การนำห่ออุปกรณ์เข้าเครื่องนึ่งไอน้ำ Loading
การนำห่ออุปกรณ์เข้าเครื่องนึ่งไอน้ำ ควรปฏิบัติดังนี้
![]() |
Steam Sterilizer and Loading |
-ห่อผ้าที่มีลักษณะแบน ควรวางบนชั้นวางในลักษณะตะแคง ถาดที่ใส่อุปกรณ์ที่มีช่องที่ก้นถาด ควรจัดวางในแนวราบ
-ห่ออุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ ควรวางไว้ชั้นล่างของเครื่องนึ่ง และควรวางให้ห่างกันประมาณ 2 – 4 นิ้วฟุต โดยวางบนชั้นเดียวกัน ห่อที่มีขนาดเล็กควรวางไว้ชั้นบน และแต่ละห่อควรห่างกันประมาณ 1 – 2 นิ้วฟุต และหากจัดเรียงห่ออุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กซ้อนกัน ควรจัดวางในลักษณะสับหว่าง
-การจัดวางห่ออุปกรณ์จะต้องไม่ให้ห่ออุปกรณ์สัมผัสกับผนังด้านใน พื้น หรือเพดานของช่องอบ
อุปกรณ์ที่ทำด้วยยาง ควรวางในลักษณะตะแคง วางหลวมๆ ไม่ติดกัน และจัดวางไว้บนชั้นวางเดียวกัน เพื่อให้ไอน้ำไหลเวียนและผ่านเข้าไปในห่ออุปกรณ์ได้สะดวก ไม่ควรจัดวางห่ออุปกรณ์ประเภทอื่นไว้ด้วยกันกับห่ออุปกรณ์ประเภทยาง
-อุปกรณ์ที่เป็นชามอ่าง หรือเป็นภาชนะที่เป็นของแข็ง ควรวางในลักษณะตะแคงข้าง เพื่อให้อากาศภายในผ่านออกได้สะดวก และหากมีหยดน้ำค้างอยู่ภายในภาชนะ น้ำจะสามารถไหลออกได้ง่าย หากจำเป็นต้องทำให้อุปกรณ์ประเภทนี้ปราศจากเชื้อพร้อมกับเครื่องผ้า ควรวางห่อภาชนะเหล่านี้ไว้ที่ชั้นล่างสุดของช่องอบของเครื่องนึ่งไอน้ำ
-การทำให้ปราศจากเชื้อไม่ควรนำขวดบรรจุสารน้ำเข้าเครื่องนึ่งไอน้ำพร้อมกับอุปกรณ์ประเภทอื่น เนื่องจากสารน้ำต้องการกระบวนการที่แตกต่างออกไป
-ระยะเวลาในการทำให้อุปกรณ์แต่ละประเภทปราศจากเชื้อขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์ที่ต้องการทำให้ปราศจากเชื้อ และประเภทของเครื่องนึ่งไอน้ำระยะเวลาสิ้นสุดที่กำหนดไว้ในการทำให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อ ด้วยเครื่องนึ่งไอน้ำแต่ละชนิด มีดังนี้
เครื่องนึ่งชนิด Gravity displacement
-ที่อุณหภูมิ 132 – 135 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 10 – 25 นาที
-ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 15 – 30 นาที
-ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 15 – 30 นาที
เครื่องนึ่งชนิด Pre-vacuum
-ที่อุณหภูมิ 132 – 135 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 3 – 4 นาที
การตรวจสอบห่ออุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนกาทำให้ปราศจากเชื้อ
-ควรนำรถที่บรรจุห่ออุปกรณ์ไปไว้ในบริเวณที่ไม่มีคนพลุกพล่าน
-ไม่ควรนำรถอุปกรณ์ไว้ในบริเวณที่มีลมพัดผ่านหรือไว้ใกล้พัดลม
-ไม่ควรจับต้องห่ออุปกรณ์เนื่องจากขณะที่ห่ออุปกรณ์ยังร้อนจะสามารถดูดซึมความชื้นได้เร็ว และเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่บนมืออาจจะเข้าไปในห่ออุปกรณ์ได้
-ไม่วางห่ออุปกรณ์ที่ยังร้อนบนโลหะหรือพื้นผิวที่เย็นจนกว่าจะแน่ใจว่า อุปกรณ์เย็นลงแล้ว
เมื่ออุปกรณ์เย็นลงแล้ว ควรตรวจสอบห่ออุปกรณ์ดูว่ามีการฉีกขาดหลุดลุ่ยเปียกชื้นหรือไม่ เมื่อจะนำห่ออุปกรณ์บรรจุลงในถุงพลาสติกเพื่อป้องกันฝุ่นละออง จะต้องมั่นใจว่าห่ออุปกรณ์แห้งสนิทดีแล้ว นอกจากนี้ควรตรวจดูว่า Chemical indicator คือเทปที่ติดบนห่ออุปกรณ์เปลี่ยนสีสม่ำเสมอหรือไม่ หากเทปไม่เปลี่ยนสี หรือเปลี่ยนสีไม่สม่ำเสมอ แสดงว่ามีปัญหาเกิดขึ้น ห่ออุปกรณ์ทุกห่อที่เข้านึ่งพร้อมกันกับห่ออุปกรณ์นี้ ถือว่าไม่ปราศจากเชื้อทั้งหมด
หากพบว่าห่ออุปกรณ์มีความชื้น ควรพิจารณาและตรวจสอบเกี่ยวกับ
ในการทำให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อ หน่วยงานควรมีการบันทึกข้อมูลในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด การบันทึกข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในกรณีที่เกิดความผิดปกติจากการใช้อุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว ทำให้สามารถติดตามดูขั้นตอนที่ไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดเพื่อการแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
- -การติดตั้งเครื่องนึ่ง
- -การควบคุมการทำงานของเครื่อง
- -คุณภาพและความดันไอน้ำที่นำเข้าเครื่อง
- -ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องนึ่งไอน้ำของผู้ปฏิบัติงาน
- -ระยะเวลาในการทำให้ปราศจากเชื้อ (exposure time) และ ระยะเวลาในการทำให้ห่ออุปกรณ์แห้ง (drying time)
- -การจัดวางห่ออุปกรณ์เข้าเครื่อง
การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการทำให้ปราศจากเชื้อ (Record keeping)
ในการทำให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อ หน่วยงานควรมีการบันทึกข้อมูลในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด การบันทึกข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในกรณีที่เกิดความผิดปกติจากการใช้อุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว ทำให้สามารถติดตามดูขั้นตอนที่ไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดเพื่อการแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
ข้อมูลที่ควรบันทึกไว้ มีดังนี้
- -วันที่ทำให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อ
- -ชนิดและหมายเลขของเครื่องนึ่งไอน้ำ
- -ครั้งที่บรรจุอุปกรณ์เข้าเครื่องนึ่งไอน้ำ
- -ผลการทดสอบทางเคมี เช่น Bowie Dick Test
- -ผลการทดสอบทางชีวภาพ (Spore Test)
- -ผู้นำอุปกรณ์เข้าเครื่อง
![]() |
การเก็บ และบันทึกผล ในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ |