คุณภาพน้ำ (Water Quality) สำหรับงานการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ

ตอนที่10  #คุณภาพน้ำ (Water Quality) สำหรับงานการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ

คุณภาพน้ำ (Water Quality)

            คุณภาพของน้ำ มีความสำคัญในทุกขั้นตอนของกระบวนการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ หากน้ำที่ใช้ในงานจ่ายกลางไม่มีคุณภาพจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเครื่องมือแพทย์ อาจทำให้เกิดการชำรุดเสียหาย จากการกัดกร่อนหรือมีคราบฝังแน่น ทำให้ประสิทธิภาพของกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อลดลง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยจากอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้เครื่องมือแพทย์หรือจากการติดเชื้อ น้ำที่นำมาใช้จำเป็นต้องมีการตรวจสอบและปรับปรุงเป็นระยะๆ ทั้งนี้ควรมีการกำหนดเป็นมาตรฐานตามบริบทของสถานพยาบาลนั้นๆ เช่น ตรวจทุกเดือน ทุกสามเดือน ทุกหกเดือน เป็นต้น

การประเมินคุณภาพน้ำ

            การตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ใช้ในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ งานจ่ายกลางควรมีการตรวจอย่างสม่ำเสมอตามบริบทของแต่ละสถานพยาบาล หากตรวจพบความผิดปกติของคุณภาพน้ำ จะต้องทำการแก้ไขหรือปรับปรุงให้ได้ตามมาตรฐาน น้ำที่ใช้ในการล้างเครื่องมือแพทย์ และน้ำที่ใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อควรเลือกใช้ให้เหมาะสม ตามตาราง 5.1

ตาราง 5.1 แสดงการเลือกชนิดของน้ำที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติในงานจ่ายกลาง

ดัดแปลงจาก – Association for the Advancement of Medical Instrumentation (AMMI). 2004 Comprehensive guide to steam sterilization and sterility assurance in health care facilities.  American National Standard ANSI/AAMI TIR 34:2014

ตาราง 5.2 คุณภาพน้ำที่ใช้ในกระบวนการทำลายเชื้อ และทำให้ปราศจากเชื้อเครื่องมือแพทย์

 
ดัดแปลงจาก – Association for the Advancement of Medical Instrumentation (AMMI). 2004 Comprehensive guide to steam sterilization and sterility assurance in health care facilities.  American National Standard ANSI/AAMI TIR 34:2014

หมายเหตุ:

Utility Water คือ 
น้ำประปาสำหรับสาธารณูปโภคทั่วไป เป็นน้ำที่มาจากระบบประปาปกติ ซึ่งอาจจำเป็นต้อง ได้รับการบำบัดให้ได้ตามมาตรฐานตามข้อกำหนดตามตารางที่ 5.2 น้ำประปาจะถูกนำไปใช้สำหรับการชะล้าง (flushing) การขัดล้าง (Washing) การล้าง (Rinsing) น้ำบาดาลไม่จัดเป็นน้ำประปา

Critical Water 
คือน้ำที่ได้รับการบำบัด เช่น การกรองผ่านแผ่นคาร์บอน การกรองให้น้กระด้างน้อยลง และการขจัดอิออนเพื่อให้ได้น้ำบริสุทธิ์ที่ปราศจากเกลือแร่ การบำบัดน้ำให้ผ่านวิธีรีเวอร์สออสโมซิสหรือการกลั่นเพื่อให้มั่นใจว่าเชื้อจุลชีพ สารอนินทรีย์ สารอินทรีย์ในน้ำได้รับการกำจัดออกไป น้ำชนิดนี้เหมาะที่จะนำไปใช้สำหรับการล้างในขั้นตอนสุดท้าย (Final Rinsing) และใช้เป็นน้ำสำหรับเครื่องทำให้ปราศจากเชื้อทุกปประเภท 

