ทำอย่างไร 4 ปี ไม่เคยทำ สปอร์เทสต์ สามารถผ่าน HA !


นี่คือข้อเท็จจริง ที่ได้ไปทราบมาจากผู้ปฏิบัติงานใน CSSD แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดระดับโรงพยาบาลศูนย์ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาล HA มาแล้ว

หากเราอยู่ในวงการ CSSD เราคงทราบกับโดยทั่วไปถึงมาตรฐานในการทำให้ปราศจากเชื้อที่เกี่ยวกับการใช้ตัวตรวจสอบหรือตัวชี้วัด (Sterilization monitoring control system) หรือที่เรามักจะเรียกกันจนติดปากว่า “อินดิเคเตอร์”

อินดิเคเตอร์” ที่เราใช้กันตามมาตรฐานก็มี 

อันแรก Mechanical indicators ที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงความพร้อมและความสมบูรณ์ในประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง เช่น การทดสอบด้วย Bowie Dick, การดูรายงานผลการทำงานของเครื่องที่แสดงออกมาทางจอภาพหรือทางกระดาษพิมพ์ (Print-out report) และความพร้อมทำงานของเครื่อง (Ready to  use) แสดงให้ทราบ ที่เราสามารถดูจากจอภาพของเครื่อง

อันที่สอง Packing indicators or Chemical indicators ที่ใช้สำหรับตรวจสอบขั้นตอนการทำงานของเครื่องว่าสมบูรณ์หรือไม่ ซึ่งก็จะมี External indicators ที่สามารถบอกได้ว่าผ่านหรือไม่ผ่านกระบวนการ ด้วยการสังเกตุดูได้อย่างชัดเจนจากภายนอกโดยไม่ต้องเปิดเข้าไปดูภายในห่อ เช่น Indicators tape, Dot indicators, label indicators และอินดิเคเตอร์ที่ติดมากับซอง แต่สำหรับการตรวจสอบภายในห่อก็จะใช้ Internal indicators ซึ่งทั้ง External และ Internal indicators จะมีการแบ่งกลุ่มให้ใช้กันตามความเหมาะสมกับความปลอดภัย ตั้งแต่ กลุ่มที่ 1 ถึง 5 (Class 1,2,3,4 and 5)

อันที่สาม Loading indicators or Biological indicators สำหรับตัวชี้วัดตัวนี้เราเรียกกันว่า สปอร์เทสต์ หรือตัวตรวจสอบทางชีวภาพ (Spore test or Biological indicators) ที่อาจจะเห็นกันในรูปแบบของ สปอร์ที่เป็นหลอด (Self-Contain Biological Indicators: SCBI) หรือตอนหลังมาในรูปแบบแพ็คสำเร็จรูป ที่เรียกว่า “พีซีดี” (Process Challenge Devices: PCD) ซึ่งในส่วนของ Biological indicators หรือ Spore test นี้จะใช้เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญว่าในรอบการอบฆ่าเชื้อนั้นๆของเครื่องสามารถฆ่าเชื้อได้จริง โดยจะต้องมีการนำมาอ่านผลด้วยการอุ่นเพาะเชื้อเปรียบเทียบในภายหลัง

อินดิเคเตอร์ทั้งสามตัวนี้ (Mechanical indicators, Chemical indicators, Biological indicators ) ถือว่ามีความสำคัญจะขาดดัวใดตัวหนึ่งไปไม่ได้ ต้องใช้ผลลัพธ์ที่ได้ออกมายืนยันซึ่งกันและกันทั้งหมดทั้งสามตัว

ประเด็นข้อมูลที่ผมได้รับรู้มาก็คือ โรงพยาบาล ใช้เครื่องอบฆ่าเชื้อระบบแก๊สเอ็ทธิลีนอ็อกไซด์ (Ethylene oxide gas Sterilizer) อบฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูง (High risk items) 

ในระยะเวลาที่ผ่านมาไม่เคยใช้ การทำทดสอบด้วยการทำสปอร์เทสต์ หรือตัวตรวจสอบทางชีวภาพ ข้อมูลเท่านี้ทำให้ผมประหลาดใจและเกิดคำถามขึ้นมากมาย... เพราะโรงพยาบาลแห่งนี้ ผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานจาก HA มาหลายครั้งแล้ว

สิ่งที่ผมต้องตั้งคำถามก็คือ เกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง เกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการรับรองมาตรฐานของ HA และโรงพยาบาลต้องการอะไร ระหว่างความปลอดภัยที่แท้จริงของคนไข้กับการได้รับรองมาตรฐาน HA


◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม (READ MORE) >>

แสดงเพิ่มเติม

◉ โพสต์ที่มีการดูมากที่สุด

การทำให้ปราศจากเชื้อ Sterilization

การเก็บห่ออุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ

การบริหารงานจ่ายกลาง (Central Sterile Supply Management)