การทำลายเชื้อ Disinfection-2
แนวทางการปฏิบัติในการทำลายเชื้อ
- ควรสวมเครื่องป้องกัน ได้แก่ ถุงมือ แว่นตา เพื่อป้องกันมิให้มือสัมผัสกับสารเคมี และป้องกันการกระเด็นของน้ำยาเข้าตา น้ำยาที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อสูงมักจะมีพิษต่อร่างกาย
- ทำความสะอาดอุปกรณ์อย่างทั่วถึง เช็ดอุปกรณ์ให้แห้งก่อนนำไปแช่ในน้ำยาทำลายเชื้อเพื่อมิให้ความเข้มข้นของน้ำยาเปลี่ยนไป
- แช่อุปกรณ์ในน้ำยาทำลายเชื้อ โดยให้น้ำยาทำลายเชื้อสัมผัสทุกส่วนของอุปกรณ์ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นคีม เป็นท่อ มีรูกลวง จะต้องพยายามให้น้ำยาแทรกซึมเข้าไปให้ทั่ว
- แช่อุปกรณ์ในน้ำยาทำลายเชื้อโดยใช้เวลานานตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
- การทำลายเชื้อควรทำให้บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
- ควรใช้น้ำยาทำลายเชื้อที่เตรียมใหม่ ไม่ใช้น้ำยาทำลายเชื้อที่เตรียมไว้นาน เพราะการเก็บไว้นานอาจทำให้ประสิทธิภาพของน้ำยาลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเก็บในที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น เก็บไว้ในที่ที่มีอากาศร้อน มีแสงแดดส่อง หรือมีความชื้น
- อุปกรณ์ที่แช่น้ำยาทำลายเชื้อแล้ว จะต้องล้างน้ำยาออกให้หมด และทำให้แห้งโดยระมัดระวังมิให้อุปกรณ์เกิดการปนเปื้อนเชื้อซ้ำอีก
ขั้นตอนการทำลายเชื้อ
- ล้างเครื่องมือด้วยน้ำธรรมดาเพื่อขจัดคราบสกปรกต่างๆ ชั้นหนึ่งก่อน หลังจากนั้นเพื่อให้การล้างเครื่องมือสะดวกและสะอาด อาจใช้น้ำอุ่นผสมสารขัดล้างและใช้แปรงขัดถูเครื่องมือให้สะอาด โดยเฉพาะตามซอกมุกต่างๆ ของเครื่องมือ
- ล้างเครื่องมือให้สะอาดหมดคราบสารขัดล้างด้วยน้ำอีกครั้ง และเช็ดเครื่องมือให้แห้งเพื่อป้องกันมิให้น้ำที่ติดอยู่บนเครื่องมือทำให้ความเข้มข้นของน้ำยาทำลายเชื้อเปลี่ยนไป
- เลือกชนิดของน้ำยาทำลายเชื้อให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องมือ หากสามารถทำให้เครื่องมือปราศจากเชื้อหรือทำลายเชื้อโดยวิธีอื่นได้ ควรเลือกวิธีการทำลายเชื้อโดยใช้น้ำยาทำลายเชื้อเป็นวิธีสุดท้าย บุคคลากรจะต้องเข้าใจคุณสมบัติและข้อบ่งชี้ของน้ำยาทำลายเชื้อแต่ละชนิด
- ระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับน้ำยาทำลายเชื้อ และควรใช้น้ำยาทำลายเชื้อในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก พึงระลึกเสมอว่า น้ำยาทำลายเชื้อทำลายเชื้อโรคได้ และน้ำยาทำลายเชื้อสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อเซลของมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน เมื่อใช้น้ำยาทำลายเชื้อควรสวมถุงมือ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและป้องกันมือของบุคคลากร ควรสวมผ้าปิดปากและจมูกเพื่อป้องกันการระคายเคือง สวมแว่นตา เพื่อป้องกันไอระเหยของน้ำยาหรือน้ำยากระเด็นเข้าตา ควรปฏิบัติกิจกรรมในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และภาชนะบรรจุน้ำยาต้องมีฝาปิดมิดชิด
- แช่เครื่องมือในน้ำยาทำลายเชื้อที่มีความเข้มข้นเพียงพอ ที่อุณหภูมิที่เหมาะสม และแช่ในระยะเวลาที่นานพอ เพื่อให้น้ำยาทำลายเชื้อสามารถแทรกซึมเข้าไปที่ผนังเซลของเชื้อจุลชีพ และทำลายเชื้อได้อย่างสมบูรณ์ น้ำยาทำลายเชื้อแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ทั้งความเข้มข้นที่ใช้ อุณหภูมิที่เหมาะสม รวมทั้งระยะเวลาในการแช่
- ไม่ควรผสมน้ำยาทำลายเชื้อหลายชนิดเข้าด้วยกัน หรือผสมน้ำยาทำลายเชื้อกับผงขัดล้างเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อของน้ำยาลดลง
- ควรแช่เครื่องมือในน้ำยาทำลายเชื้อให้ทุกส่วนของเครื่องมือสัมผัสกับน้ำยาทำลายเชื้อ โดยเฉพาะเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นท่อ อาจมีฟองอากาศอยู่ในเครื่องมือ น้ำยาทำลายเชื้อจะไม่สามารถสัมผัสกับผิวของเครื่องมือได้ทั่วถึง
- ไม่แช่เครื่องมือในน้ำยานานเกินไป เพราะน้ำยาทำลายเชื้ออาจทำให้เครื่องมือชำรุดได้
