โรงพยาบาลรัฐบาลในประเทศไทย


โรงพยาบาลรัฐบาล

โรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาคจะขึ้นตรงกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรืออำเภอต่างๆ มีหลากหลายระดับตามขีดความสามารถ แต่สำหรับโรงพยาบาลในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) จะขึ้นตรงกับกรมการแพทย์ เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลสงฆ์ เป็นต้น

สำหรับโรงพยาบาลเฉพาะทางอื่นๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งในส่วนกลาง และในส่วนภูมิภาคจะขึ้นตรงกับกรมการแพทย์ทั้งหมด เช่น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถาบันโรคทรวงอก สถาบันประสาทวิทยา สถาบันโรคผิวหนัง สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นต้น ยกเว้นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดูแลรักษาผู้ป่วยทางด้านจิตเวชจะขึ้นตรงกับกรมสุขภาพจิต เช่น สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ สถาบันราชานุกูล เป็นต้น

นอกเหนือจากโรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ในประเทศไทยยังมีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่นๆ เช่น สภากาชาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงศึกษาธิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งกรุงเทพมหานคร อีกด้วย โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลรัฐบาลทั้งหมดจะให้บริการประชาชนตามสิทธิการรักษาในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ประเภทของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลต่างๆ แบ่งตามขีดความสามารถ และประเภทได้ดังนี้

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย - วิทยาลัยแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลประเภทนี้เป็นโรงพยาบาลในมหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์หรือวิทยาลัยแพทยศาสตร์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ระดับตติยภูมิขั้นสูง (Super Tertiary Care) ที่มีขีดความสามารถในการให้บริการและมีความพร้อมในการรักษาสูงสุด เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านการแพทย์ และเป็นโรงพยาบาลสำหรับการค้นคว้าวิจัยต่างๆ ในประเทศไทยมีอยู่ 12 แห่ง เรียงตามจำนวนเตียงดังนี้
  • โรงพยาบาลศิริราช และ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก กองทัพบก โดยความร่วมมือกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร โดยความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยความร่วมมือกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  • ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • โรงพยาบาลสวนสุนันทา ภายใต้การกำกับดูแลของวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ ร่วมกับวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม
  • โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ศูนย์วิจัยและกิจกรรมทางการแพทย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็นสถาบันผลิตแพทย์


โรงพยาบาลประเภทนี้เป็นสถานพยาบาลในมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับการบริการทางการแพทย์ทั่วไป และการแพทย์เฉพาะทาง รวมทั้งการค้นคว้าวิจัยต่างๆ โดยไม่ได้เป็นสถาบันหลักในการทำการเรียนการสอนของนิสิต และนักศึกษาแพทย์ ซึ่งมีดังนี้

  • โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ (โรงพยาบาลท่านผู้หญิงประภาศรี กำลังเอก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน) มหาวิทยาลัยบูรพา

โรงพยาบาลศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

ในปี พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย จัดทำ “โครงการร่วมผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท” เพื่อแก้ไขความขาดแคลนแพทย์ในส่วนภูมิภาค โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ต่างๆ ในการร่วมผลิตแพทย์ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงจัดตั้ง“สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท” ในปี พ.ศ. 2540 เพื่อรับผิดชอบโครงการดังกล่าว สำนักงานนี้มีฐานะเทียบเท่ากองในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้ชื่อย่อว่า “สบพช.”

สำหรับการจัดการเรียนการสอนนั้น ในระดับชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1-3) จะทำการเรียนการสอนที่คณะแพทยศาสตร์ (สำนักวิชาแพทยศาสตร์ / วิทยาลัยแพทยศาสตร์) ประจำมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ส่วนในระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4-6) จะอาศัย โรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลทั่วไป (บางแห่ง) และโรงพยาบาลศูนย์ (บางแห่ง) ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งเป็นสถาบันสมทบในการเรียนและฝึกปฏิบัติงานของนิสิตนักศึกษาแพทย์ โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์แพทยศาสตรศึกษา ชั้นคลินิก ปัจจุบัน ทาง สบพช. มีการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกขึ้นในโรงพยาบาลต่างๆ ที่เข้าร่วมเป็นสถาบันสมทบในการร่วมผลิตแพทย์เพื่อบริหารและจัดการเรียนการสอนนิสิตนักศึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลอันเป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษา ชั้นคลินิก เหล่านั้น อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้เป็นหน่วยงานหนึ่งของโรงพยาบาลนั้นๆ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ทั่วประเทศ มีจำนวน 41 แห่ง ดังนี้

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี
3 กองแพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ กรุงเทพมหานคร
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสระบุรี จังหวัดสระบุรี
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่
4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก
5 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลระยอง จังหวัดระยอง
3 กองแพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ กองทัพเรือ จังหวัดชลบุรี
4 โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย จังหวัดชลบุรี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา
มหาวิทยาลัยมหิดล (กลุ่มนักศึกษาแพทยศาสตร์พระบรมราชชนก)
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี
5 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
6 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลยะลา จังหวัดยะลา
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส
4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลปัตตานี จังหวัดปัตตานี
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

