การห่ออุปกรณ์ เพื่อการทำให้ปราศจากเชื้อ
การเตรียมและการห่ออุปกรณ์เพื่อนำไปทำให้ปราศจากเชื้อโดยวิธีนึ่งด้วยไอน้ำPreparation and Packaging
การห่ออุปกรณ์ก่อนนำเข้าเครื่องนึ่งด้วยไอน้ำ
ช่วยป้องกันมิให้อุปกรณ์เกิดการปนเปื้อนเชื้อหลังจากที่อุปกรณ์ได้ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว
ทั้งในขณะเก็บและนำส่งอุปกรณ์ไปยังหน่วยงานต่างๆ
การห่ออุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้มั่นว่าอุปกรณ์ที่อยู่ภายในห่อจะคงสภาพปราศจากเชื้อจนกว่าจะถูกนำออกจากห่อไปใช้งาน
คุณสมบัติที่ดีของวัสดุที่ใช้ห่ออุปกรณ์เพื่อนำไปทำให้ปราศจากเชื้อแต่ละวิธี
1.เป็นวัสดุที่เหมาะสมกับวิธีการทำให้ปราศจากเชื้อแต่ละวิธี
2.ทนความร้อน
3.สามารถป้องกันการซึมของน้ำและของเหลวได้
4.สามารถทนต่อกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อได้
เช่น ทนต่ออุณหภูมิสูง ความชื้น ความดัน
5.ยอมให้สารที่ทำให้ปราศจากเชื้อ
เช่น ไอน้ำ แก๊สผ่านเข้าออกได้สะดวก
6.ยอมให้อากาศผ่านออกได้
7.มีความคงทนไม่ฉีกขาดหรือมีรูทะลุได้ง่าย
เมื่อมีการฉีกขาด หรือมีรูเกิดขึ้น สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
8.สามารถป้องกันมิให้อุปกรณ์ที่อยู่ภายในเสียหาย
9.ไม่มีสารพิษตกค้าง
10.ไม่มีเศษผงหรือเส้นใยตกค้าง
11.สามารถจัดรูปทรงได้ง่าย
ตามรูปร่างลักษณะของอุปกรณ์
12.การนำอุปกรณ์ออกจากห่อ
ทำได้โดยไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อน
13.มีราคาเหมาะสม
วัสดุที่เหมาะสมในการใช้ห่ออุปกรณ์ที่จะนำไปทำให้ปราศจากเชื้อโดยวิธีนึ่งไอน้ำ
ได้แก่
ผ้า (Woven textile fabrics หรือ muslin หรือ linen) การห่ออุปกรณ์ด้วยผ้า ควรห่อด้วยผ้า 2 ชั้น จำนวน 2 ชิ้น (รวมความหนา 4 ชั้น) เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและเชื้อจุลชีพ ปิดห่ออุปกรณ์โดยใช้เทปที่ใช้สำหรับการทำให้ปราศจากเชื้อ (autoclave tape) ไม่ใช้เข็มกลัด หรือลวดเย็บกระดาษในการปิดห่ออุปกรณ์
วัสดุอื่นที่ไม่ใช่ผ้า (nonwoven fabrics) ได้แก่ กระดาษ และพลาสติก ซึ่งมีให้เลือกหลายประเภท และหลายลักษณะ
-กระดาษ (paper) กระดาษที่ใช้ห่ออุปกรณ์เพื่อนำไปทำให้ปราศจากเชื้อ เป็นกระดาษสีน้ำตาลเนื้อหยาบ (Kraft paper) นิยมใช้ห่อถุงมือและอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ กระดาษประเภทนี้ยอมให้ไอน้ำผ่านได้สะดวก แต่ก็ยังไม่เร็วเท่าผ้า
-กระดาษ (paper) กระดาษที่ใช้ห่ออุปกรณ์เพื่อนำไปทำให้ปราศจากเชื้อ เป็นกระดาษสีน้ำตาลเนื้อหยาบ (Kraft paper) นิยมใช้ห่อถุงมือและอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ กระดาษประเภทนี้ยอมให้ไอน้ำผ่านได้สะดวก แต่ก็ยังไม่เร็วเท่าผ้า
