บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2015

การแก้ปัญหา Wet Pack ที่เกิดจาก แรงดันในท่อส่งไอน้ำ

รูปภาพ
Steam sterilizer ตัวเครื่องอบฆ่าเชื้อ ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ของการเกิด Wet Pack และปัญหา อย่างหนึ่งก็คือ Superheated steam ถ้าบริษัทผู้ผลิตจำหน่ายให้ความสำคัญและดูแลแก้ไขปัญหา Steam sterilizer มาเป็นอย่างดี รวมถึงการมีบริการหลังการขายที่ดี มีการตรวจสอบตัวเครื่องอบฆ่าเชื้อทุกครั้งที่มีปัญหา ติดตามบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ปัญหา Wet Pack ที่เกิดจากเครื่องก็จะสามารถแก้ไขได้ ระยะห่างระหว่างตัวเครื่องอบฆ่าเชื้อ กับแหล่งกำเนิดไอน้ำมีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดปัญหา Superheated steam ซึ่งตัวทำหน้าที่ควบคุมแรงดันไอน้ำ Reduction Valve มีระยะห่างจากตัวเครื่องมากเกินไป ระยะ  Reduction Valve ระยะที่เหมาะสมของวาวล์ควบคุมแรงดันไอน้ำ Reduction Valve ระยะควรอยู่ที่ไม่เกิน +/- 10 เมตร และความดันในท่อส่งก็ไม่ควรเกิน +/- 3 บาร์ เพราะถ้าแรงดันมีความแตกต่างกว่านั้นเช่นถ้าเป็น +/- 5 บาร์ อาจทำให้เกิดปัญหาการควบแน่นของไอน้ำเป็นหยดน้ำ Steam  Condensation ค้างอยู่ภายใน ถ้าเราสามารถปรับแก้หรือวางระบบให้ระยะทางระหว่างตัวเครื่องอบฆ่าเชื้อ กับแหล่งกำเนิดไอน้ำเหมาะสม โดยทำให้แรงดันมีความคงที่ ทำให้แรงดันไอน้ำ

Hexachlorophene

รูปภาพ
Hexachlorophene เป็นน้ำยาทำลายเชื้อที่ใช้กับผิวหนัง มีส่วนผสมของ Phenol ใช้สำหรับล้างมือ น้ำยานี้มีผลดีในการทำลายเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก แต่การออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า Hexachlorophene ยังคงประสิทธิภาพการทำลายเชื้อ Staphylococci แม้จะผสมในสบู่ หรือสารฟอกล้างที่มีสภาวะเป็นกลาง (neutral detergents) เหมาะที่จะใช้ในการทำลายเชื้อบนมือก่อนการผ่าตัด รวมทั้งใช้ในการทำความสะอาดผิวหนังของผู้ป่วยที่จะได้รับการผ่าตัด Hexachlorophene 

Quaternary Ammonium Compounds

รูปภาพ
Quaternary Ammonium Compounds (QACs.quats)  เป็นน้ำยาทำลายเชื้อระดับต่ำ สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย แกรมบวกได้ผลดี แต่ไม่ค่อยมีผลต่อแบคทีเรียแกรมลบ ควรผสมน้ำยาทำลายเชื้อประเภทนี้กับน้ำกลั่น เพื่อให้ได้ความเข้มข้นที่เหมาะสม ไม่ควรใช้น้ำประปาผสมเพราะในน้ำประปาอาจมีแร่ธาตุบางชนิดที่ทำให้ประสิทธิภาพของน้ำยาลดลง น้ำยาทำลายเชื้อประเภทนี้กัดกร่อนโลหะ จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง Quaternary Ammonium Compounds ใช้ได้ทั้งเป็น disinfectant และ antiseptic แต่ CDC แนะนำว่าไม่ควรใช้น้ำยาชนิดนี้ในการทำลายเชื้อบนผิวหนังและเนื้อเยื่อ เนื่องจากมีรายงานการระบาดของการติดเชื้อในโรงพยาบาลเนื่องจากน้ำยามีการปนเปื้อนเชื้อ gram negative bacteria น้ำยากลุ่มนี้ที่ใช้คือ Benzalkonium chloride หรือ Zephiran   สิ่งที่ควรระวังในการใช้น้ำยานี้เป็น antiseptic คือ ประสิทธิภาพของน้ำยาจะลดลงเมื่อสัมผัสกับสบู่ จึงต้องล้างผิวหนังให้สะอาดก่อนจะใช้น้ำยาเช็ดและควรให้มีความเข้มข้น 1:750 Quaternary Ammonium Compounds