โรงพยาบาลส่วนกลาง
โรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนกลาง จะขึ้นตรงต่อกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีดังนี้

  • สถาบันธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี
  • โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) จังหวัดนครปฐม
  • โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลเลิดสิน กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรุงเทพมหานคร
  • สถาบันโรคผิวหนัง กรุงเทพมหานคร
  • สถาบันพยาธิวิทยา กรุงเทพมหานคร
  • สถาบันโรคทรวงอก กรุงเทพมหานคร

โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค
เป็นโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรืออำเภอต่างๆ มีหลากหลายระดับตามขีดความสามารถ

โรงพยาบาลศูนย์
โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดประจำภูมิภาคที่มีขีดความสามารถระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) มีจำนวนเตียงมากกว่า 500 เตียงในประเทศไทยมีอยู่ 26 แห่งจำแนกตามภาคดังต่อไปนี้

ภาคเหนือ

  • โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
  • โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง
  • โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย
  • โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[แก้]
  • โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
  • โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
  • โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
  • โรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
  • โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ภาคตะวันออก

  • โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี
  • โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี
  • โรงพยาบาลระยอง จังหวัดระยอง
  • โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี

ภาคกลาง

  • โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี
  • โรงพยาบาลสระบุรี จังหวัดสระบุรี
  • โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
  • โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม
  • โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ภาคใต้

  • โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • โรงพยาบาลยะลา จังหวัดยะลา
  • โรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง
  • โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

โรงพยาบาลทั่วไป
โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วไปหรือโรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่ที่มีขีดความสามารถระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) มีจำนวนเตียง 120 - 500 เตียง ในประเทศไทยมีอยู่ 74 แห่ง (รวมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้วด้วย)จำแนกตามภาค ดังนี้

ภาคเหนือ

  • โรงพยาบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร
  • โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่
  • โรงพยาบาลน่าน จังหวัดน่าน
  • โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
  • โรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่
  • โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
  • โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา
  • โรงพยาบาลกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
  • โรงพยาบาลสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
  • โรงพยาบาลสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
  • โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก
  • โรงพยาบาลศรีสังวร จังหวัดสุโขทัย
  • โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา
  • โรงพยาบาลแม่สาย จังหวัดเชียงราย
  • โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[แก้]
  • โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
  • โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
  • โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
  • โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
  • โรงพยาบาลยโสธร จังหวัดยโสธร
  • โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย
  • โรงพยาบาลนครพนม จังหวัดนครพนม
  • โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
  • โรงพยาบาลเลย จังหวัดเลย
  • โรงพยาบาลมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
  • โรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
  • โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • โรงพยาบาลหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู
  • โรงพยาบาลบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
  • โรงพยาบาลภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

ภาคตะวันออก

  • โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • โรงพยาบาลตราด จังหวัดตราด
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว

ภาคกลาง

  • โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี
  • โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
  • โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี
  • โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร จังหวัดชัยนาท
  • โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
  • โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม
  • โรงพยาบาลอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
  • โรงพยาบาลสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
  • โรงพยาบาลนครนายก จังหวัดนครนายก
  • โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
  • โรงพยาบาลสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
  • โรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
  • โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี
  • โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี
  • โรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
  • โรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี
  • โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
  • โรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

ภาคใต้

  • โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • โรงพยาบาลปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • โรงพยาบาลระนอง จังหวัดระนอง
  • โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
  • โรงพยาบาลพัทลุง จังหวัดพัทลุง
  • โรงพยาบาลปัตตานี จังหวัดปัตตานี
  • โรงพยาบาลกระบี่ จังหวัดกระบี่
  • โรงพยาบาลพังงา จังหวัดพังงา
  • โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล
  • โรงพยาบาลเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • โรงพยาบาลเบตง จังหวัดยะลา
  • โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
  • โรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
  • โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส
  • โรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) เป็นโรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภอสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ยกเว้นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้วที่เป็นโรงพยาบาลทั่วไปประจำจังหวัด) มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) หรือระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ในบางแห่ง มีจำนวนเตียง 30 - 200 เตียง
ดำเนินการโดยมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช โดยโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2520 ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีศาสตราจาย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งมีดำริที่จะสร้างโรงพยาบาลอำเภอ ขนาด 30 เตียง ในอำเภอท้องถิ่นทุรกันดารในขณะนั้น จำนวน 20 แห่ง ทั่วทุกภาคของประเทศ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นของขวัญแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีอภิเษกสมรส 3 มกราคม พ.ศ. 2520ปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่งดังนี้

ภาคเหนือ

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ จังหวัดเชียงราย
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย จังหวัดแพร่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จังหวัดขอนแก่น
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จังหวัดนครพนม
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย

ภาคตะวันออก

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว

ภาคกลาง

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี

ภาคใต้

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี จังหวัดปัตตานี
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา จังหวัดยะลา