-พลาสติก (plastic) พลาสติกช่วยป้องกันฝุ่นละอองและเชื้อจุลชีพได้ดีมาก หากการปิดผนึกทำอย่างดี และไม่มีรอยฉีกขาด ไม่มีรูบริเวณห่ออุปกรณ์ จะสามารถเก็บอุปกรณ์ที่บรรจุไว้ในห่อพลาสติกที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อแล้วได้เป็นเวลานาน พลาสติกมีความคงทน ใส ทำให้มองเห็นอุปกรณ์ที่อยู่ภายใน และสามารถปิดผนึกโดยใช้ความร้อนได้ พลาสติกที่ใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ์ มักทำเป็นลักษณะซอง ซึ่งเมื่อบรรจุอุปกรณ์ลงในซองแล้ว จะต้องปิดผนึกโดยใช้ความร้อน พลาสติกที่ใช้บรรจุอุปกรณ์เพื่อนำไปผ่ากระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ ได้แก่
1. Polyethylene (Polythene) นิยมใช้ในการบรรจุอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแผล ซึ่งทำให้ปราศจากเชื้อโดยใช้แก๊ส ethylene oxide หรือโดยใช้รังสี (ionizing radiation) ไอของแก๊ส ethylene oxide สามารถผ่าน polyethylene ที่มีความหนา 0.076 มิลลิเมตรได้โดยค่อยๆ ซึมผ่านเข้าไปและผ่านออกมา
Polyethylene ไม่เหมาะที่จะใช้กับเครื่องนึ่งไอน้ำเนื่องจากอากาศและไอน้ำ ไม่สามารถซึมผ่านเข้าไปได้แล polyethylene จะละลายเมื่อสัมผัสไอน้ำ
2. Polyamide (nylon) แผ่น nylon ทนความร้อนและยอมให้ไอน้ำผ่านได้ แต่ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการบรรจุห่ออุปกรณ์ที่จะนำไปทำให้ปราศจากเชื้อโดยเครื่องนึ่งไอน้ำ ทั้งชนิด pre-vacuum และ gravity displacement เนื่องจากการมีอากาศอยู่ภายในห่ออุปกรณ์ ทำให้ไอน้ำแทรกซึมเข้าไปในห่ออุปกรณ์ได้ช้า อาจทำให้ห่ออุปกรณ์แตกได้ นอกจากนี้ไอน้ำที่อยู่ในห่อไม่สามารถออกจากห่อได้หมด ทำให้เกิดหยดน้ำภายในห่อ
3. Polypropylene ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความหนาระหว่าง 1 – 3 mil (1 mil = 1/1000 นิ้วฟุต) เป็นพลาสติกชนิดเดียวที่ใช้กับวิธีการทำให้ปราศจากเชื้อโดยใช้ไอน้ำได้ แผ่น polypropylene ที่ใช้มักจะทำเป็นซองสำหรับบรรจุอุปกรณ์ ซึ่งเมื่อบรรจุอุปกรณ์หรือเครื่องมือแล้ว จะต้องปิดซองโดยใช้ความร้อนหรือซองสามารถผนึกได้โดยไม่ต้องใช้ความร้อน ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต polypropylene และ Aluminium foil ใช้ร่วมกัน จะใช้สำหรับบรรจุของเหลวหรือสารพวกน้ำมันได้
