เจาะลึก "10 มาตรการ New normal" สำหรับโรงพยาบาลมาตรฐาน HA

 เจาะลึก "10 มาตรการ New normal" สำหรับโรงพยาบาลมาตรฐาน HA (ตอนที่ 1.)

มาตรการที่ถูกกำหนดออกมาให้โรงพยาบาลมาตรฐาน HA ต้องปฏิบัติตามมีอะไรบ้าง (1)

HA ได้ประกาศมาตรการออกมา 10 ข้อ เพื่อให้โรงพยาบาลมาตรฐาน HA นำไปใช้เป็นมาตรการต่อเนื่องในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ทั้งหมดมี 10 มาตรการ คือ

  • 1. มาตรการเข้ม คัดกรอง วัดไข้ ให้ครบทุกจุดเข้าออก
  • 2. ประชาชน พนักงาน ต้องสวมหน้ากากอนามัย
  • 3. มีฉากกั้นแบ่งส่วนระหว่างผู้ให้บริการและผู้ป่วย
  • 4. เว้นระยะห่าง 1-1.5 เมตร ทุกจุดรอคิว
  • 5. ทำความสะอาดจุดสัมผัสสาธารณะทุก ๆ 30 นาที ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อคุณภาพสูง
  • 6. มีเครื่องอบฆ่าเชื้อในห้องตรวจและห้องผู้ป่วย
  • 7. ติดตั้งแอลกอฮอล์เจลตามจุดต่าง ๆ อย่างเพียงพอ
  • 8. แยกอาคารผู้ป่วยโรคหวัดและผู้ป่วยต้องสงสัยอาการโควิด-19
  • 9. ฆ่าเชื้อลิฟท์ทุก 1 ชั่วโมง
  • 10. บริการชำระเงิน E-Payments

มาตรการที่น่าสนใจและต้องทำความเข้าใจคือ ข้อ 6. การอบฆ่าเชื้อในห้องตรวจและห้องผู้ป่วย

มีความสำคัญอย่างไร ทำไมต้องให้มี “การอบฆ่าเชื้อในห้องตรวจและห้องผู้ป่วย”

จากข้อมูลเกี่ยวกับ การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 มีประเด็นที่ต้องรู้และทำความเข้าใจเพื่อให้สามารถควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ เรื่องของการควบคุมไม่ให้มีเชื้อเกิดการตกค้างอยู่บนพื้นผิวสัมผัส (Surface) และการควบคุมไม่ให้มีการตกค้างปนเปื้อนอยู่ในอากาศ (Air-borne)

ก่อนอื่นมารู้กันก่อนว่า เชื้อ COVID-19  สามารถอยู่ในสภาวะแวดล้อมได้ยาวนานเท่าไหร่?

การพ่นฆ่าเชื้อด้วยระบบไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide) 
ข้อมูลจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค (2) บอกว่า ปกติไวรัสต้องอยู่ในเซลล์ร่างกายของคนหรือสัตว์ แต่หากอยู่ในสภาพแวดล้อมนอกร่างกายคนมันจะบอบบางและอ่อนแอลง รวมถึงไวรัส COVID-19

  • หากอยู่ในอากาศ เป็นน้ำมูก เสมหะ น้ำลาย น้ำตา อยู่ได้ 5 นาที
  • หากอยู่บนพื้น โต๊ะ ลูกบิดประตู อยู่ได้ 7 – 8 ชั่วโมง
  • หากอยู่ในผ้า หรือทิชชู อยู่ได้ 8 – 12 ชั่วโมง
  • หากอยู่บนโต๊ะพื้นเรียบ อยู่ได้ 24 – 48 ชั่วโมง
  • หากอยู่ในน้ำ อยู่ได้ 4 วัน
  • หากอยู่ในตู้เย็นหรือที่อุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส อาจอยู่ได้ถึง 1 เดือน

จากข้อมูลที่เผยแพร่โดยกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค จะเห็นว่า เชื้อ COVID-19  สามารถอยู่ในอากาศ เป็นน้ำมูก เสมหะ น้ำลาย น้ำตา อยู่ได้ 5 นาที และสามารถอยู่ได้นานถึง 2 วัน หรือ 48 ชั่วโมง ในกรณีที่อยู่บนโต๊ะพื้นเรียบ นั่นหมายถึงโอกาสที่ เชื้อ COVID-19 จะตกค้างอยู่ในห้องตรวจหรือห้องผู้ป่วยได้นานถึง 2 วัน ดังนั้น HA จึงมีมาตรการมาควบคุมเรื่องนี้ในห้องตรวจและห้องผู้ป่วย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

ในทางการแพทย์ เราจะมีวิธีจัดการเรื่องการตกค้างของเชื้อ COVID-19 ทั้งที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ (Air-borne) และปนเปื้อนอยู่บนพื้นผิว (Surface)  ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไรบ้าง ? 

อ่านต่อ (ตอนที่ 2.)

อ้างอิง: 

  1. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
  2. https://www.facebook.com/BureauofEpidemiology/posts/2702370343192366

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม ตามหมวดหมู่เนื้อหา >>

แสดงเพิ่มเติม