โรงพยาบาลชุมชน
โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอทั่วไป มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) หรือระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ในบางแห่ง มีจำนวนเตียง 10 - 120 เตียง ในประเทศไทยมีอยู่ 723 แห่ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเดิมนั้นคือสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นสถานพยาบาลประจำตำบลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) โดยเกือบทั้งหมดจะไม่รับผู้ป่วยใน และไม่มีแพทย์ทำงานอยู่เป็นประจำ แต่จะอาศัยความร่วมมือกับแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีนโยบายที่จะพัฒนาสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้มีศักยภาพมากขึ้น จึงจัดสรรงบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็ง พ.ศ. 2555 เพื่อยกระดับสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

โรงพยาบาลเฉพาะทาง
Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้
โรงพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่นๆ
สภากาชาดไทย
เป็นโรงพยาบาลในสังกัดของสภากาชาดไทย มีอยู่ทั้งหมด 2 แห่ง

  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
เป็นโรงพยาบาลในสังกัดของ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร มีอยู่ทั้งหมด 10 แห่ง โดยมีโรงพยาบาลวชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยซึ่งบริหารโดยตรงโดย คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กรุงเทพมหานครกำลังดำเนินงานจัดหาพื้นที่และเตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาลดอนเมือง และโรงพยาบาลคลองสามวา เพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้นี้

  • วชิรพยาบาล
  • โรงพยาบาลกลาง
  • โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
  • โรงพยาบาลตากสิน
  • โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
  • โรงพยาบาลลาดกระบัง
  • โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
  • โรงพยาบาลสิรินธร
  • โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
  • โรงพยาบาลผู้สูงอายุ บางขุนเทียน

กรมแพทย์ทหารบก กระทรวงกลาโหม

  • โรงพยาบาลค่ายกฤษณ์สีวะรา
  • โรงพยาบาลค่ายกาวิละ
  • โรงพยาบาลค่ายขุนเจืองธรรมิกราช
  • โรงพยาบาลค่ายเขตอุดมศักดิ์
  • โรงพยาบาลค่ายจักรพงษ์
  • โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
  • โรงพยาบาลค่ายเทพสตรีศรีสุนทร
  • โรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์
  • โรงพยาบาลค่ายนวมินทราชินี
  • โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม
  • โรงพยาบาลค่ายพระยอดเมืองขวาง
  • โรงพยาบาลค่ายพ่อขุนผาเมือง
  • โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก
  • โรงพยาบาลค่ายภาณุรังสี
  • โรงพยาบาลค่ายเม็งรายมหาราช
  • โรงพยาบาลค่ายรามราชนิเวศน์
  • โรงพยาบาลค่ายวชิรปราการ
  • โรงพยาบาลค่ายวชิราวุธ
  • โรงพยาบาลค่ายวิภาวดีรังสิต
  • โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒนโยธิน
  • โรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร
  • โรงพยาบาลค่ายศรีสองรัก
  • โรงพยาบาลค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
  • โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
  • โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
  • โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์
  • โรงพยาบาลค่ายสุรนารี
  • โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • โรงพยาบาลค่ายสุรสิงหนาท
  • โรงพยาบาลค่ายสุรสีห์
  • โรงพยาบาลค่ายสุริยพงษ์
  • โรงพยาบาลค่ายเสนาณรงค์
  • โรงพยาบาลค่ายอดิศร
  • โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร
  • โรงพยาบาลทหารผ่านศึก
  • โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  • โรงพยาบาลอานันทมหิดล

กรมแพทย์ทหารเรือ กระทรวงกลาโหม

  • โรงพยาบาลฐานทัพเรือพังงา
  • โรงพยาบาลฐานทัพเรือสงขลา
  • โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ
  • โรงพยาบาลโรงเรียนนายเรือ
  • โรงพยาบาลป้อมพระจุลจอมเกล้า
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
  • โรงพยาบาลสรรพาวุธทหารเรือ
  • โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์

กรมแพทย์ทหารอากาศ กระทรวงกลาโหม

  • โรงพยาบาลกองบิน 1
  • โรงพยาบาลกองบิน 2
  • โรงพยาบาลกองบิน 4
  • โรงพยาบาลกองบิน 5
  • โรงพยาบาลกองบิน 7
  • โรงพยาบาลกองบิน 21
  • โรงพยาบาลกองบิน 23
  • โรงพยาบาลกองบิน 41
  • โรงพยาบาลกองบิน 46
  • โรงพยาบาลกองบิน 56
  • โรงพยาบาลจันทรุเบกษา
  • โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

  • โรงพยาบาลตำรวจ
  • โรงพยาบาลดารารัศมี
  • โรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่า

การรถไฟแห่งประเทศไทย

  • โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร

การท่าเรือแห่งประเทศไทย

  • โรงพยาบาลการท่าเรือแห่งประเทศไทย

การไฟฟ้านครหลวง

  • โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง

กระทรวงการคลัง

  • โรงพยาบาลโรงงานยาสูบ

กระทรวงยุติธรรม

  • ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม (READ MORE) >>

แสดงเพิ่มเติม

◉ โพสต์ที่มีการดูมากที่สุด

การทำให้ปราศจากเชื้อ Sterilization

การเก็บห่ออุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ

การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการอบแก๊ส Ethylene Oxide (Eto)