นอกจากนี้ยังมีวัสดุที่ใช้ใส่อุปกรณ์ที่ด้านหนึ่งเป็นพลาสติก อีกด้านหนึ่งเป็นกระดาษ ซึ่งเหมาะสำหรับการห่ออุปกรณ์ที่เป็นชิ้นเดียว สายสวน ท่อ และอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ วัสดุประเภทนี้มีข้อดีคือ ด้านที่เป็นกระดาษจะยอมให้ไอน้ำซึมผ่านเข้าไปได้ และด้านที่เป็นพลาสติกช่วยให้มองเห็นอุปกรณ์ที่อยู่ภายใน มีความทนทาน ราคาไม่แพงจนเกินไป และช่วยป้องกันเชื้อจุลชีพได้ดีมาก แต่ก็มีข้อเสียคือ ในการนำห่ออุปกรณ์เข้าเครื่องนึ่ง จะต้องระมัดระวังในการจัดเรียงห่ออุปกรณ์โดยให้ด้านที่เป็นกระดาษหันไปทางเดียวกัน และการปิดผนึกซองอุปกรณ์จะต้องพยายามไล่อากาศออกให้มาก ผนึกที่ปิดโดยใช้ความร้อนอาจแตกออกได้ขณะอยู่ในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ
กล่องหรือภาชนะบรรจุเครื่องมือที่ทำด้วยวัสดุที่แข็ง (Rigid containers) ออกแบบมาเพื่อใช้ในการบรรจุเครื่องมือผ่าตัด ป้องกันเครื่องมือเสียหายและหลังจากเครื่องมือผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว สามารถคงสภาพปราศจากเชื้อได้เป็นอย่างดี กล่องหรือภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องมือผ่าตัดนี้ อาจทำด้วยสแตนเลส อลูมิเนียม โพลีเมอร์ หรือโพลีเมอร์และโลหะผสมกัน และมีให้เลือกใช้ได้หลายขนาด บางชนิดใช้ระบบที่มีกระดาษกรอง เพื่อให้ไอน้ำสามารถผ่านเข้าในภาชนะได้ และสามารถป้องกันเชื้อจุลชีพได้ด้วย
Selection of packaging materials for sterilization
Process
|
Suitable
packaging material
|
Steam
Sterilization
|
§ Papers
§ Cellulose
/ synthetic wraps
§ Cotton,
cotton/polyester cloths
§ Sterilizable
cellophane
§ Window
packs (paper and heat-stable plastic)
§ Perforated
rigid containers with bacterial filters
§ Glass
containers for liquids (plastic containers for liquids sterilized
commercially)
|
Dry
heat sterilization (hot air oven)
|
§ Metal
canisters and tubes of aluminium foil
§ Glass
tubes, bottles
|
Ethylene
oxide sterilization
|
§ Paper
and plastic (combined in window pack), papers
§ Perforated
rigid containers with bacterial filters
|
Low-temperature
steam and formaldehyde process
|
§ Paper
§ Cloth
|
Radiation
Sterilization
|
§ Treated
paper
§ Polyethylene
(including Tyvek®)
§ Polyvinyl
chloride (PVC)
§ Polypropylene
§ Various
laminates, including metal foil
§ Cardboard
|
ที่มา Gardner, J.F.& Peel M.M. (1991). Introduction to
Sterilization Disinfection and Infection Control. (2nd ed.) Melbourne :
Churchill Livingstone. P.37
หลักการห่ออุปกรณ์เพื่อนำไปทำให้ปราศจากเชื้อ
วัสดุนั้นต้องยอมให้แก๊สหรือไอน้ำผ่านได้
สามารถป้องกันไม่ให้เชื้อจุลชีพเข้าไปภายในได้
