แนวทางการจัดเก็บอุปกรณ์เมื่อความชื้นสูง

แนวทางข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการปัญหาเรื่องความชื้นสัมพัทธ์ในห้องเก็บรักษาอุปกรณ์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อ

(เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2007 ในประเทศแคนาดา โดย CSA: Canadian Standards Association)

…………………………………………………………………………………………………………………
แนวทางการจัดเก็บอุปกรณ์เมื่อความชื้นสูง ในการเก็บรักษาอุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ

ปัจจุบัน สำหรับค่ามาตรฐานความชื้นสัมพัทธ์ทั่วๆไป ที่ยอมรับได้คือ 30 – 60% relative humidity

  • ของ CSA: Canadian Standards Association อยู่ที 30-70%
  • ของ American Standard; ANSI/AAMI ST79 อยู่ที 30-60%

สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องมีการติดตามตรวจสอบความชื้นสัมพัทธ์ในห้องเก็บรักษาอุปกรณ์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้ออย่างสม่ำเสมอ (ทุกวัน ถ้ามีปัญหาพบว่าเกินกำหนดให้เพิ่มความถี่มากขึ้น)

[สาเหตุที่ต้องดูแลไม่ให้ความชื้นสัมพัทธ์เกิน 70% ก็เพราะว่า เชื้อราในอากาศจะสามารถเจริญเติบโตได้ และอาจแทรกเข้าไปภายในห่อเครื่องมือได้, (e.g. “wicking” of microorganisms through the packaging) and moisture levels that will allow microbial growth (especially airborne fungi).]

สำหรับข้อมูลยืนยันว่าเมื่ออยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ความชื้นสัมพัทธ์เกิน 70% แล้วอยู่ได้นานเท่าไรนั้น ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน

ดังนั้นหากไม่สามารถควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ได้ ให้ถือหลักปฏิบัติดังนี้

แนวทางที่ 1
  1. การแจ้งเตือนไปยังแผนกผู้รับผิดชอบให้ตรวจสอบและการดำเนินการแก้ไข
  2. ประชุมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและพิจารณาว่าจะสามารถถ่ายโอนย้ายแพ็คเกจไปยังสถานที่อื่นที่มีการควบคุมความชื้นได้หรือไม่ เก็บให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในพื้นที่จัดเก็บที่ได้รับผลกระทบ
แนวทางที่ 2 (กรณีพบความชื้นที่กลายเป็นหยดน้ำมองเห็นด้วยตาเปล่า)
  1. เมื่อพบความชื้นที่กลายเป็นหยดน้ำ จะต้องหยุดใช้ห้ามแจกจ่าย และให้นำมาผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อใหม่
แนวทางที่ 3 (ไม่พบหยดน้ำมองเห็นด้วยตาเปล่า) ถ้าพบว่า ความชื้นสัมพัทธ์เกิน 70%
  1. ให้ตรวจสอบว่าเกิดหยดน้ำหรือไม่
  2. ถ้าไม่พบหยดน้ำและห่อไม่มีการชำรุดฉีกขาด ให้สามารถนำไปใช้ได้
  3. ถ้าความชื้นสัมพัทธ์เกิน 70% อยู่นานกว่า 24 ชั่วโมง ให้พิจารณาตามความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นดูว่า อันไหนใช้ได้ อันไหนต้องนำไปผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อใหม่ หรืออันไหนต้องทิ้งไป โดยให้พิจารณาดังนี้
  • สภาพแวดล้อมในการเก็บรักษา: ความเสี่ยงน้อยถ้า บริเวณจัดเก็บ เป็นบริเวณสะอาดมีมาตรฐานเรื่องชั้นวาง การจัดเรียง การหยิบเข้าออก
  • ห่อบรรจุ: บางห่ออาจสามารถทนทานและป้องกันความชื้นได้ดีกว่า ซึ่งสามารถสอบถามได้จากผู้ผลิต
  • ระยะเวลาที่ต้องสัมผัสกับความชื้นสูง: ยิ่งทิ้งระยะเวลานานยิ่งมีความเสี่ยงสูง การติดตามตรวจสอบความชื้นสัมพัทธ์ในห้องเก็บรักษาอุปกรณ์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อ อย่างสม่ำเสมอจะสามารถช่วยได้

อ้างอิง จาก:
1. CSA Z317.2 Special requirements for heating, ventilation, and air-conditioning (HVAC) systems in healthcare facilities.
2. CSA Z314.3 Effective sterilization in healthcare facilities by the steam process.
3. CSA Z314.2 Effective sterilization in healthcare facilities by the ethylene oxide process.
…………………………………………………………………………………………………………………
งานวิจัยที่แนะนำให้อ่านเพิ่มเติม
Temperature and humidity in the storage area of sterile materials: a literature review, Camila Quartim de Moraes Bruna1, Kazuko Uchikawa Graziano2
…………………………………………………………………………………………………………………
สุวิทย์ แว่นเกตุ:  แปลเรียบเรียงจาก Consensus Statement re: High Relative Humidity in Sterile Storage Areas: Prepared August 1, 2007, by an ad hoc committee of sterilization experts attending a Canadian Standards Association meeting

  • https://www.cssd-gotoknow.org/
  • https://www.angelicteam.com/

[Angelicteam – Design Healthcare Solutions โซลูชันด้านสุขภาพ – นิยามใหม่ของความเป็นเลิศด้านงานปลอดเชื้อ]



                                               

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม (READ MORE) >>

แสดงเพิ่มเติม

◉ โพสต์ที่มีการดูมากที่สุด

การทำให้ปราศจากเชื้อ Sterilization

การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการอบแก๊ส Ethylene Oxide (Eto)

การเก็บห่ออุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