ประสิทธิภาพและชื่อทางการค้าของน้ำยาทำลายเชื้อ

รูปภาพ
ประสิทธิภาพและชื่อทางการค้าของ น้ำยาทำลายเชื้อ ที่ใช้ในโรงพยาบาลในประเทศไทย ชนิดน้ำยา ประสิทธิภาพ ชื่อทางการค้า Alcohol Intermediate Aldehyde Formaldehyde Glutaraldehyde High Intermediate to High Cidex, Aldecyde 28 Chlorhexidine Low Hibitane, Hibiscrub Alcohol + Chlorhexidine Intermediate Hibisol, Desmanol Halogenes Hypochlorite Chloramine Iodine Tincture Iodophors Intermediate to High Intermediate to High - Intermediate - Intermediate Chlorox - Povidine, Betadine Hydrogen peroxide Low to High Phenolics Cresol Chloroxylenol Low to Intermediate Low Lysol Dettol Quaternary ammonium compounds (QACs) Cetrimide Benzalkonium Very Low Very Low Cetavlon Zephiran, Bactyl QACs + Diguanide Cetrimide + Chlorhexidine

ทำอย่างไร 4 ปี ไม่เคยทำ สปอร์เทสต์ สามารถผ่าน HA !

รูปภาพ
นี่คือข้อเท็จจริง ที่ได้ไปทราบมาจากผู้ปฏิบัติงานใน CSSD แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดระดับโรงพยาบาลศูนย์ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาล HA มาแล้ว หากเราอยู่ในวงการ CSSD เราคงทราบกับโดยทั่วไปถึงมาตรฐานในการทำให้ปราศจากเชื้อที่เกี่ยวกับการใช้ตัวตรวจสอบหรือตัวชี้วัด (Sterilization monitoring control system) หรือที่เรามักจะเรียกกันจนติดปากว่า “อินดิเคเตอร์” “ อินดิเคเตอร์ ” ที่เราใช้กันตามมาตรฐานก็มี  อันแรก Mechanical indicators ที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงความพร้อมและความสมบูรณ์ในประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง เช่น การทดสอบด้วย Bowie Dick, การดูรายงานผลการทำงานของเครื่องที่แสดงออกมาทางจอภาพหรือทางกระดาษพิมพ์ (Print-out report) และความพร้อมทำงานของเครื่อง (Ready to  use) แสดงให้ทราบ ที่เราสามารถดูจากจอภาพของเครื่อง อันที่สอง Packing indicators or Chemical indicators ที่ใช้สำหรับตรวจสอบขั้นตอนการทำงานของเครื่องว่าสมบูรณ์หรือไม่ ซึ่งก็จะมี External indicators ที่สามารถบอกได้ว่าผ่านหรือไม่ผ่านกระบวนการ ด้วยการสังเกตุดูได้อย่างชัดเจนจากภายนอกโดยไม่ต้องเปิดเข้าไปดูภายใน

โปสเตอร์ วิธีการห่ออุปกรณ์ แบบต่างๆ

รูปภาพ
โปสเตอร์  AAMI ที่แนะนำการห่ออุปกรณ์ สำหรับการทำให้ปราศจากเชื้อ นี่คือแนวทางการเตรียมห่ออุปกรณ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถเป็นปราการป้องกัน การแทรกตัวผ่านของเชื้อจุลินทรีย์ขนาดเล็กเข้าไปภายใน

