การเก็บห่ออุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ

การเก็บห่ออุปกรณ์ ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ

Shelf Life หมายถึง ระยะเวลาที่ห่ออุปกรณ์ยังคงสภาพปราศจากเชื้อ หลังจากผ้านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว   ห่ออุปกรณ์จะคงสภาพปราศจากเชื้อหรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมที่ห่ออุปกรณ์ถูกจัดวางไว้ และการหยิบจับหรือเคลื่อนย้ายห่ออุปกรณ์

วันหมดอายุที่ระบุไว้บนห่ออุปกรณ์เป็นระยะเวลาที่ห่ออุปกรณ์คงสภาพปราศจากเชื้อเมื่อเก็บไว้ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม (ideal conditions) คือ อุณหภูมิ 18 – 22 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 35 – 70%

แต่ในสภาพที่เป็นจริง สิ่งแวดล้อมอาจไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ดังนั้นระยะเวลาในการเก็บห่ออุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว จะพิจารณาจากสิ่งแวดล้อมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับห่ออุปกรณ์ (event-related) และวัสดุที่ใช้ในการห่ออุปกรณ์เป็นสำคัญ

การหยิบจับหรือเคลื่อนย้ายห่ออุปกรณ์  Sterile storage 

ระยะเวลาที่ห่ออุปกรณ์จะยังคงสภาพปราศจากเชื้อขึ้นอยู่กับ

ชนิดและความหนาของวัสดุที่ใช้ห่ออุปกรณ์ ซองใส่อุปกรณ์ที่ทำด้ยพลาสติกและปิดผนึกโดยใช้ความร้อน และของที่ด้านหนึ่งเป็นกระดาษด้านหนึ่งเป็นพลาสติก เป็นวัสดุที่ป้องกันการปนเปื้อนได้ดี ในสภาวะที่เหมาะสม หากบรรจุอุปกรณ์ในซองทั้งสองชนิดนี้ จะสามารถเก็บอุปกรณ์ไว้ในสภาพปราศจากเชื้อได้นานถึง 1 ปี

-วัสดุที่ใช้ห่ออุปกรณ์ที่มีความต้านทานต่อการปนเปื้อนน้อยที่สุด คือ วัสดุสังเคราะห์ (non-woven) ถึงแม้ว่าจะเก็บห่ออุปกรณ์ที่ห่อด้วยวัสดุสังเคราะห์ในสภาวะที่เหมาะสมจะสามารถคงสภาพปราศจากเชื้อได้นานเพียง 30 วัน

-การปิดผนึกหรือปิดห่ออุปกรณ์เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อระยะเวลาในการเก็บอุปกรณ์ ห่ออุปกรณ์ที่ปิดผนึกโดยใช้ความร้อนจะสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าห่อที่ปิดโดยใช้เทป

การหยิบจับห่ออุปกรณ์  การหยิบจับเคลื่อนย้ายห่ออุปกรณ์บ่อยครั้ง จะทำให้ระยะเวลาที่ห่ออุปกรณ์คงสภาพปราศจากเชื้อสั้นลง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ที่มีคมหรือมีปลายแหลม  หากบรรจุห่ออุปกรณ์เหล่านี้ลงในภาชนะที่ลึก บุคคลากรต้องค้นหาอุปกรณ์อาจส่งผลให้ห่ออุปกรณ์เกิดการฉีกขาด หรือเกิดเป็นรูง่ายยิ่งขึ้น

สภาวะแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น และการไหลเวียนอากาศ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวกับระยะเวลาในการคงสภาพปราศจากเชื้อของห่ออุปกรณ์ 

-อุณหภูมิที่สูงและมีความชื้นสูง จะทำให้ไอน้ำเกิดการกลั่นตัวภายในห่ออุปกรณ์ ทำให้เชื้อจุลชีพเจริญภายในห่อ ความชื้นจากบริเวณอ่างล้างมือ

-อ่างล้างเครื่องมือ อาจทำให้ห่ออุปกรณ์เกิดการปนเปื้อน

-บริเวณประตูทางเข้าออกจะมีอากาศพัดผ่าน ซึ่งสามารถพัดพาเชื้อจุลชีพไปอยู่บนห่ออุปกรณ์ ทำให้ระยะเวลาการเก็บห่ออุปกรณ์สั้นลง




    สภาวะแวดล้อม  Sterile storage 

    บริเวณที่เหมาะสมในการเก็บห่ออุปกรณ์

    ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว มีลักษณะดังนี้

    -เป็นบริเวณที่ไม่มีคนพลุกพล่าน ไม่มีลมพัดผ่าน
    -ควรอยู่ใกล้กับบริเวณที่ทำให้ปราศจากเชื้อ และควรมีการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 18 – 22 องซาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 35 – 70% 
    -อยู่ห่างจากอ่างล้างมือ อ่างล้างเครื่องมือ หรือท่อประปา
    -สามารถทำความสะอาดได้ง่าย การทำความสะอาดควรใช้วิธีเช็ดถู

    ระบบการเก็บอุปกรณ์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อ แบ่งออกได้เป็น 2 ระบบคือ