การตรวจสอบคุณภาพน้ำตามบริบทของแต่ละสถานพยาบาลมีค่ามาตรฐานที่แนะนำให้ตรวจ 12 ตัวแปรตามตารางที่ 5.3


ตารางที่ 5.3 ตัวแปรที่ต้องตรวจสอบและค่ามาตรฐาน

ดัดแปลงจาก European Norm (EN). Sterilization-Steam Sterilizer-large Sterilizers.  EN 285:2006 (Appendix B)


การบำบัดน้ำใช้ในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ

            น้ำประปามีคุณภาพไม่ดีพอในการนำมาใช้ในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ งานจ่ายกลางจำเป็นต้องมีการบำบัดน้ำเพื่อขจัดสิ่งปนเปื้อนหรือสารบางชนิดออกจากน้ำ ซึ่งวิธีการในการบำบัดน้ำทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หรือความต้องการในการใช้งาน ซึ่งการบำบัดน้ำแต่ละวิธีมีการบำรุงรักษาแตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่า น้ำที่นำมาใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อมีคุณภาพอยู่เสมอ


วิธีการบำบัดน้ำมีดังต่อไปนี้
1.การทำน้ำอ่อน  (Softener) 
ทำได้โดยการผ่านน้ำประปาไปในเรซินที่มีความสามารถในการดักจับเกลือแคลเซียม แมกนีเซียม และแร่ธาตุหนักต่างๆ โดยใช้เกลือโซเดียมเข้าไปแทนที่เกลือเหล่านั้น ซึ่งโซเดียม จะมีความสามารถในการละลายน้ำได้ดีกว่าและไม่ก่อให้เกิดคราบ เมื่อเรซินนั้นเต็มไปด้วย hardness ions จะใช้เกลือโซเดียมเข้าไปแทนที่อีกครั้ง โดยการล้างด้วยน้ำเกลือ ซึ่งจะทำให้เรซินกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง 

2.การทำน้ำ Deionize (DI) 
เกิดจากการใช้เรซิ่นหลายประเภท เช่น แคทอิออนเรซิ่น (Cation Resin) แอนอิออนเรซิน (Anion Resin) คาร์บอน แมงกานีส เป็นต้น เพื่อกำจัดไอออนบวกและไอออนลบ และแร่ธาตุต่างๆ ในน้ำหรือจะใช้ใส้กรองเรซิ่นตามที่กล่าวข้างต้น ร่วมกับระบบ Reverse Osmosis, RO ก็จะได้น้ำ Deionized ขึ้นอยู่กับน้ำตั้งต้นที่นำเข้ามาบำบัด 

3.การทำน้ำ Reverse Osmosis (RO) 
เป็นวิธีการทำให้น้ำบริสุทธิ์ โดยการผ่านน้ำเข้าไปในเยื่อเมมเบรน (Semi Permeable Membrane) ซึ่งมีขนาดความกว้างของรูที่ 0.0005 ไมครอน (เปรียบเทียบกับขนาดของแบคทีเรียนที่ 0.2-1 ไมครอน) เพื่อขจัดอิออน โมเลกุล และสารแขวนลอยที่มีขนาดใหญ่จากน้ำ แต่เยื่อเมมเบรนนี้สามารถถูกทำลายได้ง่ายโดยคลอไรด์ Metal ions และอื่นๆ ดังนั้นน้ำที่ก่อนจะผ่านเครื่องทำน้ำ RO นั้นควรจะผ่านการกรองจากเครื่องทำน้ำอ่อน (Soft Water) มาก่อน 

4.การทำน้ำกลั่น (Distilled Water) 
เกิดจากกระบวนการทำให้น้ำกลายเป็นไอและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ สามารถขจัดเชื้อจุลชีพ Endotoxin ที่ละลายอยู่ในน้ำออกได้  

การปรับปรุงคุณภาพน้ำ (Water Quality Initiatives)