สามารถทนต่อกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อได้
ลักษณะของห่ออุปกรณ์
ห่ออุปกรณ์มีขนาด รูปร่าง และเครื่องมือที่บรรจุอยู่ในภายในแตกต่างกัน จะต้องพิจารณาขนาดและความแน่นของเครื่องมือที่บรรจุภายในห่อให้เหมาะสม เพื่อให้ไอน้ำหรือแก๊สสามารถแทรกซึมเข้าสู่อุปกรณ์ได้อย่างทั่วถึง ห่อผ้าควรมีขนาดใหญ่ไม่เกิน 12 x 12 x 20 นิ้วฟุต และหนักไม่เกิน 5.5 กิโลกรัม (12 ปอนด์)
การห่ออุปกรณ์และการทำให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อโดยวิธีนึ่งไอน้ำ
เครื่องมือผ่าตัดที่ทำด้วย Stainless steel ควรจัดเรียงไว้ในภาชนะที่มีลักษณะเป็นถาด ที่บริเวณส่วนล่างของภาชนะมีรู เพื่อให้ไอน้ำสามารถผ่านและหมุนเวียนในภาชนะได้ เครื่องมือควรคล้องไว้กับห่วงอย่างเป็นระเบียบ ระมัดระวังไม่ให้อุปกรณ์ที่แหลมคมชี้ขึ้น เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่หยิบอุปกรณ์ใช้ การบรรจุเครื่องมือลงในภาชนะควรตรวจดูเครื่องมือให้ครบ ควรจัดวางเครื่องมือที่มีน้ำหนักมากไว้ที่ส่วนล่างสุดของภาชนะ จัดเรียงเครื่องมือให้เรียบร้อย เพื่อมิให้เครื่องมือชำรุดเสียหาย ขณะที่นำไปทำให้ปราศจากเชื้อควรตรวจสอบเครื่องมือเป็นระยะๆ เพื่อให้มั่นใจว่าอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม
เครื่องผ้า (Linen) ผ้าที่ใช้ห่ออุปกรณ์ ควรจะซักทุกครั้งหลังจากผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ และเครื่องผ้าที่บรรจุในห่ออุปกรณ์ก็ควรผ่านการซักมาใหม่ๆ น้ำเพียงจำนวนเล็กน้อยที่อยู่ระหว่างเส้นใยผ้า จะระเหยและผลักดันอากาศออกจากผ้าขณะอยู่ในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ ผ้าที่ไม่ได้ซักมาใหม่จะไม่มีน้ำอยู่ในเส้นใยผ้า ทำให้มีอากาศอยู่ในเส้นใยผ้า ไอน้ำจึงผ่านผ้าได้ไม่สะดวก ห่อเครื่องผ้าไม่ควรมีขนาดใหญ่กว่า 12 x 12 x 20 นิ้วฟุต
ชามอ่าง (Basins) ควรนำมาซ้อนรวมกัน โดยใช้ผ้าที่ดูดซับดีหรือผ้าขนหนูรองระหว่างชามอ่างแต่ละใบ เพื่อให้ไอน้ำผ่านเข้าไปยังบริเวณใต้อ่างที่ซ้อนกันได้ ภาชนะที่มีลักษณะเป็นถ้วย ควรจัดเตรียมในลักษณะเดียวกัน
อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นท่อ (Items with a lumen) ควรใส่น้ำกลั่น 2 – 3 หยด ลงในท่อก่อนที่จะนำอุปกรณ์ไปทำให้ปราศจากเชื้อ น้ำกลั่นที่ใส่ไปนี้จะกลายเป็นไอขณะที่อยู่ในกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ และดันอากาศที่อยู่ภายในท่อออกมา ทำให้ไอน้ำเข้าไปในท่อได้ หากมีอากาศหลงเหลืออยู่ภายในท่อ ไอน้ำไม่สามารถเข้าไปสัมผัสภายในท่อได้ อุปกรณ์ก็จะไม่ปราศจากเชื้อ
