Department of Health and Human Services, Public Health Service, CDC, 1985.
  12.  12.Maki DG, Hassemer CA. Flash sterilization: Carefully measured haste. Infect Control 1987;18:307–310.
  13.  13.Miller CH, Sheldrake MA. The ability of biological indicators to detect sterilization failures. Am J Dent 1994;7:95–97.
  14.  14.Miller CH, Palenik CJ. Instrument processing. In: Miller CH, Palenik DJ, eds. Infection Control and Management of Hazardous Materials for the Dental Team, 2nd ed. St. Louis: Mosby, 1998;135–174.
  15.  15.Miller, CH. Use of spore test for quality assurance in infection control. Am J Dent 2001;14:114.
  16.  16.Molinari JA, Rosen S, Runnells RR. Heat sterilization and monitoring. In: Cottone JA, Terezhalmy GT, Molinari JA, eds. Practical Infection Control in Dentistry, 2nd ed. Baltimore: Williams & Wilkins, 1996: 149–160.

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม (READ MORE) >>

แสดงเพิ่มเติม

◉ โพสต์ที่มีการดูมากที่สุด

การทำให้ปราศจากเชื้อ Sterilization

การเก็บห่ออุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ

การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการอบแก๊ส Ethylene Oxide (Eto)