แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา Wet Packs

3 สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเรื่อง Wet Packs คือ

  1. Wet Packs: เป็นสัญญานบอกถึงสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น
  2. Wet Packs: เกิดได้จากหลายสาเหตุ
  3. Wet Packs: เป็นช่องทางที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรค





ต่อไปนี้คือแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่สามารถนำไปสู่การเกิด Wet Packs

1.Operator Error: เกิดจากผู้ปฎิบัติงาน

เนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานไม่ได้รับการแนะนำการปฎิบัติที่ถูกต้อง คือทำงานตามสัญชาติญาณ ความเข้าใจ ไม่ได้อิงอยู่บนหลักปฎิบัติที่ถูกต้อง ใช้การสอนแบบบอกต่อ ท้ายสุดลงเอยที่ใช้งานเครื่องเป็นอย่างเดียว
     •ที่เห็นได้ทั่วไปคือ การจัดเรียงของหนาแน่นมากเกินไป
     •เลือกโปรแกรมไม่เหมาะสม
     •การดูแลห่ออุปกรณ์ทั้งก่อนอบและหลังอบไม่เหมาะสม


คำแนะนำ
     •อย่าใส่ของแน่นมากเกินไป และต้องไม่ไปบังบริเวณท่อระบายของช่องอบ
     •ต้องมั่นใจว่าภายในช่องอบมีบริเวณให้ไอน้ำไหลเวียนได้อย่างสะดวก เพื่อให้เข้าไปตามห่อต่างๆ และออกลงสู่ท่อระบายได้อย่างสะดวก
     •ตรวจสอบระยะเวลาในการระบายหรือการทำให้แห้ง ในแต่ละรอบมีความเหมาะสม

2.Component Failure: เกิดจากอุปกรณ์ส่วนต่างของเครื่อง

Wet Packs ที่เกิดขึ้นอาจมาจากความผิดปกติบางอย่างของเครื่อง ซึ่งส่วนประกอบบางอย่างอาจนำไปสู่สาเหตุของการเกิดได้
     •Valve: วาวล์ ปิด-เปิดต่างๆ
     •Steam traps: อุปกรณ์ดักจับน้ำ
     •Vacuum system: ระบบดูดอากาศ
     •Chamber drain strainers: ระบบท่อระบายของตู้อบ
คำแนะนำ
     •ตรวจสอบ Steam traps และ Steam line ที่เข้าสู่เครื่อง
     •ตรวจสอบทำความสะอาด ระบบกรองท่อระบายน้ำที่ออกจากตู้อบ
     •ตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบ Vacuum ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.Steam supply issue: สาเหตุจากระบบจ่ายไอน้ำ

ระบบไอน้ำที่มาจ่ายให้กับเครื่อง จะต้องมีการตรวจสอบระบบท่อส่งก่อนที่จะมาถึงเครื่อง มีการหุ้มฉนวนเพื่อป้องกันการควบแน่นของไอน้ำ (Condensation) ได้ครอบคลุมหรือไม่?
มีระบบ Water traps เพื่อดักจับการควบแน่นของไอน้ำ จากท่อส่งก่อนเข้าสู่เครื่องหรือไม่?
ท่อส่งมีการอุดตันหรือไม่? เพราะหากท่อส่งมีการอุดตัน จะทำให้การไหลของไอน้ำที่มาจ่ายให้กับเครื่องไม่ได้ตามปกติ ไอน้ำที่เข้ามาอาจไม่ใช่ไอน้ำอิ่มตัว (Saturated steam) อาจจะเป็นแค่ไอน้ำแห้ง (Dry steam) ซึ่งเป็นสาเหตุของการตกค้างของไอน้ำในรอบการอบ นำไปสู่การเกิด Wet Packs
คำแนะนำ
     •ตรวจสอบตัวดักจับไอน้ำ (Steam traps) ทุกตัวตั้งแต่จากตัวเครื่องไปจนถึง หม้อต้ม (Boiler)
     •ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ไอน้ำที่เข้าสู่เครื่องเป็นไอน้ำอิ่มตัว และสามารถทำให้แห้งได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม

4.Improper storage: สาเหตุจากการเก็บไม่เหมาะสม

โดยทั่วไปของที่นำออกจากเครื่อง จะร้อนและมีไอน้ำอยู่ภายในจำนวนหนึ่ง ปัญหาอาจเกิดจากตอนการนำไปเก็บ มีการนำไปวางกองทับกัน ทำให้บางส่วนเกิด air pocket โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ด้านในสุด ท้ายที่สุดก็นำไปสู่การเกิด  Wet Packs
     •หลังจากนำของออกจากเครื่องแล้วไปที่ไหน? 
     •จัดวางเรียงอย่างไร? 
คำแนะนำ
     •อย่าวางเรียงแบบกองหนังสือ!
     •อย่างวางทับซ้อน
     •อย่านำออกจากตู้อบทันที และไม่ควรให้กระทบกับอากาศเย็นทันที

เมื่อเกิด Wet Packs จะทำอย่างไร?

     •หยุดใช้งาน
     •หาสาเหตุให้พบ ลงมือแก้ไข
     •วางแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

สรุป: ทางป้องกันที่ดีที่สุดคือ ควรกำหนดมาตรฐาน ขั้นตอนการใช้งาน และให้นำไปเป็นหลักตรวจสอบการปฎิบัติประจำวัน (Daily routine) เพื่อให้มั่นใจว่า ขั้นตอนต่างๆ ได้รับการปฎิบัติอย่างครบถ้วน


ท้ายที่สุด ถ้าพึ่งจะเจอ Wet Packs เป็นครั้งแรก ให้ถามตัวเองว่า

1.     เจ้าหน้าที่ที่ปฎิบัติงานล่าสุดก่อนการเกิดปัญหาเป็นคนใหม่หรือไม่?
2.    การตั้งค่ากำหนดต่างๆ (เวลา อุณหภูมิ ระยะการอบแห้ง อื่นๆ) มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
3.    รอบนั้น มีการโหลดของอย่างถูกต้องหรือไม่?
4.    ระบบ Steam ก่อนหน้านี้มีปัญหาหรือไม่? เช่นไฟดับ
5.    ดูขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์ หรือกระบวนการใด มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้างหรือไม่?

สุวิทย์ แว่นเกตุ: แปลเรียบเรียง
อ้างอิง https://consteril.com/wet-packs-guide/


Access time 1:23 pm, 7/9/2016
  • https://www.cssd-gotoknow.org/
  • https://www.angelicteam.com/

[Angelicteam – Design Healthcare Solutions โซลูชันด้านสุขภาพ – นิยามใหม่ของความเป็นเลิศด้านงานปลอดเชื้อ]



                                               

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม (READ MORE) >>

แสดงเพิ่มเติม

◉ โพสต์ที่มีการดูมากที่สุด

การทำให้ปราศจากเชื้อ Sterilization

การบริหารงานจ่ายกลาง (Central Sterile Supply Management)

การเก็บห่ออุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