บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2022

◉ โพสต์ ล่าสุด New Post

กิจกรรมใน CSSD ที่ส่งผลต่อ Carbon Footprint: การใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว (Single-use packaging) (#5)

รูปภาพ
การใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว (Single-use packaging)  รายละเอียดของกิจกรรมการใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว (Single-use packaging)ในหน่วยงาน CSSD (Central Sterile Supply Department) ในโรงพยาบาลที่ส่งผลต่อ Carbon Footprint หรือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา โดยมุ่งเน้นให้บุคลากร CSSD กิจกรรมใน CSSD ที่ส่งผลต่อ Carbon Footprint: การใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว (Single-use packaging)  การใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว (Single-use packaging) คำอธิบาย: CSSD ใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว เช่น Crepe Paper, SMS Nonwoven หรือกระดาษใน Bowie and Dick test paper pack เพื่อห่อเครื่องมือแพทย์ก่อนนึ่งฆ่าเชื้อ ตัวอย่างเช่น Crepe Paper ขนาด 100x100 ซม. น้ำหนัก 60 gsm อาจใช้ 250 ชิ้น/เดือน (150 กก./ปี) ส่วน SMS Nonwoven อาจใช้ 200 ชิ้น/เดือน (120 กก./ปี) ขึ้นอยู่กับการออกแบบการห่อ การผลิตวัสดุเหล่านี้ต้องใช้ทรัพยากร เช่น ไม้ (สำหรับกระดาษ) หรือปิโตรเลียม (สำหรับพลาสติกใน SMS Nonwoven) และการกำจัดโดยการเผาหรือฝังกลบปล่อยก๊าซคาร์บอนเพิ่มเติม ผลกระทบต่อ Carbon Footprint:      ก...

มาตรฐานการเคลื่อนย้ายเครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อน

รูปภาพ
ตอนที่ 7 # การรวบรวมและการเคลื่อนย้ายเครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อน ........................................................................... การรวบรวมและการเคลื่อนย้ายเครื่องมือแพทย์ปนเปื้อน  (Collection and Transportation of Contaminated Medical Devices) การรวบรวมและการเคลื่อนย้ายเครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งและสิ่งสกปรกต่างๆ ต้องทำด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อในสิ่งแวดล้อมของสถานพยาบาล การรับเครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อน บุคลากรควรปฏิบัติดังนี้ 1.เครื่องมือแพทย์ที่ใช้กับผู้ป่วยแล้ว ทำการแยกอุปกรณ์ที่ต้องทิ้ง (ใบมีด เข็มฉีดยาและอื่นๆ ) ลงในภาชนะรองรับที่กำหนดไว้ ณ หน่วยงานที่ใช้เครื่องมือแพทย์ < ทำการแยกอุปกรณ์ที่ต้องทิ้ง > 2.ต้องขจัดสิ่งสกปรกชิ้นใหญ่จากเครื่องมือแพทย์ ณ จุดที่ใช้งาน (Point of Use) ในกรณีที่ไม่สามารถส่งงานจ่ายกลางได้ทันทีหลังจากการใช้งานแล้ว  3.เครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อนควรเก็บไว้ไม่ให้แห้งเกรอะกรัง โดยสามารถใช้ผ้าชื้นปกคลุม หรือใช้ผลิตภัณฑ์แบบโฟมหรือสเปรย์ฉีดพ่น เพื่อทำให้เครื่องมือชุ่มชื้นไม่แห้ง < โฟมหรือสเปรย์ฉีดพ่น...