            หากน้ำที่ใช้ในกระบวนการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อไม่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด จะส่งผลกระทบต่อเครื่องมือแพทย์ การปรับปรุงคุณภาพน้ำจึงสำคัญและจำเป็นต่องานจ่ายกลางมาก การปรับปรุงคุณภาพประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การประเมินคุณภาพน้ำ (Assessment of Water Quality) 
ประเมินคุณภาพของน้ำที่ใช้ในสถานพยาบาล โดยการส่งน้ำตรวจวิเคราะห์ เพื่อหาสารที่ปนอยู่ในน้ำ และประเมินความจำเป็นรวมทั้งวิธีการที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำ น้ำดื่มที่ได้จากแหล่งบริการน้ำสาธารณะ ควรได้รับการตรวจวิเคราะห์โดยอุปกรณ์เครื่องมือที่เชื่อมั่นได้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเป็นผู้ปฏิบัติ การตรวจสอบว่าน้ำนั้นควรได้รับการบำบัดหรือไม่ และถ้าต้องบำบัดแก้ไข จำเป็นต้องจัดการด้วยวิธีการรูปแบบใด การตรวจสอบวิเคราะห์นี้ควรคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างของคุณภาพน้ำตามวาระและฤดูกาลด้วย เช่นกัน

ขั้นตอนที่ 2 การปรับปรุงคุณภาพน้ำ (Implementation of Water Treatment Process) 
นำผลจากการประเมินคุณภาพน้ำในขั้นตอนที่ 1 มาเลือกวิธีการในการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ระดับน้ำที่มีคุณภาพตามที่ต้องการและเหมาะสมกับการใช้ในกระบวนการทำความสะอาด การทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ 

ขั้นตอนที่ 3 การประกันคุณภาพน้ำ (Assurance of Proper Water Quality) 
ตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ใช้ในแต่ละกระบวนการในการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อเพื่อให้มั่นใจว่า น้ำมีคุณภาพที่เหมาะสม

ขั้นตอนที่ 4 การควบคุมคุณภาพน้ำ (Ongoing Monitoring of Water Quality) 
ติดตามควบคุมกำกับกระบวนการในการบำบัดน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการอย่างเหมาะสมสำหรับตรวจสอบคุณภาพ น้ำที่ใช้ในสถานพยาบาลควรตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการควบคุมคุณภาพของน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำที่นำมาใช้ในการทำความสะอาด และทำให้ปราศจากเชื้อมีคุณภาพ

ในการจัดการคุณภาพน้ำสำหรับกระบวนการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์นั้น ต้องได้รับความร่วมมือระหว่างบุคลากรผู้ปฏิบัติงานกับฝ่ายบำรุงรักษาคุณภาพน้ำและฝ่ายบริหารจึงจะประสบผลสำเร็จในการดูแลคุณภาพของน้ำตามข้อแนะนำทั้ง 4 ขั้นตอนข้างต้น   

...........................................................................

ตอนที่ นิยามศัพท์: หลักการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ

ตอนที่ หลักการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ

ตอนที่ การทำให้ปราศจากเชื้อ วิธีการทางกายภาพ (Physical Method) 

ตอนที่ การทำให้ปราศจากเชื้อ วิธีการทางเคมี (Chemical Method)

ตอนที่ การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ (Cleaning of Medical Devices)

ตอนที่ การเลือกใช้สารทำความสะอาด (Detergent)

ตอนที่ 8 การเตรียมก่อนทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์

ตอนที่ 9 #การทำให้เครื่องมือแพทย์แห้ง และ การตรวจสอบความสะอาดเครื่องมือแพทย์

...........................................................................

  • https://www.cssd-gotoknow.org/
  • https://www.angelicteam.com/

[Angelicteam – Design Healthcare Solutions โซลูชันด้านสุขภาพ – นิยามใหม่ของความเป็นเลิศด้านงานปลอดเชื้อ]



                                               

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม ตามหมวดหมู่เนื้อหา >>

แสดงเพิ่มเติม