    1. Open shelving เป็นวิธีที่นิยมใช้โดยทั่วไป เพราะประหยัด ทำความสะอาดง่าย สะดวกในการหยิบจับอุปกรณ์ และไม่เปลืองพื้นที่ ชั้นวางของควรออกแบบให้สูงจากพื้นอย่างน้อย 8 นิ้วฟุต และวางให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 2 นิ้วฟุต  ห่างจากเพดานอย่างน้อย 18 นิ้วฟุต ชั้นวางของควรอยู่ห่างจากอ่างล้างมือ หน้าต่าง ประตู และช่องระบายอากาศ
      ระบบการเก็บอุปกรณ์ Open shelving
    2. Closed shelving  ระบบปิดหรือตู้เก็บอุปกรณ์จะช่วยป้องกันการปนเปื้อนได้ดีกว่าชั้นวางของ แต่มีราคาแพงกว่าชั้นวางของ ส่วนใหญ่จึงใช้สำหรับเก็บอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยได้ใช้บ่อย 
    ระบบการเก็บอุปกรณ์ Closed shelving

    ระยะเวลาเก็บห่ออุปกรณ์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อตามวิธีการห่อ
    (เมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 18 – 22 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 35 – 70% และไม่มีลมพัดผ่าน)

    วิธีการห่อ
    ระยะเวลานานที่สุดที่สามารถเก็บได้
    ห่อด้วยผ้าลินิน 2 ชั้น
    7 สัปดาห์
    ห่อด้วยผ้าหลังจากผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อแล้วจึงบรรจุในถุงพลาสติกปิดด้วยเทป
    3 เดือน
    ห่อด้วยกระดาษ
    8 สัปดาห์
    ห่อด้วย Plastic-paper ปิดด้วยความร้อน
    1 ปี
    Plastic films ปิดด้วยเทป
    3 เดือน
    Plastic films ปิดด้วยความร้อน
    1 ปี

    แปลจาก Fuller, J.R (1994). Surgical Technology: Principles and Practice. (3rd ed.). Philadephia : W.B.Saunders. p.62

    บริเวณที่เก็บห่ออุปกรณ์ที่ปราศจากเชื้อควรทำความสะอาดให้ดีที่สุดเพราะฝุ่นละออง แมลง และสัตว์กัดแทะอาจนำเชื้อจุลชีพสู่ห่ออุปกรณ์ได้  ควรทำความสะอาดพื้นทุกวัน  บริเวณที่ปฏิบัติงานควรเช็ดด้วยน้ำยาทำลายเชื้อ ชั้นและภาชนะบรรจุห่ออุปกรณ์ที่ปราศจากเชื้อ ควรเช็ดให้สะอาดเป็นประจำ  ขณะทำความสะอาดชั้นวางของควรหยิบจับห่ออุปกรณ์ให้น้อยที่สุด และเมื่อทำความสะอาดชั้นวางของควรรอให้พื้นแห้งก่อนที่จะนำห่ออุปกรณ์ไปวาง ควรตรวจดูและทำความสะอาดเพดาน ช่องระบายอากาศ หลอดไฟ พัดลมดูดอากาศ เป็นระยะๆ รถที่นำส่งอุปกรณ์ควรล้างทำความสะอาดเป็นประจำ
    FIFO : First in First out

    อุปกรณ์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อก่อน  ควรถูกนำไปใช้ก่อน (First in, first out : FIFO) การจัดเก็บอุปกรณ์เพื่อสะดวกในการหยิบใช้ อาจจัดเป็นระบบซ้ายไปขวา หรือหน้าไปหลัง คือ อุปกรณ์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อมาใหม่จัดเรียงไว้ด้านซ้าย หรือด้านหลังของชั้นวางของ เมื่อหยิบอุปกรณ์ไปใช้ให้หยิบด้านขวาก่อน หรือหยิบด้านหน้าก่อน ขึ้นอยู่กับระบบที่จัดวาง

    การนำส่งห่ออุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ

    การนำส่งห่ออุปกรณ์ควรกระทำด้วยความระมัดระวัง บุคคลากรควรล้างมือให้สะอาดและเช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าที่สะอาดก่อนหยิบจับห่ออุปกรณ์และหยิบห่ออุปกรณ์ด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้ห่ออุปกรณ์ตก ไม่โยนห่ออุปกรณ์ เพราะอาจทำให้ห่อฉีกขาดหรือหลุยลุ่ย  นำห่ออุปกรณ์จัดเรียงในรถเข็นที่มิดชิด สะอาดและเป็นรถที่ใช้สำหรับนำส่งห่ออุปกรณ์ที่ปราศจากเชื้อโดยเฉพาะเท่านั้น
    ขั้นตอนในการทำให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อ

    สรุปขั้นตอนในการทำให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อด้วยวิธีนึ่งด้วยไอน้ำ

    1. การทำความสะอาดอุปกรณ์
    2. การเตรียมอุปกรณ์
    3. การห่ออุปกรณ์
    4. การบรรจุห่ออุปกรณ์เข้าเครื่องนึ่งไอน้ำ
    5. การควบคุมดูแลการทำงานของเครื่องนึ่งไอน้ำ
    6. การเก็บรักษาอุปกรณ์
    7. การนำส่งอุปกรณ์  
    แบบแปลน ผัง รูปแบบ Work flow CSSD 

    ◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม (READ MORE) >>

    แสดงเพิ่มเติม

    ◉ โพสต์ที่มีการดูมากที่สุด

    การทำให้ปราศจากเชื้อ Sterilization

    การบริหารงานจ่ายกลาง (Central Sterile Supply Management)