หม้อนึ่งไอน้ำภายใต้ความดันPortable Steam Sterilizer
หม้อนึ่งไอน้ำภายใต้ความดัน เป็นเครื่องนึ่งไอน้ำชนิดแทนที่อากาศขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้ มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
![]() |
Steam Sterilizer System |
-หม้อนึ่ง ประกอบด้วยตัวหม้อนึ่งด้านนอกและฝาครอบซึ่งทำด้วยเหล็กกล้าอย่างดี ทนต่อความดันและความร้อนได้เป็นอย่างดี รอบๆ ตัวหม้อด้านบนจะมีล๊อค ระหว่างตัวหม้อและฝาครอบ 6 ตัว เพื่อทำให้ฝาหม้อปิดสนิทและรักษาความดันภายในหม้อไว้ในขณะนึ่งด้วยไอน้ำ
-หม้อนึ่งชั้นใน เป็นถังรูปทรงกระบอกทำจากอลูมินั่ม มีขนาดเล็กกว่าตัวหม้อด้านนอก ใช้สำหรับใส่อุปกรณ์เพื่อทำให้ปราศจากเชื้อ โดยขณะใช้จะวางหม้อไว้ในหม้อนึ่ง ด้านในจะมีท่อสำหรับใส่ท่อระบายอากาศจากก้นหม้อ
-ตะแกรง ทำจากสแตนเลส ใช้สำหรับจัดเรียงอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อทำให้เกิดช่องว่างบริเวณก้นหม้อทำให้ไอน้ำกระจายและไหลเวียนได้ทั่วถึง
-ท่อระบาย / ดูดอากาศ เป็นท่อเชื่อมต่อจากฝาครอบของหม้อนึ่งไปยังก้นหม้อ โดยใส่ผ่านท่อด้านข้างของหม้อนึ่งชั้นในเพื่อระบายอากาศจากก้นหม้อขึ้นไปและออกทางฝาครอบ
-มาตรวัดความดันและอุณหภูมิ อยู่บนฝาครอบด้านบนของหม้อนึ่ง
-ปุ่มควบคุมความดัน ตรงปลายเปิดของท่อระบายอากาศที่ฝาครอบด้านบนของหม้อนึ่งจะมีปุ่มปรับปิด – เปิดให้อากาศหรือไอน้ำออกจากหม้อนึ่ง
-ตัวอุดความดัน ที่ฝาครอบด้านบนจะมีอุปกรณ์ที่มีลิ้นอยู่ภายใน ซึ่งลิ้นจะเป็นยางเทียมสีส้มแดงชนิดทนน้ำมัน ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ความดันภายในหม้อนึ่งสูงมากเกินไป โดยช่วยให้ความดันอยู่ระหว่าง 30 – 35 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
-ตัวลดความดัน เป็นอุปกรณ์ที่อยู่ด้านบนของฝาครอบมีลิ้นเป็นพลาสติกอยู่ด้านนอก ภายในจะมีสปริงต่อจากด้านในของหม้อนึ่งทำหน้าที่ลดความดันภายในหม้อไม่ให้เกิน 23 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว โดยเมื่อความดันเพิ่มสูงขึ้นจะดันสปริงให้ลิ้นเปิดให้ไอน้ำออกมาทำให้ความดันภายในหม้อลดลง
![]() |
Portable Steam Sterilizer |
![]() |
Portable Steam Sterilizer |
![]() |
Portable Steam Sterilizer |
หลักการทำงานของหม้อนึ่งไอน้ำภายใต้ความดัน
- -การทำงานของหม้อนึ่งไอน้ำใช้หลักการแทนที่อากาศภายในหม้อนึ่งด้วยไอน้ำ เมื่อน้ำในหม้อนึ่งชั้นนอกได้รับความร้อนจนเดือดกลายเป็นไอ จะกระจายอยู่รอบๆ ภายในหม้อนึ่งชั้นนอก และกระจายเข้าหม้อนึ่งชั้นในจากบริเวณด้านบน และแทรกซึมเข้าไปในห่ออุปกรณ์ที่อยู่ภายในหม้อนึ่ง พร้อมทั้งผลักดันอากาศภายในหม้อนึ่งที่เย็นกว่าออกไป
- -ทางด้านล่างของหม้อนึ่ง และระบายออกทางท่อระบายอากาศด้านล่างไปสู่ภายนอกบริเวณฝาครอบของหม้อนึ่งด้านบน เมื่อพบว่ามีไอน้ำพุ่งออกมาอย่างแรงเป็นเวลาประมาณ 4 – 5 นาที แสดงว่าอากาศภายในหม้อนึ่งถูกแทนที่ด้วยไอน้ำหมดแล้ว จึงปิดปุ่มควบคุมความดันโดยการโยกปุ่มปรับให้อยู่ในแนวนอน (ดังภาพ) ความดันจะกระจายอยู่ภายในหม้อนึ่งและปรากฏออกมาที่มาตรวัดความดัน เมื่อความดันถึง 17 – 19 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว จึงจับเวลาที่ใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อนานอย่างน้อย 35 นาที
- -การทำให้ปราศจากเชื้อโดยเครื่องชนิดนี้ การห่อและการจัดเรียงอุปกรณ์มีความสำคัญมาก เนื่องจากถ้าห่อขนาดใหญ่หรือบรรจุห่ออุปกรณ์เข้าในหม้อนึ่งมากเกินไปจนแน่นหรือจัดวางไม่เหมาะสม อากาศภายในหม้อนึ่งบางส่วนไม่สามารถถูกแทนที่โดยไอน้ำร้อนได้ จะทำให้ห่ออุปกรณ์ที่อยู่ในส่วนนั้นไม่ปราศจากเชื้อ