การบริหารงานจ่ายกลาง (Central Sterile Supply Management)
ตอนที่11 #การบริหารงานจ่ายกลาง (Central Sterile Supply Management)
มาดูเรื่องการบริหารงานของหน่วยจ่ายกลาง ในโรงพยาบาลหรือในสถานพยาบาล เราควรจัดการเตรียมการหรือบริหารงานบริการอย่างไรบ้าง รวบรวมมาเพื่อเป็นแนวทาง เอาไปเริ่มต้นในการปรับเปลี่ยนได้
การบริหารงานจ่ายกลาง (Central Sterile Supply Management)
งานจ่ายกลางเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญมากหน่วยงานหนึ่งของสถานพยาบาล มีหน้าที่รับผิดชอบในกระบวนการรับเครื่องมือที่ปนเปื้อน การทำความสะอาด การบรรจุห่อ และการทำให้ปราศจากเชื้อ และการแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ที่ปราศจากเชื้อเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้กับผู้ป่วยใหม่ได้อย่างปลอดภัย
เรื่องหลักๆในการจัดการก็คือ
- การกำหนดนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- การจัดการอาคาร สถานที่
- การจัดการด้านสาธารณูปโภค
- การจัดหาครุภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์
- การจัดการด้านบุคลากร
- การจัดทำตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
การกำหนดนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- การจัดการเครื่องมือแพทย์เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ประกอบด้วย การทำความสะอาด การทำลายเชื้อ การทำให้ปราศจากเชื้อตามที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์กำหนด เหมาะสมตามแนวปฏิบัติสำหรับเครื่องมือแพทย์ที่ปกเปื้อน หรือเครื่องมือแพทย์ที่หมดอายุการปราศจากเชื้อ (Expire date) ทั้งเครื่องมือแพทย์ของสถานพยาบาล
- เครื่องมือแพทย์ที่นำมาจากภายนอก (Loaner Management) การจัดการสถานที่ สิ่งแวดล้อม และสาธารณูปโภค รวมทั้งการให้บริการงานจ่ายกลาง
- การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ เช่น การทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม การจัดเก็บข้อมูลที่สามารถตรวจสอบขั้นตอนและประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน การเรียกคืนเครื่องมือเมื่อเกิดความล้มเหลว การกำกับดูแลกระบวนการปฏิบัติงานที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคลากรและความปลอดภัยของผู้ป่วย การไม่นำเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ครั้งเดียวกลับมาใช้ซ้ำ เป็นต้น
- กระบวนการจัดซื้อจัดหา การบำรุงรักษาเชิงป้องกันและซ่อมบำรุงเครื่องมือแพทย์ วัสดุครุภัณฑ์ ต้องมีเอกสารคำแนะนำการใช้งานจากบริษัทผู้ผลิต (IFU) กรณีจัดซื้อจัดหาสารเคมีต้องมีเอกสารข้อมูลความปลอดภัยที่สำคัญของสารเคมี (Safety Data Sheet) และบุคลากรต้องมีความรู้และสามารถเข้าถึงเอกสารได้โดยง่าย
- การบริหารจัดการบุคลากร ควรมีการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณสมบัติ การศึกษา การฝึกอบรม รวมถึงควรคำนึงถึงชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรในการปฏิบัติงาน
- การบริหารจัดการความเสี่ยง ควรครอบคลุมถึงการรายงานอุบัติการณ์ โดยคำนึงคุณภาพ ความทันต่อเวลา ความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร มุ่งเน้นการเรียนรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่องขององค์กร เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยของูผู้ป่วย
- การจัดการภาวะฉุกเฉิน งานจ่ายกลางต้องจัดให้มีแผนรองรับกรณีฉุกเฉิน หรือเกิดภัยพิบัติต่างๆ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย
- การกำหนดตัวชี้วัด ควรครอบคลุมมิติของคุณภาพด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ของประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร
>การบริหารงานจ่ายกลาง (Central Sterile Supply Management)< |
...........................................................................
ตอนที่ 1 นิยามศัพท์: หลักการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ
ตอนที่ 2 หลักการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ
ตอนที่ 3 การทำให้ปราศจากเชื้อ วิธีการทางกายภาพ (Physical Method)
ตอนที่ 4 การทำให้ปราศจากเชื้อ วิธีการทางเคมี (Chemical Method)
ตอนที่ 5 การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ (Cleaning of Medical Devices)
ตอนที่ 6 การเลือกใช้สารทำความสะอาด (Detergent)
ตอนที่ 8 การเตรียมก่อนทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์
ตอนที่ 9 #การทำให้เครื่องมือแพทย์แห้ง และ การตรวจสอบความสะอาดเครื่องมือแพทย์
ตอนที่10 #คุณภาพน้ำ (Water Quality) สำหรับงานการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ
...........................................................................
- https://www.cssd-gotoknow.org/
- https://www.angelicteam.com/