Steam สาเหตุเบื้องต้น ของปัญหา Wet Pack

รูปภาพ
ไอน้ำ (Steam) ที่ป้อนเข้าสู่  Steam sterilizer เป็นต้นตอของปัญหา Wet Pack โดยตรงอย่างหนึ่ง ที่สามารถป้องกันได้ หากเรามีความเข้าใจ  การป้องกันและแก้ปัญหาการเกิด Wet Pack ก็จะไม่ใช่เรื่องยากจนเกินความสามารถ ลองมาดูกันว่าเป็นอย่างที่เราคิดกันหรือเปล่า... Steam steriizer and Steam generator ส่วนประกอบของเครื่อง Steam sterilizer บริเวณที่ไอน้ำสูญเสียพลังงานความร้อนที่พบบ่อยก็คือระยะทางระหว่างแหล่งกำเนิดไอน้ำ (steam generator) กับห้องอบ (chamber) ที่มีท่อ (pipe lines) เป็นตัวนำส่ง ตัวอย่าง -ท่อส่งไอน้ำไม่สามารถรักษาอุณหภูมิได้คงที่ ทำให้เกิดการควบแน่น (condensation) ภายในท่อ -แหล่งกำเนิดไอน้ำ (steam generator) ควรอยู่ใก้กับห้องอบ (chamber) -แหล่งกำเนิดไอน้ำ (steam generator) มีขนาดไม่เหมาะสมพอที่จะนำไปใช้ได้อย่างพอเพียง ทำให้ความดันลดลงในช่วงที่มีความต้องการใช้สูง เมื่อความดันลดลง ทำให้ไอน้ำเกิดการควบแน่น (condensation) -มีสารเคมีอะไรผสมอยู่ในขณะที่ทำให้เกิดไอน้ำหรือไม่ -บริเวณที่มีน้ำอยู่จะทำให้เกิดการควบแน่น (condensation) ได้เพิ่มขึ้น เรื่องท

พิธีตรุษสงกรานต์

รูปภาพ
สงกรานต์ ประเพณีตรุษสงกรานต์ มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อ สงกรานต์ เป็นประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สันนิษฐานว่า สงกรานต์ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลโฮลี ในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน เริ่มในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 4 คือ ในเดือนมีนาคม สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง "การเคลื่อนย้าย" ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สงกรานต์สืบทอดมาแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมวันที่จัดเทศกาลกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นวันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง พ.ศ. 2431 จากนั้นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483 พิธีสงกรานต์เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะ

Superheated steam, Steam Condensation, Non-Condensable Gases เกี่ยวข้องกับ Wet Pack และเกิดขึ้นได้ อย่างไร?

รูปภาพ
สิ่งต่อไปนี้คือ ปัจจัยการทำงานของเครื่อง ที่ทำให้เกิดปัญหา ในการทำให้ปราศจากเชื้อ Steam Diagram อธิบายการเกิด Superheated steam การเกิดไอน้ำความร้อนสูง Superheated steam Superheated steam คือการเกิดไอน้ำความร้อนสูง น้ำเมื่อทำให้ร้อน ที่  100 o C   น้ำจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอน้ำ เรียกว่า steam ถ้าเราทำให้อุณหภูมิของไอน้ำ “steam” สูงขึ้นอีก จะเกิดเป็น Superheated steam ถ้าลดอุณหภูมิของ Superheated steam ลง ก็จะกลับมาเป็น steam อีกครั้ง การควบแน่นของไอน้ำ Steam Condensation Steam Condensation คือการเกิดการควบแน่นของไอน้ำกลายเป็นหยดน้ำ เกิดจากการถ่ายเทความร้อนที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากภายหลังการถ่ายเทความร้อนของไอน้ำไปยังวัตถุแล้ววัตถุนั้นมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิของไอน้ำ ทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำเกิดขึ้นบนวัตถุนั้น การเกิด Non-Condensable Gases แก๊สที่ไม่ควบแน่น (Non-Condensable Gases) เกิดจากแก๊สที่เจือปนอยู่ในน้ำที่ป้อนเข้าไปในระบบหรือการเสื่อมสภาพของสารเคมีในน้ำที่ป้อนเข้าไปในระบบ และแก๊สไม่สามารถควบแน่นเป็นไอน้ำอิ่มตัวได้ Steam Sterilizers เรื่องที่เกี่ยว