- ภาชนะที่ใส่น้ำยาทำลายเชื้อ ควรมีฝาปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำยาทำลายเชื้อ
- ล้างเครื่องมือด้วยน้ำกลั่นปราศจากเชื้ออย่างน้อย 2 ครั้งเพื่อล้างน้ำยาทำลายเชื้อออกให้หมด ไม่ควรล้างเครื่องมือที่แช่น้ำยาทำลายเชื้อแล้วด้วยน้ำประปา เพราะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อซ้ำ สำหรับ Fiberoptic scope บางชนิด บริษัทผู้ผลิตระบุว่าควรราดด้วยแอลกอฮอล์เป็นลำดับสุดท้าย
- เช็ดเครื่องมือให้แห้งด้วยผ้าปราศจากเชื้อ และเก็บเครื่องมือในภาชนะที่ปราศจากเชื้อที่มีฝาปิดมิดชิด จนกว่าจะนำไปใช้
- ล้างเครื่องมือด้วยน้ำธรรมดาเพื่อขจัดคราบสกปรกต่างๆ ชั้นหนึ่งก่อน หลังจากนั้นเพื่อให้การล้างเครื่องมือสะดวกและสะอาด อาจใช้น้ำอุ่นผสมสารขัดล้างและใช้แปรงขัดถูเครื่องมือให้สะอาด โดยเฉพาะตามซอกมุกต่างๆ ของเครื่องมือ
- ล้างเครื่องมือให้สะอาดหมดคราบสารขัดล้างด้วยน้ำอีกครั้ง และเช็ดเครื่องมือให้แห้งเพื่อป้องกันมิให้น้ำที่ติดอยู่บนเครื่องมือทำให้ความเข้มข้นของน้ำยาทำลายเชื้อเปลี่ยนไป
- เลือกชนิดของน้ำยาทำลายเชื้อให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องมือ หากสามารถทำให้เครื่องมือปราศจากเชื้อหรือทำลายเชื้อโดยวิธีอื่นได้ ควรเลือกวิธีการทำลายเชื้อโดยใช้น้ำยาทำลายเชื้อเป็นวิธีสุดท้าย บุคคลากรจะต้องเข้าใจคุณสมบัติและข้อบ่งชี้ของน้ำยาทำลายเชื้อแต่ละชนิด
- ระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับน้ำยาทำลายเชื้อ และควรใช้น้ำยาทำลายเชื้อในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก พึงระลึกเสมอว่า น้ำยาทำลายเชื้อทำลายเชื้อโรคได้ และน้ำยาทำลายเชื้อสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อเซลของมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน เมื่อใช้น้ำยาทำลายเชื้อควรสวมถุงมือ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและป้องกันมือของบุคคลากร ควรสวมผ้าปิดปากและจมูกเพื่อป้องกันการระคายเคือง สวมแว่นตา เพื่อป้องกันไอระเหยของน้ำยาหรือน้ำยากระเด็นเข้าตา ควรปฏิบัติกิจกรรมในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และภาชนะบรรจุน้ำยาต้องมีฝาปิดมิดชิด
- แช่เครื่องมือในน้ำยาทำลายเชื้อที่มีความเข้มข้นเพียงพอ ที่อุณหภูมิที่เหมาะสม และแช่ในระยะเวลาที่นานพอ เพื่อให้น้ำยาทำลายเชื้อสามารถแทรกซึมเข้าไปที่ผนังเซลของเชื้อจุลชีพ และทำลายเชื้อได้อย่างสมบูรณ์ น้ำยาทำลายเชื้อแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ทั้งความเข้มข้นที่ใช้ อุณหภูมิที่เหมาะสม รวมทั้งระยะเวลาในการแช่
- ไม่ควรผสมน้ำยาทำลายเชื้อหลายชนิดเข้าด้วยกัน หรือผสมน้ำยาทำลายเชื้อกับผงขัดล้างเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อของน้ำยาลดลง
- ควรแช่เครื่องมือในน้ำยาทำลายเชื้อให้ทุกส่วนของเครื่องมือสัมผัสกับน้ำยาทำลายเชื้อ โดยเฉพาะเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นท่อ อาจมีฟองอากาศอยู่ในเครื่องมือ น้ำยาทำลายเชื้อจะไม่สามารถสัมผัสกับผิวของเครื่องมือได้ทั่วถึง
- ไม่แช่เครื่องมือในน้ำยานานเกินไป เพราะน้ำยาทำลายเชื้ออาจทำให้เครื่องมือชำรุดได้
- ภาชนะที่ใส่น้ำยาทำลายเชื้อ ควรมีฝาปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำยาทำลายเชื้อ
- ล้างเครื่องมือด้วยน้ำกลั่นปราศจากเชื้ออย่างน้อย 2 ครั้งเพื่อล้างน้ำยาทำลายเชื้อออกให้หมด ไม่ควรล้างเครื่องมือที่แช่น้ำยาทำลายเชื้อแล้วด้วยน้ำประปา เพราะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อซ้ำ สำหรับ Fiberoptic scope บางชนิด บริษัทผู้ผลิตระบุว่าควรราดด้วยแอลกอฮอล์เป็นลำดับสุดท้าย
- เช็ดเครื่องมือให้แห้งด้วยผ้าปราศจากเชื้อ และเก็บเครื่องมือในภาชนะที่ปราศจากเชื้อที่มีฝาปิดมิดชิด จนกว่าจะนำไปใช้
ควรศึกษาคุณสมบัติและวิธีการใช้น้ำยาทำลายเชื้อแต่ละชนิดให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
สวมถุงมือยางอย่างหนา แว่นตา ผ้าปิดปากและจมูก ผ้ากันเปื้อนพลาสติกและรองเท้าบู๊ท