การแบ่งประเภทอุปกรณ์ทางการแพทย์
ตามแนวคิดของ Dr. Spaulding อุปกรณ์ทางการแพทย์แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
Semi-critical items
Non-critical items
Critical items
เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ต้องสอดใส่เข้าสู่เนื้อเยื่อที่ปราศจากเชื้อของร่างกายหรือเข้าสู่กระแสโลหิต![]() |
Critical Item |
การทำให้อุปกรณ์ประเภทนี้ปราศจากเชื้อโดยใช้น้ำยาทำลายเชื้ออาจทำได้ หากวิธีการทำให้ปราศจากเชื้อวิธีอื่นไม่สามารถใช้ได้ น้ำยาทำลายเชื้อที่ใช้ได้แก่ 2% glutaraldehyde , 6% stabilized hydrogen peroxide, peracetic acidแต่การแช่อุปกรณ์ในน้ำยาทำลายเชื้อจะต้องใช้เวลาในการแช่อุปกรณ์ในน้ำยานาน 6-10 ชั่วโมงและจะต้องปฏิบัติตามแนวทางการทำลายเชื้อด้วยความระมัดระวัง คือต้องล้างอุปกรณ์ให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แช่อุปกรณ์ในน้ำยาทำลายเชื้อ ในระยะเวลา อุณหภูมิและระดับความเป็นกรดด่างตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ล้างด้วยน้ำกลั่นปราศจากเชื้อ เช็ดด้วยผ้าปราศจากเชื้อ และเก็บในภาชนะที่ปราศจากเชื้อ
Semi-critifcal items
เป็นอุปกรณ์ที่ต้องสัมผัสกับเยื่อบุของร่างกาย (mucous membrane) หรือผิวหนังที่มีบาดแผล มีรอยถลอก อุปกรณ์ประเภทนี้จะต้องไม่มีเชื้อจุลชีพอยู่ เยื่อบุของร่างกายที่มีลักษณะปกติ (ไม่มีแผล ไม่มีรอยถลอก) สามารถป้องกันการติดเชื้อจากสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียได้แต่มีความไวรับต่อการติดเชื้อ tubercle bacilli และเชื้อไวรัส![]() |
Semi-critical Item |
Noncritical items
เป็นอุปกรณ์ที่สัมผัสกับผิวหนังที่ปกติ ผิวหนังที่ไม่มีบาดแผลหรือไม่มีรอยถลอก และไม่ได้สัมผัสกับเยื่อบุของร่างกาย![]() |
Non-critical Item |