การเลือกใช้สารทำความสะอาด (Detergent)

รูปภาพ
ตอนที่ 6 #การทำให้ปราศจากเชื้อ ........................................................................... การเลือกใช้สารทำความสะอาด (Detergent) การนำสารทำความสะอาดมาใช้ทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ บุคลากรมีหน้าที่ในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ ควรศึกษาข้อมูลของสารทำความสะอาดแต่ละชนิดโดยละเอียด จากข้อมูลผลิตภัณฑ์ของบริษัท และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องมือแพทย์นั้นๆ สารทำความสะอาดที่ใช้ในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ ควรมีคุณสมบัติที่ไม่กัดกร่อนเครื่องมือ ฟองน้อย ไม่ทิ้งคราบ และล้างออกได้ง่าย ชนิดของสารทำความสะอาดที่ใช่กับเครื่องมือแพทย์ 1. สารทำความสะอาดที่ผสมเอนไซม์ (Enzymatic Detergents) สารทำความสะอาดชนิดนี้ใช้ในการล้างเครื่องมือแพทย์ที่อุณหภูมิห้องหรือบริเวณที่มีอากาศเล็กน้อย เพื่อให้การออกฤทธิ์เร็วขึ้นในสภาวะที่เป็นกลาง ควรเลือกสารทำความสะอาดที่ผสมเอนไซม์ตามชนิดของสารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนบนเครื่องมือแพทย์ เช่น เลือด ไขมัน สารคัดหลั่งของร่างกาย เอนไซม์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาด ช่วยให้กระบวนการทำความสะอาดเร็วขึ้น และช่วยลดการแปรงและการขัดถูเครื่องมือแพทย์ ชนิดของเอ...

การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์

รูปภาพ
ตอนที่ 5 #การทำให้ปราศจากเชื้อ ........................................................................... การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ (Cleaning of Medical Devices) การทำความสะอาด หมายถึง การขจัดอินทรียสาร สิ่งสกปรก ฝุ่นละอองและสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ออกจากเครื่องมือแพทย์ การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญในกระบวนการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อเครื่องมือแพทย์ที่จะต้องนำกลับมาใช้ซ้ำ การทำความสะอาดควรปฏิบัติในบริเวณที่จัดไว้สำหรับทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์โดยเฉพาะ และผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment, PPE) อย่างถูกต้อง ภาพ: การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ ........................................ ปัจจัยที่มีผลต่อการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลต่อการทำความสะอาดดังนี้ 1.ชนิดของสิ่งที่ปนเปื้อนอยู่บนเครื่องมือแพทย์ (Soil type) เช่น เลือด สารคัดหลั่ง หากแห้งติดบนเครื่องมือแพทย์จะล้างออกได้ยาก 2.ลักษณะเครื่องมือแพทย์ (Medical Device Design) เครื่องมือแพทย์ที่มีซอ...

การทำให้ปราศจากเชื้อ (Sterilization)

รูปภาพ
ตอนที่ 4 # การทำให้ปราศจากเชื้อ ........................................................................... การทำให้ปราศจากเชื้อ (Sterilization) 2. วิธีการทางเคมี (Chemical Method)         การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีนี้ ใช้กับเครื่องมือแพทย์ที่ไม่สามารถทนความร้อนและความชื้นได้ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การอบแก๊สและการใช้น้ำยาทำลายเชื้อระดับสูง ภาพ: การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีการทางเคมี 2.1 การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการอบแก๊ส             2.1.1 เอทธิลีนออกไซด์ (Ethylene Oxide: EO)                เป็นแก๊สมีพิษ ไม่มีสี สามารถติดไฟและระเบิด ที่ความเข้มข้นต่ำจะไม่มีกลิ่น นำไปใช้ในการทำให้เครื่องมือแพทย์ที่ทนความร้อนและความชื้นไม่ได้ปราศจากเชื้อ เช่น พลาสติกที่มีจุดหลอมละลายต่ำ วัสดุที่มีเนื้อพรุนได้ทุกชนิด (All porous materials) หากใช้กับอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นท่อกลวงยาว และเส้นผ่าศูนย์กลางควรปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต (IFU) EO ไม่สามารถแทรกซึมผ่านโลหะ แก้ว สารหล่อลื่นที่ทำจากปิโตรเลียม ห้ามใช้ก...

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม ตามหมวดหมู่เนื้อหา >>

แสดงเพิ่มเติม