Steam sterilizers, Autoclave และ ไอน้ำอิ่มตัว (Saturated steam) กับ Wet Pack

รูปภาพ
ในการทำให้น้ำ water กลายเป็นไอน้ำ steam  เราต้องทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นๆ จนถึง 100 o C ถือว่าเป็นจุดสูงสุดน้ำจะเดือดและกลายเป็นไอ อุณหภูมิที่ให้เข้าไปหลังจากนี้จะไม่ทำให้น้ำมีอุณภูมิสูงขึ้นได้อีกแต่จะใช้ไปในการรักษาสภาพให้น้ำกลายเป็นไอน้ำเท่านั้น แต่อุณภูมิของไอน้ำเราสามารถจะทำให้สูงขึ้นจนเกิดเป็นไอน้ำอิ่มตัวได้ด้วยการเพิ่มความดันเข้าไปให้ได้อุณหภูมิเท่าที่ต้องการ เราเรียกไอน้ำที่สภาวะที่การอิ่มตัวนี้ว่า Saturated steam ที่สภาวะไอน้ำอิ่มตัว ไอน้ำจะไม่สามารถกลายเป็นไอได้อีกต่อไป ไม่ว่าจะให้พลังงานความร้อนเข้าไปอีกเท่าไร แต่ความร้อนจะถูกสะสมไว้ในตัวมันเอง  ระดับความร้อนที่เราจะสามารถนำไปฆ่าเชื้อได้เช่น อุณหภูมิ 132 o C ความดัน 27 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ระยะเวลาที่ใช้ ( Exposure time) 3-10 นาที โดยการอาศัยไอน้ำอิ่มตัว (Saturated steam) เป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อน (heat transfer) ที่เกิดขึ้นไปยังวัตถุ (objects) ที่ถูกสัมผัสจนกระทั่งมีอุณหภูมิสูงเท่ากัน การถ่ายเทความร้อนจนมีอุณหภูมิเท่ากัน แต่ถ้าวัตถุที่สัมผัสไม่สามารถทำให้มีอุณหภูมิสูงเท่ากันได้ ไอน้ำบริเวณนั้นก็จะเกิดการร

Wet Pack คืออะไร? ..เกิดขึ้นได้อย่างไร?.. และจะแก้อย่างไร?

รูปภาพ
Wet Pack ก็คือ Non-Sterile  หากไม่มีความเข้าใจสาระสำคัญของ We Pack ที่เกิดขึ้น เราจะเห็นการปฎิบัติที่สูญเปล่าตามมาอีกหลายอย่างแล้วแต่ใครจะเข้าใจและคิดได้ตามมาตรฐานของตัวเอง อาจมีการแย้งว่า ก็น้ำมันปราศจากเชื้อนี่นา มันก็ไม่น่าจะเป็นอะไร บ่อยครั้งที่พบว่า ห่ออุปกรณ์ที่เปียกชื้นด้วยหยดน้ำ (Wet Pack) ถูกวางค้างอยู่ในหม้อนึ่ง (Autoclave) ด้วยการเปิดประตูออกค้างไว้ หรือไม่ก็เอาออกมาทำอะไรซักอย่างเพื่อให้แห้ง ไม่ว่าจะเป็นการพยายามเอาพัดลมมาเป่า เอาเครื่องเป่าร้อนมาเป่าให้แห้ง รวมถึงใช้ความพยายามเช็ดด้วยผ้าสะอาด อยากจะให้ลองจินตนาการนึกภาพตามดู…ทันทีที่เครื่องนึ่ง (Autoclave) สิ้นสุดกระบวนการฆ่าเชื้อ เราก็เปิดประตูออก ห่ออุปกรณ์ อุปกรณ์ที่อยู่ในสถาวะที่เต็มไปด้วยไฟฟ้าสถิต (electrostatic charged) ก็พร้อมจะเปิดรับการจู่โจมพุ่งเข้ามาของฝุ่นละออง (dust particle) และจุลินทรีย์ขนาดเล็กในอากาศขณะนั้น…คำถามที่อยากถามก็คือ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าอุปกรณ์เหล่านั้นเปียกชื้น (Wet Pack) มันยังสามารถคงสภาวะปลอดเชื้ออยู่ได้หรือไม่? นี่คือความไม่ปลอดภัย คือความเสี่ยง (Risk) และความเข้าใจผิดว่าอุปกรณ์เหล่า

◉ ดูข้อมูลเพิ่มเติม (READ MORE) >>

แสดงเพิ่มเติม