ที่มาของการทำให้ปราศจากเชื้อ

จากการอักเสบเป็นหนองแล้วก็ตาย สู่การรอดชีวิต จากคุณูปการ ของ อิกนาซ ฟิลิปป์ เซมเมลไวสส์, หลุยส์ปาสเตอร์, และ โจเซฟ ลิสเตอร์

ยุคสมัยก่อนปีพ.ศ.2405 การผ่าตัดเกือบทุกรายจะต้องมีการติดเชื้อ ที่รู้กันในสมัยนั้นว่า ”การอักเสบเป็นหนองแล้วก็ตาย”

อิกนาซ ฟิลิปป์ เซมเมลไวสส์ (Ignaz Philipp Semmelweiss, ค.ศ. 1818-1865) แพทย์ชาวฮังการี เป็นผู้นําการทำให้ปราศจากเชื้อมาใช้เป็นครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ. 2390 ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีใครรู้จักว่าจุลินทรีย์เป็นสาเหตุของการทำให้เกิดโรค

เซมเมลไวสส์ แนะนําให้ล้างมือและเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนเสื้อผ้าทั้งของแพทย์และของผู้ป่วยให้สะอาดและให้แช่มือในน้ำยาคลอรีน ก่อนทำผ่าตัด

การค้นพบของเขา ได้ช่วยชีวิตของหญิงที่คลอดบุตรในโรงพยาบาลกลางของกรุงเวียนนาไว้มากมาย

ต่อมาอีกประมาณ 20 ปี (ราว พ.ศ. 2409) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ หลุยส์ปาสเตอร์ (Louis Pasteur,ค.ศ. 1822-1895) ค้นพบว่าเชื้อจุลินทรีย์เป็นตัวทําให้เกิดหนองและการอักเสบ

และแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อโจเซฟ ลิสเตอร์ (Joseph Lister,First Baron,ค.ศ. 1827-1912) ได้นํากรดคาร์บอลิค หรือที่รู้จักกันในนามของ ฟีนอล (phenol) มาเป็นยาฆ่าเชื้อโรคในบาดแผล
จากนั้นมาโรคติดเชื้อจากการทำศัลยกรรมก็ลดลง ไปได้อย่างมากมาย

โจเซฟ ลิสเตอร์ (Joseph Lister,First Baron,ค.ศ. 1827-1912)
หลุยส์ปาสเตอร์ (Louis Pasteur,ค.ศ. 1822-1895)

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม ตามหมวดหมู่เนื้อหา >>

แสดงเพิ่มเติม