เครื่องมือผ่าตัดที่ใช้ไฟฟ้า (Powered surgical instruments) ควรทำให้ปราศจากเชื้อโดยวิธี Pre-vacuum steam sterilization เว้นแต่บริษัทผู้ผลิตห้ามใช้วิธีนี้
สารน้ำ (Solutions) ในการทำให้สารน้ำปราศจากเชื้อ ไม่ควรนึ่งสารน้ำพร้อมกับอุปกรณ์อื่นๆ เนื่องจากขั้นตอนการดูดอากาศออก (exhaust) จะต้องเป็นไปอย่างช้าๆ (slow exhaust)
ถุงมือ (Gloves) การนึ่งถุงมือ ควรนึ่งต่างหาก ไม่นึ่งปนกับอุปกรณ์อื่นๆ ควรบรรจุห่อถุงมือในตะแกรง และควรจัดวางห่อถุงมือในลักษณะตะแคง ไม่ให้ห่อสัมผัสผนังด้านในของเครื่องนึ่ง และควรจัดวางเพียงชั้นเดียว ไม่วางซ้อนกัน ตะแกรงที่บรรจุห่อถุงมือควรวางไว้ชั้นบนของเครื่องมือ ระยะเวลาที่ถุงมือสัมผัสไอน้ำที่อุณหภูมิ 121 – 123 องศาเซลเซียส ไม่ควารน้อยกว่า 15 นาที และไม่นานกว่า 20 นาที และใช้เวลาในการทำให้แห้ง 15 นาที หลังจากผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว ควรเก็บถุงมือไว้นาน 24 – 48 ชั่วโมง ก่อนที่จะนำถุงมือไปใช้ ซึ่งจะช่วยให้ยางที่ใช้ทำถุงมือมีความต้านทานต่อการดึงให้ยืด (tensile strength)
วิธีการห่ออุปกรณ์ ที่นิยมใช้มี 2 วิธีคือ
2.Envelope fold หรือ diagonal method ใช้สำหรับห่อของขนาดเล็ก
วิธีการห่อแบบ Square
Fold หรือ Straight Method มีขั้นตอนดังนี้
- -ปูผ้าที่จะใช้ห่อตามแนวยาว
นำเครื่องผ้าหรือเครื่องมือที่จะห่อวางไว้ตรงกลาง
- -พับผ้าที่ใช้ห่อเข้ามาปิดครึ่งหนึ่งของถาดเครื่องมือหรือเครื่องผ้า
แล้วตลบกลับ
- -พับผ้าอีกด้านหนึ่งให้ทับผ้าที่พับครั้งแรก
แล้วตลบกลับ
- -พับผ้าทางด้านซ้ายมือเข้ามาแล้วตลบปลายเล็กน้อย
- -พับผ้าด้านขวามือมาปิดผ้าที่พับมาทางด้านซ้ายมือ
6- 8. - การห่อชั้นที่สอง
ทำเช่นเดียวกับการห่อผ้าชั้นแรก
- -ติดเทปกาวเพื่อกันมิให้หลุด
ภาพแสดงการห่อ Square fold / Straight method Sterile packaging
วิธีการห่อแบบ
Envelope
Fold หรือ Diagonal Method มีขั้นตอนดังนี้
- -ใช้ผ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัสวางบนโต๊ะ
ให้ปลายหรือมุมผ้าด้านหนึ่งชี้ไปทางหัวโต๊ะ วางอุปกรณ์เครื่องมือ
หรือเครื่องผ้าไว้ตรงกลางผ้าที่ใช้ห่อ
- -พับมุมผ้าด้านล่างขึ้นมาปิดอุปกรณ์แล้วพับตลบปลายลง
เพื่อใช้หยิบเวลาเปิดห่ออุปกรณ์
- -พับชายผ้าด้านซ้ายเข้ามาปิดอุปกรณ์
แล้วพับตลบปลายผ้า
- -พับชายผ้าด้านขวามาปิด
และพับตลบปลายผ้า
- -ปิดผ้าด้านบนลงมา
สอดปลายผ้าไว้ด้านล่าง เพื่อสะดวกในการเปิดห่อ
6– 8. -ผ้าห่อชั้นที่สอง
ห่อเช่นเดียวกับการห่อผ้าชั้นแรก
- -ปิดห่ออุปกรณ์ด้วยกระดาษกาว
ภาพแสดงการห่อ Envelope fold / Diagonal method Sterile packaging